ศูนย์ดิจิทัลชุมชน
ศูนย์ดิจิทัลชุมชน

กระทรวงไอซีที่ได้ยกระดับ "ศูนย์ไอซีทีชุมชน" เป็น "ศูนย์ดิจิทัลชุมชน" [1] เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างภาครัฐและประชาชน เป็นช่องทางการรับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย และส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน จะมีการปรับรูปแบบให้มีภาพลักษณ์ที่เหมือนกันทุกแห่ง และให้มีลักษณะและบรรยากาศที่เอื้อต่อการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้ โดยอาจปรับเปลี่ยนจากรูปแบบห้องเรียนคอมพิวเตอร์มาเป็นห้องที่มีพื้นที่ในการพูดคุย โดยการนำคอมพิวเตอร์ไปไว้ริมห้อง แล้วมีพื้นที่ตรงกลางเป็นโต๊ะให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรืออาจมีห้องเพิ่มเพื่อทำเป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ของแต่ละศูนย์

ปี 2559 จะยกระดับศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน เป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชน 600 แห่ง แต่กระทรวงไอซีทีคัดเลือกศูนย์ที่พร้อมแล้วมี 268 แห่ง (กลุ่ม A และ B) ปัจจุบัน (2559) มีศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน 1,980 แห่งในประเทศไทย และได้มีการตั้งศูนย์ไอซีทีชุมชนเพิ่มอีก 300 แห่ง โดย บริษัท สุพรีม ดิสทิบิวชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ชนะการประกวดราคา

Download : slide

ฝึกอบรมผู้ดูแล
ศูนย์ดิจิทัลชุมชน

กระทรวงไอซีที ขับเคลื่อนให้มีการอบรมหลักสูตร "ผู้จัดการศูนย์ดิจิทัลชุมชน" 22-26 สิงหาคม 2559
ณ โรงแรมรีเจนลอร์ด ลำปาง ดูแลการอบรมโดย อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีหญิงเพ็ญนภา ปาละปิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทบาทและภารกิจ กศน.ตำบล กศน.ตำบล [2] จะมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่ 1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาจักร (กอ.รมน.) 2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) เพื่อสร้างการเรียรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยบูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชน เพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทันปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล 4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบลมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก
ความร่วมมือของ ศธ. และ ทก. 16 ส.ค.59 มีข่าวเรื่อง "ศธ-ทก หารือความร่วมมือสนับสนุน ict เพื่อการศึกษา" [3]
- ที่ผ่านมากระทรวงทั้งสองมีการดำเนินงานร่วมกันน้อยมาก งบประมาณดูแลระบบ ICT มีความซ้ำซ้อนในหลายส่วน
- การร่วมมือพัฒนาเครือข่ายศูนย์ดิจิทัลชุมชน ซึ่ง ทก.ร่วมมือกับ กศน. จะให้ กศน.ตำบล เป็นศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน
- กศน.ตำบล มีจำนวน 7,424 แห่ง เป็นศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน 268 แห่ง แต่มีแผนจะขยายเป็น 1,680 แห่ง เพื่อให้การศึกษาครอบคลุมผู้เรียน กศน. ซึ่งมีจำนวนกว่า 1.2 ล้านคนมากยิ่งขึ้น
- มีแผนขยายการสนับสนุนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยัง กศน. ตำบลทั้งหมด 7,424 แห่ง ในระยะแรก 3 ปีต่อเนื่อง
- มีแผนให้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะฟรีผ่านสื่อสัญญาณทั้งใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) ความเร็ว 30 Mbps, ไวไฟ (Wi-fi) ความเร็ว 10-30 Mbps, ดาวเทียม (Satellite) ความเร็ว 4/2 Mbps
- กศน.ตำบล 7,424 แห่ง เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้ว 3,200 แห่ง และยังไม่มีอุปกรณ์และอินเทอร์เน็ต 4,224 แห่ง
- ต่อไปจะยกระดับกศน.ที่เชื่อมต่อเน็ตได้ เป็นศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และพัฒนาไปเป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชนในระยะต่อไป โดยวางเป้าหมายให้ปี 2559 มีศูนย์ดิจิทัลชุมชนเกิดขึ้น 2,231 แห่ง
แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม [5]
ยุทธศาสตร์
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 
2. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 
3. สร้างสังคมคุณภาพที่ทั่วถึงเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 
4. ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล 
5. พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล 
6. สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
เป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลระยะ 3 ปี [6]
ยุทธศาสตร์
1. การพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถรองรับการไปสู่รัฐบาลดิจิทัล 
2. การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน 
3. การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ 
4. การยกระดับความมั่นคงและเพิ่มความปลอดภัยของประชาชน 
คลิ๊ป แกนนำดิจิทัลชุมชน กศน.
16 มิ.ย.59 - Digital Economy หรือ Digital Thailand
- ยุค Digital ใช้ Smartphone ขายสินค้าได้แล้ว
- หลายประเทศให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวไกล
เช่น อุปกรณ์เคลื่อนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบทุกที่ทุกเวลา เทคโนโลยีการเชื่อมต่อกับทุกสิ่ง เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ เทคโนโลยีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เทคโนโลยีแสดงภาพแบบไร้หน้าจอ
- การเกษตรที่ใช้ดิจิทัลจะแม่นยำขึ้น มีเกษตรแนวดิ่งกลางเมืองที่ปลูกธัญพืช ผัก ผลไม้ เลี้ยงสัตว์ได้พร้อมกัน
- ข้อมูลสารสนเทศช่วยสร้างความได้เปรียบ ช่วยพยากรณ์ได้แม่นยำ เกิดนวัตกรรมธุรกิจใหม่ ที่สร้างได้ด้วยตนเอง
- คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีอุปกรณ์ดิจิทัลอำนวยความสะดวกอยู่รอบตัว ทุกสิ่งเชื่อมโยงได้มากขึ้น
- การเรียนรู้ทำได้ทุกที่ทุกเวลาทุกรูปแบบทุกอุปกรณ์ ภาษาไม่เป็นอุปสรรคด้วยเครื่องแปลภาษาอัตโนมัติ
- สุขภาพของคนในที่ห่างไกล ก็ได้รับการดูแลเหมือนคนในเมือง ด้วยระบบทางไกล หรือหุ่นยนต์ผ่าตัดทางไกล
- ภาครัฐให้บริการประชาชนอย่างคล่องตัว ด้วยการเชื่อมโยงการทำงาน และข้อมูล เสมือนเป็นองค์กรเดียว
อัพเกรดสู่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน (itinlife566)

ภาครัฐได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนมาตั้งแต่ปี 2550 แล้วมีนโยบายอัพเกรดเป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. เมื่อ 5 เมษายน 2559 จากผลการจัดอันดับ Digital Economy Rankings เมื่อปี 2010 พบว่าไทยอยู่อันดับที่ 49 จาก 70 ประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาด้านดิจิทัลทั้งการผลิต การค้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัล และการใช้ดิจิทัลที่ยังมีไม่มาก จากการสำรวจในเวลาต่อมาก็พบข้อมูลสนับสนุนว่าประเทศไทยยังพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัลได้ไม่รวดเร็วเมื่อเทียบเคียงกับประเทศที่เป็นผู้นำด้านนี้ แล้วในปี 2559 ได้มีการยกระดับศูนย์ดิจิทัลชุมชนผ่านชุดโครงการที่เน้นการอบรมพัฒนาผู้ดูแลศูนย์ และขยายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับความต้องการของชุมชน

เป้าหมายการตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชน เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างภาครัฐและประชาชน เป็นช่องทางการรับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย และส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ประเมินศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนกว่า 2000 แห่ง แล้วผลประเมินแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ A, B, C และ D พบว่า ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก (A) มีร้อยละ 14.3 ระดับดี (B) มีร้อยละ 40.8 และระดับ C มีร้อยละ 34.4 และระดับ D มีร้อยละ 0.1 ซึ่งระดับ C และ D ถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์

นอกจากแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ด้านแล้ว ยังมีแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลระยะ 3 ปี ที่มียุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถรองรับการไปสู่รัฐบาลดิจิทัล ยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ ยุทธศาสตร์การยกระดับความมั่นคงและเพิ่มความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งศูนย์ดิจิทัลชุมชนก็จะต้องดำเนินการสนับสนุนในยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในฐานะที่ต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Economy หรือ DE) ได้รับการขับเคลื่อน เกิดการปฏิรูปกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกิจ การค้า การบริการ การศึกษา การสาธารณสุข การบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น

ICT ชู “บรอดแบนด์-ศูนย์ดิจิทัลชุมชน” เสริมแกร่งองค์กรท้องถิ่น

1 ธ.ค.58 ในงาน "Thailand Local Government Summit 2015" กระทรวงไอซีทีจะขยายโครงข่ายบรอดแบนด์/Free Wi-Fi กระจายสู่ชุมชน 10,000 แห่งทั่วประเทศ พร้อมต่อยอด ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เป็น ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งรัฐบาลกำลังขับเคลื่อนประเทศไทยให้ ก้าวสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Thailand) ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นรากฐานสำคัญ เพื่อนำไปสู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว ขณะเดียวกันได้ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างความมั่นคงทางสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตและขีดความสามารถของคนในชาติ โดยแปลงนโยบายดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ ได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล 6 ด้าน คือ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Hard Infrastructure) 2) การสร้างความมั่นคงปลอดภัยและความเชื่อมั่นในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล (Soft Infrastructure) 3) การส่งเสริมการสร้างบริการดิจิทัล (Service Infrastructure) 4) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Economy Acceleration) 5) การพัฒนาสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพ (Digital Society) และ 6) การสร้างบุคลากรดิจิทัล (Digital Workforce)

การขยายบริการบรอดแบนด์ พร้อม Free Wi-Fi จะขยายสู่หมู่บ้านทั่วประเทศใน 2 ปี เป็นการต่อยอด ปรับปรุง ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บริการการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต อบรมให้ความรู้ พัฒนาทักษะ รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับประชาชน

“ในการพัฒนาประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลนั้น ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง โดยองค์กรท้องถิ่นจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุด ในการกระจายการพัฒนาให้ทั่วถึง เพื่อให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ ในการบริหารจัดการองค์การท้องถิ่นของตนเองและให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเก็บข้อมูลในท้องถิ่น เช่น ข้อมูลประชาชน เกษตร และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหน่วยงานท้องถิ่นเป็นกำลังสำคัญ ในการร่วมกันเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศ การเปิดเผยข้อมูลท้องถิ่น จะทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดได้ รวมทั้งจะช่วยให้เกิดการบริหารจัดการรัฐบาลท้องถิ่นที่มีความโปร่งใส และลดปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศได้อีกด้วย” นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าว
+ http://www.mict.go.th/view/1/.. 1628

ICT ติวเข้มผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน พร้อมยกระดับเป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชน

2 มี.ค.59 นางสาวมาลี วงศาโรจน์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าว่า การก้าวเข้าสู่ “ดิจิทัลไทยแลนด์” หรือ “เศรษฐกิจดิจิทัล” นั้น ชุมชนและประชาชนต้องรับรู้ เข้าใจ สามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ ในอนาคตอาจเปลี่ยนชื่อเป็น "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" สนับสนุนให้หน่วยงานใช้ ICT เป็นเครื่องมือที่สำคัญ เช่น การใช้แอปพลิเคชัน (Applications) ในการทำธุรกรรมแบบออนไลน์ต่าง ๆ การให้บริการภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตและครูตู้ การตรวจสภาพจราจร การชำระภาษี การยื่นต่อทะเบียนรถยนต์ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เพื่อเพิ่มความสะดวกและคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน

การพัฒนาวิทยากรแกนนำศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ได้กำหนดให้มี 1) การบรรยายโดยวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์จากทั้งภาครัฐและเอกชน 2) การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุมมอง ประสบการณ์ และทัศนคติในการดำเนินงาน ตลอดจนแนวคิดการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน
+ http://www.mict.go.th/view/1/.. 1778

โครงการเครือข่ายศูนย์ดิจิตอลชุมชน

14 ก.ค.59 ICT สนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างเครือข่ายศูนย์ดิจิตอลชุมชน ระดับตำบลทั่วประเทศ 7,424 แห่ง ซึ่งประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก กิจกรรมแรก คือ การพัฒนาวิทยากร กศน. เพื่อขยายผลเศรษฐกิจดิจิตอล ให้ผู้เข้าอบรมไปขยายผลสู่ครู กศน.จังหวัด ๆ ละ 2 คน แล้วไปถ่ายทอดให้ครูกศน.อำเภอ ๆ ละ 2 คน แล้วไปถ่ายทอดให้ครูกศน.ตำบล ๆ ละ 2 คน ทั้งหมด 7,424 แห่ง แล้วไปถ่ายทอดสู่ประชาชนในชุมชนให้สามารถทำธุรกิจ หรือทำการค้าขายออนไลน์ ผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์สมาร์ทโฟน (Smart Phone) หรือแท็บเล็ต (Tablet) ได้ กิจกรรมที่สอง คือ การสร้างความพร้อมชุมชนผ่านเครือข่ายศูนย์ดิจิตอลชุมชน โดยครูกศน.ตำบลสำรวจข้อมูล และความต้องการของชุมชนเสียก่อนว่าชุมชนนั้น ๆ มีสินค้าอะไร และมีความต้องการในการนำเสนอสินค้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือไม่ หลังจากนั้น เขียนโครงการจัดอบรมจากฐานข้อมูล และความต้องการดังกล่าว ตำบลละ 3 โครงการ ๆ ละ 15 คน เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการในระดับจังหวัด
+ ที่มา: ข่าวในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ พบใน nonnarai.com

แผนงานทั้ง 8 ของ ICT

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 มีมติเห็นชอบแผนงานและรายละเอียดโครงการภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Thailand) ของกระทรวงไอซีที วงเงินประมาณ 3,755 ล้านบาท สำหรับ 8 แผนงาน ประกอบด้วย

แผนงานที่ 1 การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ดิจิทัลชุมชน ได้แก่ โครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน เป็นการปรับรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน โดยนำร่องดำเนินการจำนวน 600 แห่ง จาก 2,280 แห่งทั่วประเทศ และร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) โดยใช้ศูนย์ กศน. จำนวน 1,631 แห่ง เป็นศูนย์ให้บริการด้านดิจิทัลและข้อมูลข่าวสารเชิงเศรษฐกิจและสังคมแก่ชุมชน รวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนและใช้ในการบริหารประเทศ

แผนงานที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์และโครงข่าย ได้แก่ โครงการบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชน โดยร่วมกับ กศน. และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) นำอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชน จำนวน 10,000 แห่งทั่วประเทศ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Free Wi-Fi) เพื่อเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ใช้ โดยลงทะเบียนครั้งเดียวสามารถใช้บริการ Free Wi-Fi ได้กับทุกผู้ให้บริการ และโครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะ (Smart City จังหวัดภูเก็ต)

แผนงานที่ 3 การสร้างสังคมคุณภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยเพื่อการจัดการเรียนการสอนในระบบเปิด (Thai-MOOC) โครงการพัฒนาคลังสื่อและสื่อดิจิทัลด้านอาชีพและวิชาชีพเพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพสู่สากลและการเรียนรู้ตลอดชีวิตรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลและประชาคมอาเซียน โครงการคลังความรู้ดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โครงการไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ และโครงการส่งเสริมการใช้ดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบต่อสังคม

แผนงานที่ 4 การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในธุรกิจ SMEs เช่น โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ในภาคอุตสาหกรรมให้เรียนรู้และสามารถทำธุรกรรม B2B สร้างโอกาสใหม่ๆ ในการทำตลาดผ่านช่องทาง e-Business รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการค้าผ่านสื่อดิจิทัลเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และแนะแนวทางสำหรับผู้ประกอบการ โครงการศึกษาแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลสินค้าและกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับสินค้า โครงการ SMEs GO Online ซื้อขายมั่นใจ มีปัญหาเมื่อไรเราดูแล โครงการพัฒนาฐานข้อมูลและข้อมูลเพื่อทำมาตรฐานสินค้าด้วยมาตรฐานสากลเพื่อให้ภาคเอกชนสามารถนำไปต่อยอดธุรกิจของตนเองได้ต่อไป โครงการส่งเสริมสิทธิในการใช้สื่อดิจิทัลโดยการมีส่วนร่วมของภาคสังคมและการกำกับดูแลตนเองที่เหมาะสม โครงการจัดทำฐานข้อมูลสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจการค้า และการบริการในเขตซูเปอร์คลัสเตอร์ และโครงการขับเคลื่อน Smart Thailand ผ่านการร่วมมือกับผู้นำอุตสาหกรรมระดับโลก

แผนงานที่ 5 การพัฒนาบริการดิจิทัลในภาครัฐ ได้แก่ โครงการยกระดับคุณภาพงานบริการภาครัฐเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ซึ่งแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 มิติ คือ การปรับกระบวนการดำเนินการภาครัฐ และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการใช้บริการภาครัฐ

แผนงานที่ 6 การพัฒนาทุนมนุษย์สำหรับโลกยุคดิจิทัล ได้แก่ โครงการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัลเพื่อสร้างธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล (Tech Startup) โครงการประเมินความพร้อมของหน่วยงานและพัฒนาบุคลากร

แผนงานที่ 7 การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ได้แก่ โครงการพัฒนา Smart City จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นการนำร่องเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินการในจังหวัดอื่นต่อไป โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการออกแบบร่วมกับคนในท้องถิ่น สามารถอยู่ได้ด้วยงบประมาณของจังหวัดเองด้วย Business Model ที่ดี โครงการขับเคลื่อนการลงทุนเพื่อการเติบโตแบบยั่งยืน (Smart Growth) ต่อยอดธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของภูเก็ต การสร้างอุตสาหกรรมที่ 2 เพื่อรองรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เน้นให้เกิดการพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ รวมทั้งดึงดูดการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

แผนงานที่ 8 การสนับสนุนการบริหารจัดการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล เช่น การเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล เป็นต้น

สไลด์อบรม นโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) Slide : http://www.totacademy.com/ict/download/doc_train2_3.pdf
คำแถลงนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2557 ข้อ 6.18 "ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลก และสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ซึ่งหมายรวมถึงการผลิต และการค้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลโดยตรง และการใช้ดิจิทัลรองรับการให้บริการของภาคธุรกิจ การเงิน และธุรกิจบริการอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคสื่อสารและบันเทิง ตลอดจนการใช้ดิจิทัลรองรับการผลิตสินค้า อุตสาหกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์"
นวัตกรรมตู้อาหารหยอดเหรียญ ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เราต้องปรับตัวให้พร้อมรับนวัตกรรมใหม่ ๆ ปี 2559 เราได้พบนวัตกรรมการจำหน่ายอาหารรูปแบบใหม่ ที่ทำให้การดำรงชีวิตสะดวกสบาย ตอบความต้องการของมนุษย์ได้ชัดเจน นี่คือ ตู้อาหารหยอดเหรียญแช่แข็งที่มาพร้อมเตาไมโครเวฟ เป็นการลดเวลาในการเดินทางของผู้คนไปทานอาหารในที่ต่าง ๆ จะอยู่ที่สำนักงาน เรียนหนังสือในมหาวิทยาลัย ก็มีตู้เหล่านี้คอยให้บริการ มีเตาไมโครเวฟไว้ช่วยอุ่นอาหาร ทานกันร้อน ๆ แบบไม่ต้องเดินทาง บริการนี้ต่อยอดมาจาก 7-11 เพราะไม่ต้องอาศัยพนักงาน แต่เราทำเองได้เลย
+ http://hilight.kapook.com/view/141555
การปรับตัวของธนาคารในยุคประเทศไทย 4.0
22 ก.ค.59 โมเดลสาขา ธนาคารดิจิทัล ของ ธนาคารทหารไทย จะไม่มีพนักงานแม้แต่คนเดียว สายอาชีพไหนที่พัฒนาให้ทันสมัยมากขึ้น ก็จะลดภาระจ้างพนักงานได้ การขยายสาขาสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของลูกค้า เป็นความเจริญในยุคดิจิทัลที่ใกล้เข้ามาทุกขณะ
+ TMB Digital Banking

ธนาคารดิจิทัล (itinlife568)
จากประเทศไทย 3.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยการผลิตเชิงอุตสาหกรรมหนัก เรากำลังก้าวไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือ value-based economy ซึ่งอย่างน้อยก็ต้องอาศัยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจและภาครัฐที่หนุนเสริมกัน แล้วพัฒนาสังคมดิจิทัลให้เติบโตไปพร้อมกัน เศรษฐกิจยุคใหม่จะอาศัยดิจิทัลเป็นฐานที่อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้ายุคดิจิทัลที่สามารถทำทุกอย่าง ได้จากทุกที่ ทุกเวลา เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตสำหรับสรรพสิ่ง (Internet of Things)

หนึ่งในนวัตกรรมการบริการที่ปรากฏเป็นข่าว เมื่อต้นปี 2559 คือ การเปิดบริการธนาคารดิจิทัล (Digital Banking) เป็นธนาคารที่ไม่ต้องมีพนักงานคอยให้บริการ ได้รับการตอบรับจากลูกค้าด้วยดี ตัวอย่างบริการที่น่าสนใจคือการขอเปิดบัญชี จากการให้บริการที่ปรากฏในข่าว พบว่าสามารถกระทำได้ด้วยการที่ลูกค้าทำรายการเปิดบัญชีใหม่ด้วยตนเอง ส่งเอกสารรอการอนุมัติแบบออนไลน์ แล้วธนาคารก็จะตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนส่งข้อความแจ้งผลการพิจารณาขอเปิดบัญชีให้ลูกค้าทราบผ่าน SMS ส่วนพนักงานที่เคยประจำอยู่ในธนาคารที่ถูกยุบสาขาก็จะถูกย้ายไปยังสาขาอื่นตามความสามารถของแต่ละบุคคล

ธนาคารดิจิทัลไม่ใช่เรื่องใหม่ ในหลายประเทศเปิดให้บริการทำรายการทางการเงินโดยไม่มีพนักงานคอยให้บริการ เป็นนวัตกรรมให้บริการที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารงบประมาณในส่วนทรัพยากรบุคคล (Human Resource) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาด้านดิจิทัลทำให้องค์กรสามารถลดขั้นตอน ลดเวลา และลดการใช้ทรัพยากรได้ชัดเจน มีข้อมูลสถิติของประเทศในเอเชีย เมื่อปี 2557 พบว่าประเทศเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สิงค์โปร์ ฮ่องกง และไต้หวัน มีร้อยละของผู้ใช้บริการธนาคารดิจิทัลมากกว่าร้อยละ 90 และผลสำรวจในประเทศไทย เมื่อปีสิ้นปี 2558 ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ใช้บริการ Internet Banking และ Mobile Banking ของธนาคารทหารไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 750 ทำให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นธนาคารดิจิทัลจะตอบความต้องการของผู้รับบริการอย่างแน่นอน
+ http://thaipublica.org/2016/01/tmb-digital-banking/
+ http://www.thailandindustry.com/indust_newweb/

Phuket smart city 2020

ลำปางเมืองที่ไม่หมุนตามกาลเวลา หรือเมืองต้องห้าม บางคนก็เรียกว่า เมืองต้องห้ามพลาด แต่จังหวัดภูเก็ตมีคลิ๊ปนำเสนอ Phuket Smart City 2020 มีพิธีเปิด Phuket Innovation Park เมื่อ 8 กันยายน 2559 และมีงานสัมมนา Phuket Smart City 2020 เมื่อ 9 กันยายน 2559 เป็นเมืองที่พัฒนาแล้ว ผู้คนมีความสุข เติมเทคโนโลยี เข้ามาช่วยดูแลความปลอดภัย การจราจร มีเครื่องมือต่อยอดทำให้ธุรกิจทำงานเร็วขึ้น สะดวกในการลงทุน มีเครื่องมือ นวัตกรรม พื้นที่สนับสนุนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อทำธุรกิจ คลิ๊ปนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัย การลงทุน มลภาวะ บำบัดสิ่งแวดล้อม .. สนับสนุนการทำคลิ๊ปโดย MICT และ SIPA

โพนี่ หม่า บุรุษผู้ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย ส.ค.60

อ่านใน ceoblog.co

Ma Huateng หรือที่รู้กันในชื่อ Pony Ma
กลายเป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชียในเดือนสิงหาคม 2560
จากข้อมูลที่เขียนโดย Russell Flanney (Forbes staff)
ขึ้นมาแทน แจ็ก หม่า (Alibaba) ลี กาซิง (Cheung Kong Holdings) หวัง เจี้ยนหลิน (ต้าเหลียนแวนด้า-บริษัทอสังหาริมทรัพย์) หรือ ซู เจียหยิน (Evergrande Group-บริษัทอสังหาริมทรัพย์)

- โพนี่ หม่า เป็นเจ้าของอาณาจักรออนไลน์ยักษ์ใหญ่ที่สุดของจีน นาม Tencent
- เคยเป็นโปรแกรมเมอร์ เงินเดือน 1,100 หยวน ($176 )
- เคยทำงานที่ บริษัท China Motion Telecom Development และ บริษัท Shenzhen Runxun Communications
- โพนี่ หม่า ร่วมกับเพื่อน 3 คน ก่อตั้งบริษัท Tencent ขึ้นมาในปี 1998
- รับบริการวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสำหรับองค์กร
- เปิดบริการ OICQ (หรือ Open ICQ) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1999
- เพิ่มทุนโดย Naspers จากแอฟริกาใต้ เข้ามาร่วมลงทุนกับ Tencent มีหุ้นถึง 46% แลกกับการพยุงธุรกิจ
- Naspers คือเจ้าของ Mweb และเข้าซื้อ Sanook.com และมี Sanook QQ
- ต่อมา MWeb ขาย sanook.com ให้กับ Tencent 341 ล้านบาท (เค้าว่าถูกมากในตอนนั้น)
- AOL (America Online) ซื้อ ICQ 1998 ฟ้อง Tencent ปี 1999 ที่จดโดเมน QICQ.com และ QICQ.net
- ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น QQ ให้เสียงพ้องกับ Cute และจด QQ.com ทำเป็น Portal website
- Tencent เริ่มมีกำไร 51 ล้านบาท จากค่าโฆษณาที่เพิ่มขึ้น
- QQ ทำรายได้จากการขายการแต่ง Avatar ให้กับผู้ใช้ และมีรายได้ จึงเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพทย์
- 2004 Tencent เข้าตลาดเกมออนไลน์ โดยซื้อลิขสิทธิ์เกมทั้งญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ไปให้บริการในจีน และเริ่มพัฒนาเกมของตนเอง
- 2005 เปิดตัวอีคอมเมิร์ซแบบ C2C : paipai.com ตั้งใจเป็นคู่แข่งกกับ taobao.com ของ alibaba
- 2006 ลงทุนสร้างสถาบันวิจัยด้านอินเทอร์เน็ตแห่งแรกของจีน และเปิด search engine อันดับ 3 คือ soso.com ที่รองจาก baidu และ google
- จีนมีกฎหมาย ตรวจทุกโพสต์ก่อนขึ้นออนไลน์ ทำให้ google, youtube และ facebook ยังเข้าจีนได้ไม่ 100%
- 2011 เปิดตัว wechat/weixin ที่มีผู้ใช้กว่า 800 บ้านคน หรือ 48% ของคนทั่วโลก เป็นตัวแรก
- และซื้อ Whatsapp ที่มีฐานผู้ใช้กว่า 800 ล้านเป็นตัวที่ 2
- ขยายตลาดทำ Fintech เป็นรองก็แต่ Alipay ของ Alibaba
- เริ่มลงทุนใน video, music, ebook, software ทั้ง pc และ mobile, antivirus, browser และ app store
- Tencent ยังเข้าซื้อบริษัทจำนวนมากอีกด้วย ทำให้เติบโตอย่างรวดเร็ว จนเป็นอันดับ 1 จากมูลค่าในหลักทรัพย์
เนื้อหา อ้างอิง จากบทความของ คชาราช วารีสุนทร ใน ceoblog.co

โลกที่สมาร์ท โดย Liberlium.com
อุปกรณ์ของ Liberlium สำหรับนำไปใช้ใน IoT
1. การดูแลมลพิษทางอากาศ (Air Pollution)
2. การตรวจหาไฟป่า (Forest Fire Detection)
3. การดูแลเด็ก (Offspring Care) 
4. การดูแลนักกีฬา (Sportsmen Care) 
5. การดูแลโครงสร้างสิ่งก่อสร้าง (Structural Health) 
6. การตรวจหาสมาร์ทโฟน (Smartphones Detection) 
7. การควบคุมเขตปริมณฑล(Perimeter Access Control) 
8. การควบคุมระดับรังสี (Radiation Levels) 
9. การควบคุมระดับแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Levels) 
10. การความคุมการจราจรแออัด(Traffic Congestion) 
11. การควบคุมถนน (Smart Roads) 
12. การควบคุมโคมไฟ (Smart Lighting) 
13. การช็อปปิ้งอย่างฉลาด (Intelligent Shopping) 
14. การควบคุมเสียงในตัวเมือง (Noise Urban Maps)
15. การควบคุมการขนส่งทางเรือ 
(Quality of Shipment Conditions)
16. การควบคุมคุณภาพน้ำ (Water Quality)
17. การจัดการน้ำเสีย (Waste Management)
18. การควบคุมที่จอดรถ (Smart Parking)
19. การควบคุมสนามกอล์ฟ (Golf Courses)
20. การควบคุมการรั่วของน้ำ (Water leakages)
21. การวินิจฉัยพาหนะอัตโนมัติ (Vehicle Auto-diagosis)
22. การควบคุมตำแหน่งสินค้า (Item Location)

พบว่า IoT ถูกกล่าวถึงใน "แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" [5] ที่เห็นชอบเมื่อ 9 เม.ย.59 หน้า 54 ในยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พบในแผนงาน 1.1 มีข้อความตอนหนึ่งว่า ".. การกำหนดกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ และนำ Internet of Things (IoT) มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการผลิต .."

IoT (Internet of Things) หรือ Internet of Everything (IoE) มีประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ นี่คืออุปกรณ์ที่รวบรวมข้อมูล และส่งข้อมูลเชื่อมข้อมูลเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต โดยเครื่อง ATM ที่มีตั้งแต่ปี 1974 (2517) อาจเรียกว่าเป็น IoT ในยุคแรก ซึ่งเขียนในบทความ "17 ความจริงเกี่ยวกับ IoT ที่ควรรู้" [4]


+ http://www.libelium.com
+ https://www.linkedin.com
10 อันดับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในประเทศไทย http://www.acommerce.asia/top-10-e-commerce-sites-in-thailand/
https://www.similarweb.com/website/lazada.co.th












จัดอันดับโดย https://www.similarweb.com
ขั้นตอนการ Setup Fan Page ครั้งแรก https://www.facebook.com/digitalcommunitycenter




อบรมหลักสูตร ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน และ ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน
พบกิจกรรมดี ๆ ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้การสนับสนุน โดย อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีหญิงเพ็ญนภา ปาละปิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นแม่งานจัดอบรม 2 หลักสูตร ในภาคเหนือ 1. หลักสูตร ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้ดูแลศูนย์) วันที่ 22-26 ส.ค. 59 2. หลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้บริหารศูนย์) วันที่ 22-23 ส.ค. 59 ณ โรงแรมรีเจนท์ ลอด์จ Regent Hotel & Apartments ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง โดย ดร.สมเกียรติ อัญชนา รองนายกเทศมนตรีนครลำปาง ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานในหลักสูตรผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน แล้วผมก็ทำหน้าที่วิทยาการหัวข้อ "การตลาดในยุคดิจิทัล และการตลาดผ่านสื่อโซเชียล" เป็นเวลา 3 ชั่วโมง โครงการนี้มีหลายหลักสูตร ใช้เวลาอบรม 5 วัน มีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
- แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และการขับเคลื่อนแผนฯ
- แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Digital Government)
- การจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชน
- การตลาดในยุคดิจิทัล
- การตลาดผ่านสื่อโซเชียล
- แนวทางขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระดับชุมชน
- การซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตและสื่อดิจิทัล (E-Commerce, E-Market) และ Digital Money
- เนื้อหาดิจิทัล (Digital Content) สร้างสรรค์เนื้อหาบนเว็บไซต์และสื่อต่าง ๆ ให้น่าสนใจ
- การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในชุมชน
- การผลิตสื่อดิจิทัล : การผลิต Video Clip
- การผลิตสื่อดิจิทัล : การถ่ายภาพสินค้าและสถานที่ท่องเที่ยว
- การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิทัล (Digital Storytelling)
- ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อสังคม และการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต
+ บล็อกในแบบ story telling
+ แบบฟอร์มสำหรับลงทะเบียนออนไลน์ และรายชื่อศูนย์ในภาคเหนือ
นิยามศัพท์จากแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่น่าสนใจ

การเกษตรอัจฉริยะ (smart farm)
คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัล และวิทยาศาสตร์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง (เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีนาโน) มาใช้เพื่อพัฒนาการเกษตร ที่ในเบื้องต้นครอบคลุมถึง การจัดทำทะเบียนเกษตรกรรายแปลง การทำระบบจัดการและแลกเปลี่ยนความรู้ ทางการเกษตร การบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกและฟาร์ม การบริการจัดการระบบน้ำและการใช้น้ำ การวางแผนการผลิต การทำระบบบัญชี การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์ ไปจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ได้มาตรฐาน และการทำการตลาด การตลาด และการตรวจสอบย้อนกลับของผลิตภัณฑ์เกษตร เป็นต้น

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (data protection)
คือ มาตรการที่กำหนดให้ผู้ครอบครอง ควบคุม หรือดูแลข้อมูลส่วนบุคคลต้องปฏิบัติ โดยต้องได้รับความยินยอมในการใช้ เปิดเผย หรือเผยแพร่ข้อมูลของบุคคลอื่น เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นบางประการ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลการเงิน ข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา เป็นต้น ให้มีการนำไปใช้อย่างเหมาะสมโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น ที่ตนเองครอบครองหรือดูแลอยู่อันจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล

การเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ (open data)
คือ ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ได้โดยอิสระ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และแจกจ่ายได้ โดยใครก็ตาม แต่ต้องระบุแหล่งที่มาหรือเจ้าของงานและต้องใช้สัญญา หรือเงื่อนไข เดียวกันกับที่มาหรือตามเจ้าของงานกำหนด ความหมายที่สมบูรณ์ของการเปิดเผย ข้อมูล สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1) availability and access ข้อมูลทั้งหมดต้องมีความพร้อมใช้งานและค่าใช้จ่าย ต้องไม่มากกว่าค่าใช้จ่ายในการทำสำเนา โดยเฉพาะการดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ต ข้อมูลจะต้องมีอยู่ในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้งาน และสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ 2) Re-use and redistribution ข้อมูลต้องถูกจัดเตรียมให้ภายใต้เงื่อนไขที่ อนุญาตให้นำมาใช้ใหม่และแจกจ่ายได้ รวมทั้งการผสมผสานระหว่างชุดข้อมูลอื่น ๆ ได้ 3) universal participation ทุกคนต้องสามารถที่จะใช้ นำมาใช้ และแจกจ่ายได้ ไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่มคน ตัวอย่างเช่น ข้อจำกัดของ ‘non-commercial’ ที่ป้องกันการใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือข้อจำกัดในการใช้ เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะบางอย่าง (เช่น ในการศึกษาเท่านั้น) ก็จะไม่ถือว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นแบบ open data [http://www.data.go.th]

การยืนยันตัวตน (authentication)
คือ ขั้นตอนการยืนยันว่าเป็นบุคคลที่แท้จริงในการทำธุรกรรมออนไลน์ เช่น การตรวจสอบข้อมูลวัน เดือน ปี เกิด เลขที่บัตรประชาชน เลขที่บัตรเครดิต วันที่บัตรเครดิตหมดอายุ รหัสด้านหลังบัตรเครดิต หรือเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีผู้ใดมาแอบอ้างตนเป็นบุคคลอื่น

การเรียนรู้ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (Massive Open Online Course : MOOC)
คือ บริการการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่ผู้เรียนจำนวนมาก สามารถเรียนได้แบบทุกที่ ทุกเวลา (และส่วนใหญ่ไม่มีค่าใช้จ่าย) โดยมีทั้งสื่อวิดิโอ หนังสือ แบบฝึกหัด พื้นที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถือเป็นการปฏิวัติการศึกษาของโลก โดยต่อยอดจากระบบ e-Learning ที่มักเป็นการเรียนแบบกลุ่มจำกัด ไปสู่การเรียนรู้ของมหาชนไม่จำกัด อายุ หรือขอบเขตทางกายภาพ หลักสูตรของ MOOC นี้ อาจเน้นการเรียนในระบบ หรือนอกระบบ หรือตามความสนใจของผู้เรียนได้ทั้งสิ้น

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (life long learning)
คือ การเรียนรู้ตั้งแต่เกิดจนตายโดยคนทุกกลุ่มในสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเด็กก่อนวัยเรียน เด็กและเยาวชนวัยเรียน ที่อยู่ทั้งในและนอกระบบ การศึกษาสามัญ ผู้ใหญ่ในวัยทำงาน ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสทุกประเภท

การหลอมรวมเทคโนโลยี (convergence)
คือ การหลอมรวมกันของข้อมูล สื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งบริการที่มีอยู่เดิม พัฒนาไปเป็นเทคโนโลยี และบริการรูปแบบใหม่ ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น เช่น การดูหนัง ฟังเพลง และติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งกับคน และสิ่งของ ทุกสรรพสิ่ง สามารถทำได้ด้วยอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data)
คือ ปริมาณข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก (ระดับ tera byte หรือ peta byte) เกินกว่าขีดความสามารถในการประมวลผลของระบบฐานข้อมูลธรรมดาจะรองรับได้ (volumn) และข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (velocity) เช่น ข้อมูลจาก social media ข้อมูลการซื้อขาย ข้อมูล transaction การเงินหรือการใช้โทรศัพท์ หรือข้อมูลจาก sensor จึงทำให้ข้อมูลมีหลากหลายรูปแบบ (variety) ทั้งที่มีรูปแบบ และไม่มีรูปแบบ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปทั้ง RDBMS, text, XML, JSON หรือ image สำหรับ big data technology คือ เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจำนวนมหาศาลมา วิเคราะห์ ประมวลผล และแสดงผล ด้วยวิธีที่เหมาะสม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้ง่ายขึ้น เพื่อประโยชน์ในการวางแผน หรือการตัดสินใจ เรียกว่า big data analytics

คลังข้อมูล/ความรู้ดิจิทัล (data warehouse/digital knowledge)
คือ การแปลงข้อมูลประเภทต่าง ๆ เพื่อจัดเข้าคลังข้อมูล/ความรู้ และทยอยแปลงข้อมูลเข้าระบบ เช่น แปลงข้อมูลองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมเป็นดิจิทัลเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมอัตลักษณ์ความเป็นไทย หรือข้อมูลเก่าของหน่วยงานภาครัฐ ให้อยู่ในรูปดิจิทัลเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บ ป้องกันข้อมูลสูญหาย ความสะดวกในการใช้งาน และการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน

ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (cyber security)
คือ ความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยทางโลกดิจิทัล ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร การรักษาความลับของข้อมูล ที่ต้องคำนึงถึงการป้องกันภัย และควบคุม การทำรายการผ่านระบบออนไลน์ การป้องกัน การละเมิดข้อมูล มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และวิธีการจัดการความปลอดภัย ความเชื่อมั่นของผู้ใช้

เทคโนโลยีการเชื่อมต่อของสรรพสิ่ง (IoT = Internet of Things)
คือ สภาพแวดล้อมอันประกอบด้วยสรรพสิ่งที่สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกันได้ ผ่านโพรโทคอลการสื่อสารทั้งแบบใช้สายและไร้สาย โดยสรรพสิ่งต่าง ๆ มีวิธีการระบุตัวตนได้ รับรู้บริบทของสภาพแวดล้อมได้ และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบและทำงานร่วมกันได้ IoT จะเปลี่ยนรูปแบบและกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมไปสู่ยุคใหม่ หรือที่เรียกว่า Industry 4.0 ที่จะอาศัยการเชื่อมต่อ สื่อสารและทำงานร่วมกัน ระหว่างเครื่องจักร มนุษย์ และข้อมูล เพื่อเพิ่มอำนาจในการตัดสินใจที่รวดเร็ว และมีความถูกต้องแม่นยำสูง โดยเทคโนโลยีที่ทำให้ IoT เกิดขึ้นได้จริง และสร้างผลกระทบในวงกว้างได้ แบ่งออกเป็นสามกลุ่มได้แก่ 1) เทคโนโลยีที่ช่วยให้สรรพสิ่งรับรู้ข้อมูลในบริบทที่เกี่ยวข้อง เช่น เซ็นเซอร์ 2) เทคโนโลยีที่ช่วยให้สรรพสิ่งมีความสามารถในการสื่อสาร เช่น ระบบสมองกล ฝังตัว รวมถึงการสื่อสารแบบไร้สายที่ใช้พลังงานต่ำ อาทิ Zigbee, 6LowPAN, Low-power Bluetooth 3) เทคโนโลยีที่ช่วยให้สรรพสิ่งประมวลผลข้อมูลในบริบทของตน เช่น เทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์ และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data Analytics

เทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์ (cloud computing)
คือ การให้บริการประมวลผลแบบคลาวด์ เกิดจากแนวคิดการให้บริการโดยใช้ประโยชน์ จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ทำงานเชื่อมโยงกัน โดยมีเซิร์ฟเวอร์มากมายทำงาน สอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้บริการแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ มีข้อดีคือลดความซับซ้อนยุ่งยากของผู้ต้องการใช้บริการ อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่าย เพราะคลาวด์คอมพิวติ้ง ทำงานผ่านเทคโนโลยีเสมือน (virtualization) ระบบจึงไม่ได้ถูกจำกัดในเรื่องของสมรรถนะและขีดความสามารถของการใช้ระบบประมวลผล จากระบบต่าง ๆ ทำให้เกิดการบริการหลาย ๆ อย่าง เช่น การประชุมผ่านอินเทอร์เน็ต web conferencing, online meetings ผู้ใช้งานอาจอยู่ในห้องเดียวกัน หรือห่างไกลกันคนละซีกโลกก็ได้ การประมวลผลแบบคลาวด์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ คือ private cloud computing เป็นการใช้งานภายในองค์กร โดยเป็นการใช้สมรรถนะของดาต้าเซ็นเตอร์ภายในองค์กรนั้น ๆ และ public cloud computing เป็นรูปแบบที่มีผู้ให้บริการสาธารณะจัดสรรการให้บริการ การเข้าถึงข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนมาก โดยผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องรับทราบว่ามีเซิร์ฟเวอร์ติดตั้งอยู่ที่ไหนและมากเท่าใด สนใจเพียงแต่บริการที่ได้รับเท่านั้น

เทคโนโลยีการพิมพ์ แบบสามมิติ (3D printing)
คือ เป็นการสร้างโมเดลเสมือนจริงหรือการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยการเติมเนื้อวัสดุ (เช่น โพลีเมอร์พลาสติก เหล็กและไทเทเนียม เซรามิก กระดาษ ซิลิโคน ซีเมนต์ หมึกชีวภาพ เป็นต้น) เป็นกระบวนการผลิตวัตถุแบบสามมิติในระบบการพิมพ์ ดิจิตอล โดยพิมพ์เนื้อวัสดุทีละชั้น โดยแต่ละชั้นของวัสดุซ้อนกันจนกว่าจะสำเร็จ ออกมาเป็นชิ้นงานวัตถุสามมิติ โดยจะสามารถมองเห็นแต่ละชั้นเป็นแนวนอนบาง ๆ ตลอดชิ้นของวัตถุ

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)
คือ ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด หรือแต่บางส่วน (พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 [PDF]) การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต และระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครอบคลุมการทำธุรกรรมตั้งแต่การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) การซื้อขายสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Trading and service) การรับรองสิทธิทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Certificate) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (e-Health) การยื่นคำร้องคำขอหนังสือ/เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดทำรายงานและเผยแพร่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing and e-Reporting) โดยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีประเภทของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ 1) การเสนอซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2) การบริการอินเทอร์เน็ต 3) การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย 4) การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 5) การทำธุรกรรมโดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนด

ธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล (digital-technology business)
คือ ธุรกิจที่มีการสร้างสรรค์สินค้าหรือบริการใหม่ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ก่อให้เกิดคุณค่าและรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ที่แตกต่างจากการทำธุรกิจแบบเดิม (disruptive business) โดยธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลครอบคลุมทั้งธุรกิจใหม่และธุรกิจเดิม ที่มีการคิดค้นนวัตกรรมหรือมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ (business model) และกระบวนการทางธุรกิจแบบใหม่ ซึ่งอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือบริการ และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทั้งในระดับการใช้งานในอุตสาหกรรมและผู้ใช้งานทั่วไป

นวัตกรรมดิจิทัล (digital innovation)
คือ ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ที่ตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของเทคโนโลยี ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนบนพื้นฐานของการหลอมรวมเทคโนโลยี digital supply chain

บริการดิจิทัลที่ขับเคลื่อนโดยประชาชน (citizen driven service)
คือ ระบบบริการดิจิทัลของภาครัฐที่พัฒนาขึ้นโดยประชาชนหรือผู้ใช้บริการเป็นผู้ขับเคลื่อน หรือทำให้เกิดบริการดังกล่าวเพื่อตอบสนองความต้องการของตน โดยภาครัฐเป็นผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งต่างจาก citizen-centric service ที่ภาครัฐ เป็นผู้จัดทำบริการดิจิทัลที่คาดว่าจะตอบสนองความต้องการของประชาชน

บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านดิจิทัล (digital specialist)
คือ บุคลากรที่อยู่ในอุตสาหกรรมดิจิทัล (digital industry) ที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้น (high-tech sector) และบุคลากรที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลง รูปแบบและกระบวนการทำธุรกิจ (disruptive business) นอกเหนือจากอุตสาหกรรมดิจิทัลแล้ว ธนาคารโลกยังได้ให้ความสำคัญกับ high-tech sector และ disruptive business ในฐานะของการเป็นพื้นฐานของการพัฒนาบุคลากรให้สามารถแข่งขันได้ในเศรษฐกิจของโลก ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกัน (interconnected world) ขณะที่สหภาพยุโรป ได้ให้คำจำกัดความของ high-tech sector ว่าเป็น อุตสาหกรรมหลักที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ สร้างผลิตภาพให้กับประเทศ และเป็นฐานของการจ้างงานที่มีคุณค่าสูง

ระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP)
คือ ระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่าง ๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงานได้อีกด้วย

ศูนย์ดิจิทัลชุมชน (digital community center)
คือ ศูนย์บริการของชุมชนที่มีการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนกลางและพื้นที่สามารถให้บริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ เป็นจุดให้บริการอุปกรณ์ (ในกรณียังไม่มีใช้) และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นจุดรับบริการภาครัฐ ให้ความรู้ด้านการทำธุรกิจ และประกอบอาชีพผ่านระบบออนไลน์ของชุมชน และพื้นที่ของชุมชนในการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเน้นบริการด้านการศึกษา การเกษตร การดูแลสุขภาพ การค้าขาย การบริการท่องเที่ยว และ สิทธิและสวัสดิการสังคม

เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (digital economy)
คือ เศรษฐกิจและสังคมที่ใช้เทคโนโลยีไอซีที (หรือเรียกว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ทันยุคสมัย) เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกิจ การค้า การบริการ การศึกษา การสาธารณสุข การบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้ง กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจและสังคมที่รูปแบบ และกระบวนการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ถูกขับเคลื่อน และเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล กล่าวคือ เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นกลไกหลักที่ปฏิรูปกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกิจ การค้า การบริการ รวมทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน ทำให้มีความยืดหยุ่นสูงสามารถรองรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม การจ้างงานที่ดีขึ้น การดำเนินกิจกรรมทางสังคมของปัจเจกชน องค์กร และชุมชน การให้บริการของภาครัฐ ตลอดจนการเรียนรู้ เข้าถึง และการใช้ประโยชน์จาก “ข้อมูล/สารสนเทศ” ของทุกภาคส่วน

สังคมสูงวัย (ageing society)
คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ ส่งผลทำให้ประชากรทั่วโลกมีอายุยืนขึ้น โดยสังคมที่มีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแรงงานครั้งใหญ่ของระบบเศรษฐกิจและสังคม และองค์การสหประชาชาติได้แบ่งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็น 3 ระดับคือ ระดับที่หนึ่ง การก้าวสู่สังคมสูงอายุ (มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 และ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 7) ระดับที่สอง สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 และ 65 ปีขึ้นไป มากกว่า ร้อยละ 14) และระดับที่สาม สังคมสูงอายุอย่างรุนแรง (มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ซึ่งสำหรับประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 และคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับที่สอง ในช่วงปี พ.ศ.2568

แนะนำเว็บไซต์ (Website guide)
+ https://you..?v=QSIPNhOiMoE (How IoT works)
+ https://you..?v=h22hUrzlywI (รู้โลกไอที IoT)
เอกสารอ้างอิง (Reference) [1] ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, "แปลงโฉม ไอซีทีชุมชน อัพเกรดสู่ ศูนย์การเรียนรู้ดิจิทัล", โพสต์เมื่อ 4 มี.ค.59
[2] กศน., "บทบาทและภารกิจ กศน.ตำบล"
[3] อรพรรณ ฤทธิ์มั่น และบัลลังก์ โรหิตเสถียร, "ศธ.-ทก.หารือความร่วมมือสนับสนุน ICT เพื่อการศึกษา", โพสต์เมื่อ 18 ส.ค.59
[4] Bernard Marr, "17 'Internet Of Things' Facts Everyone Should Read", โพสต์เมื่อ OCT 27, 2015
[5] กระทรวงไอซีที, "แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม", เห็นชอบ 5 เม.ย.59
[6] กระทรวงไอซีที, "งานดิจิทัลไทยแลนด์ 2016", เห็นชอบ 26 - 28 พ.ค.59


"Imagination is more important than knowledge" - Albert Einstein
http://goo.gl/72BPC