เรียบเรียงจากหนังสือ การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)
โดย รศ.สายชล สินสมบูรณ์ทอง p.1
#1 การทำเหมืองข้อมูล คือ
กระบวนการค้นหาความสัมพันธ์ รูปแบบ และแนวโน้มใหม่ ๆ โดยการเก็บข้อมูลจำนวนมากไว้ในคลังสินค้า
แล้วใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล (The Gartner Group)
#2 การทำเหมืองข้อมูล คือ
การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากเพื่อหาความสัมพันธ์ และการสรุปผลข้อมูลซึ่งสามารถเข้าใจได้ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล (Hand, D. andd et al. : 2001)
#3 การทำเหมืองข้อมูล คือ
การนำวิธีการจากการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องจักร การจดจำรูปแบบได้ สถิติ และฐานข้อมูล เพื่อสกัดข้อมูลที่มีประโยชน์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้ (Cabena, P. and et al. : 1998)
#4 การทำเหมืองข้อมูล คือ
การสืบค้นความรู้ที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจบนฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Knowledge Discovery from very large databases : KDD)
หรือเรียกว่า การทำเหมืองข้อมูลเป็นเทคนิคที่ใช้จัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ โดยจะนำข้อมูลที่มีอยู่มาวิเคราะห์แล้วดึงความรู้หรือสิ่งสำคัญออกมาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์หรือทำนายสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งการค้นหาความรู้ และความจริงที่แฝงอยู่ในข้อมูล (Knowledge Discovery) เป็นกระบวนการขุดค้นสิ่งที่น่าสนใจในกองข้อมูลที่มีอยู่
ซึ่งต่างจากระบบฐานข้อมูล (Database System) ตรงที่การทำเหมืองข้อมูลไม่ต้องกำหนดคำสั่ง เช่น ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structured Query Language : SQL)
ซึ่งเป็นภาษาสอบถามที่นิยมมากที่สุดของการจัดการฐานข้อมูล
|