การขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยหนังสือ clipper |
ปรับปรุง : 2566-03-08 (เรียบเรียงใหม่) |
|
เกณฑ์วิทยฐานะครู | เส้นทางสู่ตำแหน่ง ผอ. โรงเรียน | เส้นทางสู่ตำแหน่งทางวิชาการในระดับอุดมศึกษา | |
เหตุที่ขอตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในครั้งแรก ไม่ผ่าน
สรุปว่า ผมทำเอกสารยื่นขอทั้งหมด 4 ครั้งในวิชาที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 2543 มาจบในปี 2549 ปัญหา 4 ข้อนี้จะไม่เกิดกับเอกสารอื่นของผมอีก .. เพราะนี่คือบทเรียน 1. หนังสือเล่มแรก Clipper ที่ใช้ยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ถูกเขียนด้วยความตั้งใจที่จะใช้เป็นเอกสารอ้างอิง มิได้เรียงบทต่อบท ตามแผนการสอน โดยเรียบเรียงจากแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ มิได้ออกแบบให้เป็นไปตามแผนการสอน แบบชั่วโมงต่อชั่วโมง หรือบทต่อบท หนังสือเล่มนี้รวบรวมตัวอย่างคำสั่ง ฟังก์ชัน ได้อย่างสมบูรณ์ และกรณีศึกษา 2 ระบบ คือ ระบบทะเบียน และระบบขาย การนำไปใช้ในการสอนจึงถูกอ้างอิงในชั้นเรียนแบบข้ามไปข้ามมาตลอดเวลา จึงจะสอนโปรแกรมหนึ่ง ๆ ที่ไม่มีในตัวอย่างได้ แต่หากผู้ใช้เข้าใจลักษณะของหนังสือ เหมือนเข้าใจ Dictionary ก็จะค้นหาสิ่งที่ต้องการได้โดยง่าย แต่หนังสือเล่มนี้มิใช่ "ตำรา" ที่ออกแบบให้เป็นไปตามแผนการสอน .. ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการขอตำแหน่งทางวิชาการ 2. วิชาที่ผมขอตำแหน่งทางวิชาการ รวมถึงวิชาอื่นที่เคยสอนมากว่า 10 ปี ไม่สามารถใช้ได้ เพราะผมย้ายคณะทำให้ไม่ได้รับมอบหมาย ให้สอนวิชาเดิม ๆ อีกต่อไป และวิชาในคณะใหม่ ก็พึ่งได้รับมอบหมาย ทำให้ต้องรอเวลาอีกระยะหนึ่ง จึงจะจัดทำเอกสารที่เหมาะสมกับ การขอตำแหน่งทางวิชาการได้ .. แม้จะหาเหตุผลที่จะใช้วิชาในคณะเดิมได้ แต่ผมพร้อมที่จะไปเรียบเรียงขึ้นใหม่ 3. การเขียนหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นเล่มที่ 8 เริ่มเขียนปี 2539 แล้วนำไปขอตำแหน่งในปี 2543 จนทราบผลในปี 2546 เป็นงานเขียนที่ขาดการวางแผนตามแผนการสอนในแบบของตำรา แต่หนังสือเล่มล่าสุดคือ เล่มที่ 18 วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ ในระดับปวช. เขียนให้สำนักพิมพ์นิมิตร จิวะสันติการ เพื่อขายให้โรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีการวางแผนแบบตำราอย่างชัดเจน ต้องจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ของแต่ละบท แต่ละชั่วโมง พร้อมเฉลยแบบฝึกหัด หนังสือเล่มนี้อาจารย์ สามารถสอนตามได้ทันที เมื่อใช้เสนอขอตำแหน่งในครั้งที่ 2 ก็พบว่ามีเนื้อหาไม่ตรงกับหลักสูตรในสถาบัน 4. สรุปได้ว่าผมหยุดคิดปรับปรุงหนังสือเดิม แต่หันไปเขียนหนังสือเล่มใหม่ เพราะเป็นวิชาที่รับผิดชอบในปัจจุบัน รวบรวมข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบที่ thaiall.com/os และ thaiall.com/cobol รวมทั้งมีประสบการณ์จัดทำแผนการสอนให้สถาบันอื่นมาบ้าง หลังจากท้อที่ขอมา 2 ครั้งแล้วไม่ผ่าน ก็เริ่มต้นคิดใหม่ทำใหม่ และเรียบเรียงใหม่ จนจบการขอในครั้งที่ 4 เมื่อต้นปี 2549 .. มิเช่นนั้นผมคงต้องทำต่อในครั้งที่ 5 |
1. ผลการขอตำแหน่งทางวิชาการของผม
คือ ยังไม่เหมาะสมที่จะได้รับตำแหน่งทางวิชาการ (ผ.ศ.) ผมเป็นคนแรกของสถาบันที่ขอตำแหน่งทางวิชาการเมื่อ 16 มิถุนายน 2543 และผลการพิจารณาสิ้นสุดลงเมื่อ 19 มิถุนายน 2546 รวมเวลาทั้งสิ้น 3 ปี 3 วัน (สำหรับครั้งต่อไปยังไม่กำหนด เพราะปัจจุบันย้ายคณะ(2546/1) และได้รับมอบหมายวิชาใหม่ จึงจัดทำเอกสารต่าง ๆ ยังไม่เรียบร้อย รวมถึงมีงานเขียนให้สำนักพิมพ์นอกสถาบันที่ยังคั่งค้างอยู่) เอกสารที่ส่งครั้งแรกประกอบด้วย
|
2. หัวข้อประเมิน เพื่อให้ Reader แสดงความคิดเห็น 1. เนื้อหาสาระทางวิชาการ
1.1 การเรียงลำดับ และการต่อเนื่อง
2. การใช้ภาษา และการสื่อความหมาย1.2 ความถูกต้องทางวิชาการ 1.3 ความลึกซึ้ง 1.4 ความทันสมัย 3. การให้ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการ 4. การให้ประโยชน์ในการเรียนการสอน 5. ความเป็นแหล่งอ้างอิงของผู้อื่น 6. อื่น ๆ สรุปการประเมิน O เหมาะสมที่จะใช้ประกอบการพิจารณาดำรงตำแหน่งทางวิชาการ O เหมาะสมให้ผู้แต่งตำราปรับปรุงแก้ไขใหม่ (ตามบันทึกที่แนบ) O ยังไม่เหมาะสมได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ O อื่น ๆ ระบุ ................ |
3. รูปแบบเอกสารที่เหมาะสม
บทที่ 1 (ขนาด 18 ตัวหนา) 1.1 หัวข้อใหญ่ (ขนาด 18 ตัวหนา) 1.1.1 หัวข้อย่อย (ขนาด 16 ตัวหนา) อักษรปกติขนาด 16 |
4. ข้อสรุป จุดบกพร่องจากการขอตำแหน่งทางวิชาการ
|
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ |