thaiall logomy background วิทยาการคำนวณ (Computing science) คืออะไร
my town
futureclassroom

Computing Science

วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) คือ วิชาที่เริ่มเรียนตอนเปิดเทอมใหม่ปีการศึกษา 2561 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
Python | Pycharm | คำอธิบายวิชา | Scratch | Blockly | Project14 | สอนโค้ดดิ้ง
วิทยาการคำนวณ (Computing science) คืออะไร

รวมคำอธิบายรายวิชาทุกชั้นปี
วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ หรือ Computing Science) เป็นวิชาใหม่ของนักเรียนไทย เริ่มเรียนตอนเปิดเทอมใหม่ปีการศึกษา 2561 (พฤษภาคม 2561) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเริ่มต้นใน 4 ชั้นเรียนก่อน คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีต่อไป เริ่มในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2563 เริ่มในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
สสวท. - oho.ipst.ac.th/mediabook/
คำอธิบายรายวิชา ม.1 - ม.6 / Desc .. M1-M6(เดิม)
คำอธิบายรายวิชา ป.1 - ป.6 / Desc .. P1-P6
วิทยาการคำนวณคืออะไร และตัวอย่างปกหนังสือเรียน
บทความวิชา Computing Science เรียบเรียงจาก รศ.ยืน ภู่วรวรรณ
คลิป รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และ อ.ผนวกเดช สุวรรณทัต
งาน "CODING ERA" Next Wave of Thailand's Education ยุคโค้ดดิ้ง: คลื่นลูกใหม่แห่งการศึกษาไทย 17-18 มี.ค.66
ขอบเขตของวิชาประกอบด้วย 3 องค์ความรู้
รู้จักวิทยาการคำนวณ

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท. เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาการคำนวณ
สรุปขอบเขตของวิชาวิทยาการคำนวณ ประกอบด้วย 3 องค์ความรู้ ดังนี้
1. การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) คือ เข้าใจและเรียนรู้วิธีคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ มีลำดับวิธีคิด ซึ่งนอกจากการเรียนการเขียนโปรแกรมแล้ว หัวใจที่สำคัญกว่า คือ สอนให้เราเชื่อมโยงปัญหาต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาได้
2. ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม (Digital Technology) ทั้งเทคนิควิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในยุค 4.0 และเป็นทางเลือกในการบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นได้ด้วย
3. รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล (Media and Information Literacy) พูดง่าย ๆ คือ แยกแยะได้ว่าข้อมูลไหนเป็นจริงหรือหลอกลวง รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ต่าง ๆ บนโลกไซเบอร์ เพื่อให้ใช้งานกันได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
dek-d.com/education/48514/
รีวิวหนังสือเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ

แฟนเพจ/สาขาคอมฯ สสวท.
สืบเนื่องจากการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ใน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ส่งผลให้ตั้งแต่ พฤษภาคม 2561 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก็จะได้รับ หนังสือวิทยาการคำนวณ ที่จะเป็นวิชาใหม่ จากการปรับปรุงหลักสูตร พบว่า ภาษาไพทอน ถูกบรรจุในหนังสือเรียน "วิชาวิทยาการคำนวณ" ชั้น ม.1 บทที่ 3
ากการติดตามข้อมูลในแฟนเพจ สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. และฟังคลิปคุณครู 2 ท่าน แนะนำหนังสือสำหรับประถม และมัธยม พบว่า ช่วงเวลาเริ่มประมาณ 4.30 จะอธิบายเรื่อง บทที่ 3 ของ ม.1 ว่าในหนังสือว่ามีเนื้อหา ไพทอน แต่ถ้าไม่สะดวกจะเรียนบทนี้ ก็ข้ามไปเรียน Scratch ได้ แต่ถ้าสนใจก็จะมี 8 หัวข้อกับงูใหญ่ตัวนี้
3.1 รู้จักไพทอน
3.2 ตัวแปร
3.3 ชนิดข้อมูลพื้นฐาน
3.4 การแปลงชนิดข้อมูล
3.5 การเขียนโปรแกรมไพทอนในโหมดสคริปต์
3.6 ฝึกเขียนโปรแกรมกับเต่าไพทอน
3.7 การทำงานแบบวนซ้ำ
3.8 การทำงานแบบมีทางเลือก
หน้าปกหนังสือเรียนสำหรับ ป.1 ป.4 ม.1 และ ม.4
ตัวอย่างหน้าปกหนังสือ จาก campus-star.com - Project14
อ่านเพิ่มเติม
ตัวอย่างใช้ A.I.: จงเขียนโปรแกรมด้วย C++ สร้างพีระมิดตัวเลข ตามภาพที่ 6
พีระมิดของตัวเลข พีระมิดของตัวเลข พีระมิดของตัวเลข
ลายปีก่อน เคยมอบหมายงาน การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่าง ๆ เช่น java, python, clipper, pascal, js, c ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกการโปรแกรม แบบ loop หรือ repetition หรือ decision เพื่อให้ควบคุมการทำงานของโปรแกรมได้ และฝึกตีโจทย์แล้วแก้ไขด้วยการโปรแกรม แต่ในปัจจุบัน การแก้โจทย์ทำได้ง่ายขึ้น ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น A.I. ตัวอย่างหนึ่ง คือ copilot บน edge ผู้เรียนเพียงอัพโหลดภาพที่ 6 ให้กับ copilot แล้วเขียน prompt ว่า “from this pyramid of numbers, please write code in C++” เพียงเท่านี้ก็จะมีรหัสต้นฉบับ ในภาษาที่กำหนด พร้อมคำอธิบายมาให้ใช้
มื่อได้โค้ดมาแล้ว ได้ส่งไปทดสอบประมวลผล ใน programiz.com พบว่า ผลลัพธ์ที่ได้ตรงกับโจทย์ในภาพที่ 6 พบว่า จากตัวอย่างนี้ ได้ส่งตัวอย่างผลลัพธ์แบบที่ 6 ซึ่งมี 7 บรรทัด แต่เอไอได้สร้างโค้ดต้นฉบับที่ประมวลผลแล้ว จะแสดงผลลัพธ์ทั้งหมด 8 บรรทัด ซึ่งสรุปได้ว่าทำเกินกว่าที่โจทย์กำหนดมา 1 บรรทัด
คำถาม
ถ้าต้องแก้ไข เปลี่ยนแปลง ให้ได้ผลลัพธ์ เพียง 7 บรรทัด
ต้องแก้ไขโค้ดบรรทัดที่เท่าใด จากอะไร เป็นอะไร
แล้ว ถ้าต้องเขียนโค้ดด้วยตนเอง จะเขียนแบบนี้ หรือไม่
หนังสือเรียน ม.2 : ภาษาระดับสูงมาก
น้อง ม.2 ที่ได้อ่าน หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จะพบว่าในหนังสือ หน้า 46 หัวข้อ 1.4 ภาษาระดับสูงมาก ที่เป็นภาษาโปรแกรมยุคที่ 4 (4GLs) มีลักษณะคล้ายกับภาษาพูดของมนุษย์ จัดเป็นภาษาที่ไร้กระบวนคำสั่ง (Non-procedural language) เป็นภาษาที่เขียนง่าย มักใช้ในการจัดการเกี่ยวกับข้อมูล ได้แก่ ภาษาเอสคิวแอล (SQL) พบภาพหน้าจอโปรแกรมที่นิยมใช้จัดการข้อมูลที่รองรับภาษาเอสคิวแอล คือ phpmyadmin และมีตัวอย่างการเขียนโค้ด
เช่น select * from teacher where name= "Lattapol"
thaiall.com/mysql
บทที่ 5 ม.3 วิทยาการคำนวณ หัวข้อ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ทที่ 5 ม.3 วิทยาการคำนวณ หัวข้อ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง พบกรณีศึกษา 5.2 ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ โดยแสดงรายการใช้อุปกรณ์ที่น่าสนใจ มีดังนี้
- แผงวงจร IPST-Wifi
- แผงวงจร iKB-1
- ระบบรดน้ำ
- เซนเซอร์วัดความชื้นของดิน
- แอปพลิเคชัน IoT MQTT panel
- โปรแกรม MQTTlens บน Chrome

ชนมภัทร โตระสะ. (2566). ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติโดยใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง สำหรับสวนปำล์มน้ำมัน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 11(1), 1-11.

นราธิป ทองปาน และ ธนาพัฒน์ เที่ยงภักดิ์. (2559). ระบบรดน้้าอัตโนมัติผ่านเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 3(1), 35-43.

ประเทศจะก้าวสู่ยุค 4.0 ได้ ถ้าเด็กไทยมีทักษะด้านวิชาวิทยาการคำนวณ ข้อมูลจาก blog : สอนลูกเขียนโปรแกรม โดย Dek-D
KID coding .. เรามีโอกาสสัมภาษณ์ รศ.ยืน ภู่วรวรรณ นักวิชาการผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้วิชานี้กลายเป็นวิชาบังคับ อาจารย์ยืนเป็นที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และที่ปรึกษา ของ สสวท. (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ผู้พัฒนาหลักสูตร วิชาวิทยาการคำนวณ (Computing Science) อาจารย์ได้สรุปความสำคัญของวิชาวิทยาการคำนวณต่อการพัฒนาเด็กและประเทศชาติไว้ในหลายด้าน โดยเริ่มต้นจากความสำคัญของวิชานี้ต่อการพัฒนาประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต
“ประเทศไทย 4.0 เน้นเรื่อง 5 อุตสาหกรรม S CURVE
โดยหนึ่งในนั้นคือเรื่องของเทคโนโลยีดิจิตัล
ซึ่งเป็นฐานของอุตสาหกรรมทุกตัว”

“ประเทศไทยเราตกขบวนมาโดยตลอด ตั้งแต่เรื่องของการเป็นนิกส์ (Newly Industrialized Country-NIC) หรือการเป็นเสือตัวที่ห้าของเอเชีย แม้กระทั่งปัจจุบันรายได้เฉลี่ยของคนไทยยังอยู่ที่ 5 พันกว่าเหรียญ ที่เรียกว่า กับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) รัฐจึงดูบทเรียนจากเกาหลีใต้ที่มีแผนชาติ 20 ปี จนกระทั่งกลายเป็นประเทศที่พัฒนาได้ และมองว่าประเทศเราต้องวางแผน 20 ปี โดยใช้สโลแกน “ประเทศไทย 4.0” เน้นเรื่อง 5 อุตสาหกรรม S curve โดยหนึ่งในนั้นคือเรื่องของ เทคโนโลยีดิจิตัล ซึ่งเป็นฐานของอุตสาหกรรมทุกตัว รัฐจึงเกิดคำถามว่า ประเทศไทยจะเป็น 4.0 ได้หรือ ถ้ากำลังคนยังเป็นอย่างนี้ จึงเป็นที่มาของการปฏิรูปการศึกษา ด้วยแรงกดดันต่าง ๆ ทั้งความเปลี่ยนแปลงของสังคมและนโยบายรัฐบาล จึงเป็นจังหวะที่วิชาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิตัลต้องเปลี่ยนแปลง”
การกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (S-Curve)

PDF : oie.go.th p.11
ารต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive) 2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) 3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) 4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnolgy) 5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)
ารเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) 2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) 3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) 4) อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital) 5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
ที่มา : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
thaiauto.or.th
บทเรียนแรก การใช้ Python วาดสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน
จทย์แรก การใช้ Python วาดสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกการโปรแกรมที่ทำให้เห็นภาพการเดินของเต่า และเชื่อมโยงรูปทรงเรขาคณิต ขั้นตอน เริ่มจากผู้เรียน หรือผู้สอนเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้ว Download และติดตั้งโปรแกรม Python จากนั้นเปิดโปรแกรมโดยค้นหา (Search) คำว่า "python" แล้วสั่งเปิดโปรแกรม Python 3.8 64-bit หรือ IDLE (Integrated Development and Learning Environment)
มื่อพบหน้าต่าง IDLE ที่ถูกเปิดขึ้น เริ่มต้นพิมพ์คำสั่ง เพื่อสั่งเต่าให้เดินตามตัวอย่าง เมื่อพิมพ์คำสั่งไปถึงบรรทัดที่สอง หลังพิมพ์คำสั่ง color('blue') จะมีหน้าต่าง Python Turtle Graphics ปรากฎขึ้น เมื่อพิมพ์บรรทัดที่สาม ด้วยคำสั่ง Foward(100) จะพบว่า เต่าเดินไปทางขวา 100 จุดบนจอภาพ จากนั้นพิมพ์คำสั่งต่อไปเพื่อสั่งงาน กำหนดโจทย์ที่สร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนแต่ละคนได้ เช่น วาดบ้าน วาดเรือ วาดรถ ด้วยสีสวย ๆ เทคนิคเพิ่มเติม การล้างหน้าจอ ใช้คำสั่ง clear() หรือเรียกคำสั่งเดิมที่เคยพิมพ์ด้วยการกดลูกศรขึ้นไปถึงคำสั่งที่ต้องการ แล้วกดปุ่มเอ็นเทอร์ เพื่อเรียกคำสั่งนั้นมาใช้อีกครั้ง
Python บน IDLE
ตัวอย่างคำสั่งภาษา Python
from turtle import *
color('blue')
forward(100)
left(90)
forward(100)
left(90)
forward(100)
left(90)
forward(100)
left(90)
Scratch คือ เครื่องมือสำหรับการฝึกโปรแกรม

Scratch = เกา
Scratch คือ เครื่องมือสำหรับการโปรแกรมด้วยแผนภาพ ด้วยการต่อจิ๊กซอล นำชิ้นคำสั่งมาร้อยเรียงเรื่องราวอย่างเป็นระบบ ใช้ได้ฟรี สนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ สามารถใช้สร้างสรรค์ตัวการ์ตูน เล่านิทาน เกม ดนตรี ศิลปะ บอกเล่าถึงชีวิต และสังคม การฝึกใช้ถือเป็นก้าวสำคัญของผู้เริ่มต้นที่จะศึกษาการโปรแกรมในระดับที่สูงขึ้น Scratch ถูกใช้ในขอบเขตอื่นได้ อาทิ โครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ รวมทั้งการสร้างแบบจำลอง และการทดลอง แล้วยังช่วยสร้างเอกสารนำเสนอของนักเรียน ครู อาจารย์ การเปิดโครงงานสามารถใช้งานบนเว็บไซต์ เผยแพร่ แบ่งปัน แก้ไขผ่านเว็บบราวเซอร์ ซึ่ง Scratch เริ่มต้นโครงการจากการทำงานร่วมกันระหว่าง Google และ MIT's Scratch team แล้วทีมของ Google ได้พัฒนา Blockly เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้การโปรแกรม และการนำไปใช้ในภาคธุรกิจได้ (แปลจาก wikipedia.org และ mit.edu)
University 42
Blog

Wiki : 42 school
Site : 42 Siligon valley
ร.วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นคอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "อาหารสมอง" เขียนเล่าเรื่อง “University 42” ที่ก่อตั้งโดยเศรษฐีชื่อ Xavier Niel กับ Nicolas Sardirac ว่าที่นั่นมุ่งไปที่จุดเดียว คือ ผลิตนักพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นยอดปีละประมาณ 1,000 คน เรียน 3-5 ปี แล้วแต่ใครจะใช้เวลานานเท่าใด มีหอพัก มีอาหารฟรี ให้นักศึกษาที่แย่งกันเข้า ไม่มีการนั่งฟังเลคเชอร์ ไม่มีอาจารย์ เปิดเรียน 24 ชั่วโมง 7 วัน ปีแรก (2013) ที่เปิดรับมีผู้สมัคร 80,000 คน เรียนจบระดับใดหรือสาขาใดได้ทั้งนั้น มีอายุระหว่าง 18-30 ปี สอบรอบแรกคัดเหลือ 3000 คน แล้วติว 4 สัปดาห์ แล้วคัดเหลือ 1000 คน ผู้เรียนทุกคน คือ อาจารย์ของกันและกัน ที่นี่เรียนรู้โดยอาศัย Project-Based Learning คือ การเรียนรู้จากกันและกัน นักศึกษาต้องทำงานโปรเจคหนักมาก ทีมละ 5 - 6 คน ชนิดไม่ได้หลับไม่ได้นอนเป็นอาทิตย์ โปรเจคมาจากของจริง เช่น ให้พัฒนาซอฟต์แวร์โปรแกรมของโทรศัพท์บางรุ่นที่ล้าสมัย ให้ทำงานได้กว้างขวางขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ลข 42 มาจาก นิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy เขียนโดย Douglas Adams ในเรื่องถามซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่ชื่อ Deep Thought ว่า อะไร คือ คำตอบสุดท้ายของคำถามเกี่ยวกับชีวิต จักรวาล และทุก ๆ สิ่ง แล้วคอมพิวเตอร์ใช้เวลาคิดอยู่ 7.5 ล้านปี และให้คำตอบว่า 42
คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์
คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) (188 หน้า) ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา [ipst.ac.th]
หน้า 146 : กิจกรรมที่ 2 แรกพบไพทอน
หน้า 149 : การใช้โปรแกรม PyCharm Edu พิมพ์ "Hello world!"
คู่มือการใช้หลักสูตร สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) : คู่มือการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ฉบับนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในจัดการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสมและตามบริบทของโรงเรียน
หมายเหตุ : เอกสารฉบับนี้เป็นเเอกสารเผยแพร่ภายใต้ โดเมน ipst.ac.th เท่านั้น ห้ามนำไปเผยแพร่ให้ดาวน์โหลดภายใต้โดเมนหรือเซิร์ฟเวอร์อื่น เพื่อให้มั่นใจว่าท่านได้ไฟล์ที่ถูกต้องและเป็นไฟล์ที่ได้รับปรับปรุงล่าสุด โปรดอ้างอิง URL ที่อยู่ภายใต้โดเมน ipst.ac.th
Download : คู่มือการใช้หลักสูตรฯ
ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล บว่า เพื่อนหลายท่านในสื่อสังคม แชร์ประกาศนียบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เพื่อน ๆ ได้ไปเรียนออนไลน์ในหลักสูตร "ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล" (New Normal Life and Digital Quotient) และทำแบบทดสอบหลังเรียน จนผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นบทเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนและประชาชน ท่านใดสนใจ สามารถเข้าไปเรียนได้ ที่ learningdq-dc.ku.ac.th
ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตร หากทำแบบทดสอบท้ายบทครบถ้วนตามเกณฑ์ ซึ่งเนื้อหามี 8 บทเรียน ประกอบด้วย 1) วิกฤติการณ์โควิด 19 และผลกระทบ 2) ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) 3) การศึกษาวิถีใหม่ 4) ทักษะดิจิทัลเพื่ออนาคต 5) ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ-Digital Quotient) 6) การรู้เท่าทันสื่อใหม่ 7) การเป็นพลเมืองดิจิทัล 8) คุณธรรมและจริยธรรมในสังคมไซเบอร์
พัฒนาบทเรียนโดย ศาสตราจารย์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ และรองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ
Project 14 คืออะไร
Project14 คือ โครงการนำสู่ความปกติใหม่ทางการศึกษาของ สสวท. (New Normal Education) ที่การเรียนรู้ไม่ได้จำเป็นเพียงแค่ในห้องเรียน แต่สามารถเกิดได้ทุกที่ทุกเวลาตามที่ผู้เรียนเลือกหรือกำหนด Project 14 เป็นบทเรียนออนไลน์ซึ่งประกอบด้วยวีดิทัศน์การสอนเพื่อส่งเสริมวิถีการเรียนรู้ใหม่ที่ผู้เรียนมีแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ตรงตามหลักสูตร เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ หรือทบทวนบทเรียน นอกจากนี้ ครูผู้สอนยังสามารถใช้แหล่งเรียนรู้นี้ประกอบการจัดการเรียนรู้ตามปกติในห้องเรียน เพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
วีดิทัศน์ที่จัดทำขึ้นใน Project 14 นี้ สอดคล้องกับตัวชี้วัดกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ครอบคลุมทุกระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติม
proj14.ipst.ac.th/about-project14
อบรม Coding
ผู้บริหารราชการ ต้องผ่าน อบรม Coding .. คกก. Coding แห่งชาติ มุ่งจัดหลักสูตรอบรม Unplug Coding สำหรับผู้บริหาร #หวังเพิ่มความสามารถคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) แห่งชาติ ครั้งที่ 6 (1/2565) โดยมี คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งนายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, คณะผู้บริหาร ศธ., คณะกรรมการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) แห่งชาติ เข้าร่วมการประชุม ผ่านระบบออนไลน์ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
เรียนตามที่ต้องการ
การศึกษาที่เตรียมสื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนที่ตนอยากรู้ เมื่อใด ที่ไหนก็ได้ เป็นการพัฒนาเจาะลึกเฉพาะในระดับบุคคล
on-demand
เรียนจากโทรทัศน์ทางไกล
การศึกษาที่เข้าถึงผู้เรียนได้ทุกกลุ่มพื้นที่ มีตารางออกอากาศทางทีวี สอนโดยมืออาชีพ มีเพียงทีวี ไฟฟ้า รับสัญญาณ
on-air
เรียนออนไลน์
ครูและผู้เรียนที่นัดเวลาเข้าห้องเรียน ผ่านอินเทอร์เน็ต และโปรแกรมประชุม ที่เรียนได้ทุกที่และบันทึกดูย้อนหลังได้
on-line
การเรียนที่ปฏิบัติร่วมกัน
ครูจะออกแบบกิจกรรมฝึกปฏิบัติสร้างทักษะคิดวิเคราะห์ โดยชี้แจง ลงมือทำ ส่งในเวลา ทำต่อเป็นการบ้านให้สมบูรณ์
on-hand
บทความวิชาการที่น่าสนใจ

เกรียงไกรวิชญ์ วนกลาง. (2567). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม วิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 9(2), 194-207.

Thaiall.com