thaiall logomy background
การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและภัยคุกคาม (SWOT)
my town
ตัวอย่างแผนกลยุทธ์
เป้าหมาย ของ การจัดทำ SWOT คือ เพื่อ วิเคราะห์สถานการณ์ หลังจากนั้น จะนำผลดังกล่าวไปประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อให้การกำหนดวิสัยทัศน์ที่มีฐานคิดที่ถูกต้อง สมเหตุสมผล ซึ่งมีตัวอย่างของแผนยุทธศาสตร์ หรือแผนกลยุทธ์ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา มาแบ่งปันเป็นแนวทาง มีดังนี้
ตัวอย่าง แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่น่าสนใจ
+ ม.เอเชียอาคเนย์ 54-58
+ ม.มหิดล 52-55
+ มรภ.พิบูลสงคราม 51-56
+ มรภ.เชียงใหม่ 55-59
+ บทความ ม.กรุงเทพฯ 43-48
+ มรภ.วไลยอลงกรณ์ 53-56
+ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ 53-67
หมายเหตุ. องค์กรทางธุรกิจ มักไม่เผยแพร่แผนยุทธศาสตร์
:: ตัวอย่างวาดกราฟ :: ตัวอย่างฟอร์มพร้อมข้อมูล 15 ช่อง ::
ความหมาย
การวิเคราะห์ (Analysis)
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
ปัจจัยภายใน :จุดแข็ง (Strength) + จุดอ่อน (Weakness)
ปัจจัยภายนอก :โอกาส (Opportunities) + ภัยคุกคาม (Threat)
การวิเคราะห์สถานการณ์
มีประเด็นที่ประกอบด้วย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT = Strength, Weakness, Opportunity และ Threat) คือ การสำรวจตรวจสอบสภาพภายในองค์การและสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผน เพื่อให้แผนนั้นได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่และแก้ปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ โดยอาศัยทั้งปัจจัยจากภายในและภายนอกมาเป็นฐานคิดสำหรับกำหนดแผนงานโครงการ
ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย จุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness)

จุดแข็ง หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากความสำเร็จในมิติต่าง ๆ เช่น ทำเลที่ตั้ง ฐานะทางการเงิน ความสามารถของบุคลากร ความเป็นทีม คุณภาพบริการ ประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
จุดอ่อน หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากปัญหาหรืออุปสรรคในมิติต่าง ๆ เช่น ระเบียบกฎเกณฑ์ ขั้นตอนที่ซับซ้อน การเริ่มต้นใหม่ ความหลากหลายของคน เป็นต้น
ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย โอกาส (Opportunity) และภัยคุกคาม (Threat)

โอกาส หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาถึงความเป็นประโยชน์หรือสนับสนุนเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ภัยคุกคาม หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาว่าเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
เป้าประสงค์ (GOAL) ขององค์กรคือการกำหนด วิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กรที่ชัดเจน แล้วจึงวางแผนกลยุทธ์ระยะยาว และวางแผนปฏิบัติการรายปีที่ประกอบด้วยกิจกรรม/โครงการที่ชัดเจน ซึ่งการวางแผนกลยุทธ์ที่สมเหตุสมผลควรมาจากการวิเคราะห์สวอต
ลำดับการเขียนแผน
1. เป้าประสงค์ (GOAL)
2. วิเคราะห์สวอท (SWOT Analysis)
3. เลือกกลยุทธ์และตัวชี้วัด (Select Strategy & KPI)
4. เขียนแผนปฏิบัติการ (Action Plan with PI)
5. วงจรเดมมิ่ง (PDCA with CQI)
การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
(CQI = Continuous Quality Improvement)
ตัวอย่างโดย ศาสตราจารย์นายแพทย์วุฒิชัย ธนาพงศธร เป็นกรณีศึกษา มหาวิทยาลัยแพทย์ฯ
ปัจจัยภายใน
จุดแข็ง
- ทำเลที่ตั้งไปมาสะดวก
- อาจารย์ที่มีความรู้สูงมีจำนวนมาก
- เครื่องมือ อุปกรณ์มีความพร้อม
- บุคลากรมีมนุษยสัมพันธ์ดี
ปัจจัยภายนอก
โอกาส
- รัฐบาลสนับสนุนการศึกษา
- ความต้องการบัณฑิต
- การเจริญเติมโตของอาเซียน
- เอกชนคิดค่าเล่าเรียนสูง
- การโทรคมนาคมทันสมัย
จุดอ่อน
- การวิจัยยังมีน้อย
- ระบบสารสนเทศไม่มีประสิทธิภาพ
- บุคลากรขาดความรักองค์กร
- ขาดการบำรุงรักษาสินทรัพย์
- ขาดสิ่งอำนวยความสะดวก
ภัยคุกคาม
- การเข้มงวดด้านกฎระเบียบ
- ทิศทาง โครงการ 30 บาท ไม่ชัดเจน
- นโยบายการจำกัดอัตรากำลัง
- สถาบันการศึกษาต่างชาติเข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทย
แนะนำเว็บไซต์
+ ความหมายของ SWOT
อ่านเพิ่มเติม
แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map)
Strategy Map โดย อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู [ strategymap1.doc ]
ร่าง แผนที่ยุทธศาสตร์ ปี 2553
5 เม.ย.53 แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map ) คือ แผนภาพที่จะใช้แสดงทิศทาง การเชื่อมโยงแต่ละเป้าหมายขององค์กรและการพัฒนาในแต่ละด้านอย่างเป็นรูปธรรม เป็นเครื่องมือสื่อสาร และถ่ายทอดกลยุทธ์ไปสู่คนในองค์กรให้มีเข้าใจชัดเจน ตรงกัน และเป็นรูปธรรม
ร่าง Strategy map ของมหาวิทยาลัยโยนกแบ่งยุทธศาสตร์เป็น 2 กรอบคือ กรอบยุทธศาสตร์ตามพันธกิจ และกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ โดยเชื่อมโยงกับมิติ 4 ด้านคือ 1) การพัฒนาบุคลากร 2) การบริหารจัดการ 3) คุณภาพการให้บริการ 4) ประสิทธิผลตามพันธกิจ
ซึ่งสอดรับกับที่ไปอ่านพบว่า Professor Robert Kaplan และ Dr.David Norton ได้เสนอในวารสาร Harvard Business Review ปี 1992 ว่าการประเมินองค์กรควรมี 4 ด้าน คือ 1) มิติด้านการเงิน (Financial Perspective) 2) มิติด้านลูกค้า (Customer Perspective) 3) มิติด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) 4) มิติด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)
why-why analysis คือ เครื่องมือสำหรับระดมสมอง เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ด้วยเทคนิคการตั้งคำถาม ซึ่งเป็นเทคนิคที่สามารถค้นหาต้นตอของปัญหาไปพร้อมกับแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้ากำหนดคำถามได้ดีก็จะได้เหตุที่ถูกต้อง และพบต้นตอของปัญหาได้เร็ว แต่ถ้ายังมองไม่เห็นปัญหา หรือทำคนเดียวก็อาจได้ต้นตอของปัญหาที่ไม่ถูกต้อง หากต้องการรายละเอียดเพิ่มก็อาจใช้ 5W1H คือ what, where, who, when, how, why
ปัญหาแท้จริงคืออะไร ตอบได้ด้วย why-why analysis
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยการถามซ้ำ
why-why-analysis คืออะไร
why-why สไตล์ญี่ปุ่น
ตัวอย่างผลของ SWOT ที่ต้องปรับปรุง ปัญหาที่พบจากผลการ SWOT ร้านก๊วยเตี๋ยว
1. การหมักเนื้อคนเดียว ควรเป็นจุดแข็ง หรืออ่อน จะต้องมีข้อเดียว
2. วางโต๊ะน้อย แล้วไม่มีที่นั่ง ต้องเลือกว่าจะแข็งหรืออ่อน
3. ถ้าข้อใดไม่มีผลชี้เฉพาะกับร้าน ควรตัดออก เช่น แรงงานต่างด้าว
4. ดูหลายข้อขัดกัน มักเกิดจากหลายคนหลายคิด และไม่คุยกัน
วิธีแก้ไขหากวิเคราะห์ออกมาแล้ว พบปัญหา
1. ให้ข้อมูล และเงื่อนไขก่อนร่วมกันวิเคราะห์
2. มีผู้ตัดสินชี้ขาด ชี้แจง และให้ความชัดเจนได้
3. มีเกณฑ์ให้น้ำหนัก และคะแนน
4. มีการจัดลำดับและตัดที่ไม่ใช่ทิ้งไป
5. ใช้เหตุผล หลักฐาน พยาน มากกว่าความรู้สึก
SWOT กับการวิเคราะห์ทางธุรกิจ ของนิสิต ตัวอย่างผลงาน ของ นิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ที่นำเสนอผลการวิเคราะห์ธุรกิจที่ตนเองสนใจ แล้วเผยแพร่ผ่านบอร์ดของคณะวิชา เช่น ผลไม้อบแห้ง กาแฟ เสื้อผ้าแฟชั่น คลินิก โดยมีหัวข้อที่ทำการวิเคราะห์ ดังนี้
1. ชื่อเจ้าของกิจการ ..
2. ประเภท .. (สินค้า/บริการ)
3. แนวคิด .. (บทนำเพื่ออธิบายความเป็นมา)
4. ลักษณะธุรกิจ .. (ผลิต/แปรรูป/จำหน่าย/บริการ)
5. ระยะเวลาในการดำเนินการ ..
6. เหตุผลและแรงบันดาลใจ .. (สิ่งที่ทำให้เลือกกิจการนี้)
7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ..
8. ความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจ ..
9. การวิเคราะห์ SWOT ..
rspsocial
Thaiall.com