การตัดครอบเนื้อหาจากเว็บเพจ ออกมาแยกแสดง

กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ | index100* |
เลือกบทความ

42. ใครทำ ใครได้ บุคลิกภาพของเรา และ การรับรู้ของคนอื่นในองค์กร

ใครทำ ใครได้ บุคลิกภาพของเรา และ การรับรู้ของคนอื่นในองค์กร (Self Personality to Perception of Others)
คนเราทุกคนล้วนมีบุคลิกภาพ (Personality) เป็นเฉพาะตน ที่หมายถึง บุคลิกภาพภายใน (Internal Personality) ได้แก่ ความรู้สึก นึกคิด มุมมอง ทัศนคติ พื้นฐานความรู้ และ บุคลิกภาพภายนอก (External Personality) ได้แก่ การวางตัว ท่าที การพูด การแสดงออก และ รวมถึง การแต่งกาย และ การเข้าสังคม ซึ่งบุคลิกภาพโดยรวมที่มาจาก พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และ สถานการณ์ ที่ทำให้คนนั้น ๆ มีบุคลิกภาพ อย่างใดอย่างหนึ่งออกมานั่นเอง
อย่างไรก็ตาม บุคลิกภาพสามารถสร้าง ปรับปรุง พัฒนา ไปในทางที่พึงประสงค์ได้ ทั้งนี้บุคลิกภาพแยกออกเป็น 7 ประเภท
1) บุคลิกภาพทางร่างกาย (Physical Personality)
ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา สุขภาพ น้ำหนัก ทรงผม ความสะอาดสะอ้าน
2) บุคลิกภาพทางจิตใจ (Psychological Personality)
ได้แก่ ทักษะความจำ การลืม ความสนใจ จินตนาการ ความตั้งใจ รูปแบบการตัดสินใจ
3) บุคลิกภาพทางความสามารถ (Capability Prrsonality)
ได้แก่ ไหวพริบ ปฏิภาณ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สติปัญญา ทักษะการวิเคราะห์
4) บุคลิกภาพทางจริยธรรม (Ethical Personality)
ได้แก่ ความประพฤติ ศีลธรรมจรรยา ความสุภาพ ความซื่อสัตย์
5) บุคลิกภาพทางสังคม (Social Personality)
ได้แก่ ระดับความชอบเข้าสังคม การเข้าได้กับคนทั่วไป ระดับการเก็บตัว ระดับการชอบแสดงออก การยอมรับคนโดยรอบ ระดับการชอบในการได้รับการยอมรับในฝูงชน
6) บุคลิกภาพทางใจ และ อารมณ์ (Mental & Emotional Personality)
ได้แก่ ระดับของจิต ระดับการควบคุมความตื่นเต้น ระดับการควบคุมการตกใจ ระดับความกล้าหาญกรือขี้กลัว ระดับการควบคุมอารมณ์ร้อน หรือ เย็น
7) บุคลิกภาพทางกำลังใจ (Morale Personality)
ได้แก่ ระดับความกระฉับกระเฉง เฉื่อยชา ว่องไว ใจแข็ง ใจอ่อน ความมั่นคงในอารมณ์ ระดับความมุ่งมั่นอดทน ขยัน หรือ เกียจคร้าน ยืดมั่น หรือ เปลี่ยนง่าย สงบ หรือ ตื่นตกใจ
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกภาพภายใน หรือ ภายนอก ใน 7 ประเภทนี้ จากที่เป็น "บุคลิกภาพ (Personality)" ของเรา แต่สิ่งนั้นมีผลต่อคนอื่น กลายไปในแบบ "การรับรู้ (Perception)" ที่เขามีต่อเราแทน ซึ่งจะค่อยเป็นค่อยไปตามที่เราได้ "ฉายภาพ" บุคลิกภาพให้เขาสัมผัสได้ในแต่ละวันต่อเนื่องไปนั่นเอง
แน่นอนว่าการรับรู้นั้นผ่านระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 เลือกสรร จัดระเบียบ ตีความ และ เก็บไว้เป็นฐานข้อมูล ที่เรามีต่อคนอื่น คนอื่นมีต่อเรา โดยผ่านบุคลิกภาพ ตีความเป็นการรับรู้ในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตาม การรับรู้นั้นอาจเกิดบุคลิกภาพที่บิดเบือนไปจากผู้ส่งสารที่ตั้งใจ ให้ผู้รับสารเข้าใจผิด หรือ ฐานข้อมูลที่ผู้รับสารมีอยู่บิดเบือนไปเองได้ "ถ้าไม่ชัดพอ" เลยเข้าใจตีความผิด ได้แก่
- การรับรู้ผิด จากผู้รับสาร
- การต่อต้านการรับรู้ (Perceptual Defense)
ที่คิดว่า ไม่น่าใช่ ไม่น่าเป็น แบบนั้น ๆ
- การเหมาพวก (Stereotyping)
ที่คิด กลุ่มคนนั้น ฝ่ายนั้น ที่มาจากนั้น จะต้องเหมือนๆกันเสมอ
- การมองลักษณะเด่นด้านเดียว (Halo Effect)
ที่มองจากภาพแรกที่จดจำ และ นึกว่าต้องเป็นแบบนั้นตลอด ไม่ว่าจะบวก หรือ ลบ
- การเลือกรับรู้ (Selective Perception)
ที่มักจะเกิดจากนิสัยเลือกรับข้อมูลที่สนใจ ที่ติดตามอยู่ มากกว่าด้านอื่นๆ
- การคาดการณ์ไปเอง (Self-fulfillment Prophecy)
ที่เกิดจากจิตใต้สำนึกคิดว่าจะต้องเป็นแบบนั้นแน่
- การผิดแผกจากการเปรียบเทียบ (Contrast Effect)
ที่เกิดจากสิ่งที่ผู้รับสารไม่คุ้นเคย จะมีความรู้สึกมากเป็นพิเศษจนเกินไปได้ ไม่ว่าทางบวก หรือ ลบ
ในทางกลับกัน ผู้ส่งสาร ได้แสดงออกด้วยข้อมูล หรือ บุคลิกภาพ อย่างใด อาจมีข้อบิดเบือนให้ผู้รับสารรับรู้ผิดได้ ผ่านสิ่งที่เรียกว่า "กลไกป้องกันตนเอง (Defense Mechanism)"
ได้แก่
- การถ่ายทอดโดยการปฏิเสธ หรือ บิดเบือน (Denial & Distortion)
ถ้ามีการสร้างความน่าเชื่อถือมากพอ หรือ ผู้รับสารคล้อยตาม
- การถ่ายทอดความรู้สึก (Projection)
เป็นการลดความรุนแรง (ส่วนใหญ่ทางลบ) โดยหาเหตุผลด้านลบ ให้กับคนอื่นๆโดยรอบ ทำให้ผู้รับสารรู้สึกว่าเหมือนๆกับคนอื่น หรือ ส่วนใหญ่ได้
ดังนั้น การอยู่ในองค์กร การวางตัวด้วยบุคลิกภาพที่ดีสามารถทำได้ ด้วยจิตสำนึกตนในการพัฒนาเชิงบวก เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลการรับรู้ต่อคนอื่นๆ ทั้งหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และ ก็ต้องมีจุดยืนที่ดี ชัดเจน ในการสร้างการรับรู้ที่ดีต่อคนอื่น โดยต้องไม่สร้างภาพผิด บิดเบือน หรือ โยนความผิดสร้างภาพลบกับคนอื่นประกอบ เพราะไม่มีใครดีขึ้นจากการต่อว่าคนอื่น หรือ ใส่ร้ายคนอื่นในท้ายที่สุด
ดังนั้น ทำดี สร้างบุคลิกภาพดี ย่อมดีในระยะยาวกับตนเอง และ คนรอบข้าง อย่ากังวลว่าบางครั้งทำไมดีด้วยแล้วไม่ดีกลับ ใครทำ ใครได้ อย่างนั้นแน่นอน
ท่านล่ะ กำลังพัฒนาบุคลิกภาพแบบใดอยู่ หรือ สร้างการรับรู้ให้คนรอบตัว ในองค์กร ในสังคม ดีแล้ว หรือ ยัง
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
8 พฤศจิกายน 2564

รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
 
Kritsada Tunpow : ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด บริษัทจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ เป็นนักวิชาการอิสระ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการตลาดมาอย่างมากมาย ได้จัดทำ คลิปวิดีโอ หลักสูตรการบริหารจัดการ เผยแพร่ผ่านช่อง Stepplus training และเขียนบทความแบ่งปันในเฟสบุ๊ค Kritsada Pop Tunpow อย่างต่อเนื่อง#
คลิกเปิดแบบ : พรีวิว หรือ ฉบับเต็ม
เอกสารอ้างอิงที่น่าสนใจ แบบ APA

นัฐปกรณ์ รวีธนาธร และ สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2566). กลยุทธ์การขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้บริบท ความเป็นชุมชนเมือง ในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 10(1), 198-213.

จงรักษ์ บุญยืน. (2566). แนวทางการบริหารการนิเทศภายในสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 8(10), 124-140.

Dir : tec File : handbook_tec_63.txt Topic : kritsada_fb
คลิกที่นี่ เพื่อส่งไปทดสอบบน Pagespeed insights
key.php | keyspeed.php