การตัดครอบเนื้อหาจากเว็บเพจ ออกมาแยกแสดง

กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ | index100* |
เลือกบทความ

65. ศิลปะแห่งการให้คำชม และ การตำหนิ ในที่ทำงาน

การทำงานใด ๆ ก็ตาม คนเราย่อมมีทั้งทำถูก ทำผิดพลาด ทำดีเป็นบวก และ ทำลบเป็นผิด ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการทำงานของคนทำงาน ดังที่อาจจะเคยได้ยินเสมอ ๆ ว่า คนที่ไม่เคยทำงานผิด แสดงว่าเป็นไม่ทำงานนั่นเอง
ซึ่งผลของงานนั้นๆ หัวหน้างานอาจจะมีการประเมินงานผลตามแนวทางที่เรียกว่า การให้คุณ หรือ ให้โทษ (Reward and Punishment) กับบุคคลที่ทำงานเป็นบวก หรือ ลบนั้น แม้ว่าคนเราจะมีพื้นฐาน " อยากได้ยินสิ่งที่ตนเองต้องการ (People here what they want to hear) " ก็ตามที ดังนั้นหัวหน้างานควรมีศิลปะในการพูดคุย ดังนี้
I. การให้คำชมในการทำงาน (Compliment in Works)
- การชมนั้น ควรเป็น "การชมในที่กว้าง" ควรมีการประกาศ มีการเวียนให้ทราบทั่วกัน หรือ ในที่ประชุมสำคัญ ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวอย่าง และ ให้กำลังใจคนที่ทำผลงานดี
- การชมเชย ควรมีความครบถ้วน ทั้ง
1) ชมบุคคล (Person) ในความสามารถ ความตั้งใจ
2) ชมที่กระบวนการ (Process) ว่าสามารถดำเนินการต่างๆให้ลุล่วงไปได้ดีอย่างไร
3) ชมผลลัพธ์ (Results) ว่าได้ผลดีอย่างไร ต่องาน และ องค์กร
- การชม เพื่อเป็นการจุดประกายให้กับคนรอบข้าง ทีมงาน และ ผู้ทำนั้น เพื่อให้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพต่อไป
ผู้ให้คำชมด้วยคำพูด: น้ำเสียงสดใส ชัดเจน และ สรุปให้รักษามาตรฐาน และ พัฒนาต่อยอด
II. การตำหนิในการทำงาน (Reprimand at Work)
- การตำหนิ จะต้องเป็นการตำหนิในที่ลับ เฉพาะบุคคล ไม่ควรขยายวงให้ทราบวงกว้าง เพื่อให้บุคคลนั้นทราบเพื่อปรับปรุง และ ยังสามารถมีโอกาสในการทำงานต่อได้ แต่หากเป็นเรื่องสำคัญ หรือ มีข้อผิดพลาดใหญ่ ให้นำเฉพาะประเด็น เหตุการณ์ หรือ ผลลบนั้น ไม่พาดพิงบุคคล เพื่อให้วงกว้างระมัดระวังในการทำงาน หรือ เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดต่อไป
- การตำหนิควรมีขั้นตอนในการพูดคุย
1) เริ่มที่ภาพรวม แล้วค่อยชี้ประเด็นผิดพลาดที่เกิดขึ้นเฉพาะประเด็นสำคัญ
2) เลือกคำที่เป็นกลาง ไม่มีอารมณ์ และ น้ำเสียงราบเรียบแต่ชัดเจน
3) เปิดโอกาส ให้อธิบาย วิเคราะห์ และ สรุปแนวทางในการปรับเปลี่ยน เพื่อให้ผลลัพธ์นั้นดีขึ้น หรือ สิ่งที่ต่อเนื่องจากนั้นจะมีทิศทางดีขึ้นได้อย่างไร
- การตำหนิ ต้องเป็นการติเพื่อก่อ การแก้ไข และ การระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้นอีกในรอบต่อไป
ผู้ที่ตำหนิ: สรุปให้ตรงประเด็น และ เปิดโอกาสในการเปลี่ยนแปลงพัฒนา
อย่างไรก็ตาม บางครั้ง การสรุปการทำงานที่อาจมีหลายงาน เหตุการณ์ และ ผลลัพธ์ที่ได้มีทั้งบวก และ ลบไปพร้อม ๆ กัน หัวหน้าผู้ให้คำชมเชยพร้อยๆกับข้อตำหนิในบางประเด็น หัวหน้า/ ผู้ประเมินนั้น ก็ต้องมีศิลปะในการเรียงลำดับ ทั้งที่ 2 หรือ 3 เรื่องที่จะพูดคุย ยื่นหมูยื่นแมวระหว่างกันเรียงลำดับดังนี้
- ลบ บวก: ให้เริ่มเรื่องติ และ จบที่เรื่องชม
- บวก ลบ บวก: ให้เริ่มเรื่องชม สลับที่ติ และ จบที่เรื่องชม
- ลบ ลบ บวก: ให้เริ่มเรื่องติ และ จบที่เรื่องชมต่อกัน
(ถ้าบวก 2-3 เรื่องทั้งหมด หรือ ลบ 2-3 เรื่องทั้งหมด ให้ทำแบบ 1 เรื่องบวก หรือ 1 เรื่องลบ)
จากข้างบนนี้ ให้ระลึกไว้ว่าคนเรา "อยากได้ยินสิ่งที่ตนเองต้องการ (People here what they want to hear)" ดังนั้นเสมือนดูภาพยนตร์ คนเราจะตราตรึงกับตอนจบ ลักษณะ "จบด้วยความสุข (Happy Ending)" ดังนั้นให้เขารับรู้สิ่งที่ต้องแก้ไข และ จบเรื่องที่ดี ให้กำลังใจ เขาจะรู้สึกดี และ พร้อมปรับตัว มากกว่าการชมก่อน และ จบที่ข้อติเตียน เพราะฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจง่ายเสมือนการ "ตบหัวแล้วลูบหลัง" ย่อมมีผลดีกว่า "ลูบหลังแล้วตบหัว" นั่นเอง
โดยภาพรวมแล้ว ผู้ที่ชม ต้องการให้รักษามาตรฐาน หรือ ความดีนั้นไว้ ในขณะที่มีคำตำหนิ ต้องให้กำลังใจเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น ในทางกลับกัน บุคลากรผู้กระทำดีทำถูก ก็ต้องรักษาคุณภาพงาน และ ทำดีต่อเนื่อง ถ้าทำผิดทำพลาด ก็ต้องปรับปรุงพัฒนาตนพัฒนางานเพื่อก้าวข้ามไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นต่อไป
ท่านล่ะเป็นหัวหน้างานที่มีศิลปะการให้คำชม หรือ ตำหนิบุคลากรอย่างไร หรือ ทำอย่างไรเมื่อได้คำชม และ ข้อตำหนิ
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
21 พฤศจิกายน 2565

รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
 
Kritsada Tunpow : ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด บริษัทจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ เป็นนักวิชาการอิสระ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการตลาดมาอย่างมากมาย ได้จัดทำ คลิปวิดีโอ หลักสูตรการบริหารจัดการ เผยแพร่ผ่านช่อง Stepplus training และเขียนบทความแบ่งปันในเฟสบุ๊ค Kritsada Pop Tunpow อย่างต่อเนื่อง#
คลิกเปิดแบบ : พรีวิว หรือ ฉบับเต็ม
เอกสารอ้างอิงที่น่าสนใจ แบบ APA

นัฐปกรณ์ รวีธนาธร และ สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2566). กลยุทธ์การขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้บริบท ความเป็นชุมชนเมือง ในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 10(1), 198-213.

จงรักษ์ บุญยืน. (2566). แนวทางการบริหารการนิเทศภายในสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 8(10), 124-140.

Dir : tec File : handbook_tec_63.txt Topic : kritsada_fb
คลิกที่นี่ เพื่อส่งไปทดสอบบน Pagespeed insights
key.php | keyspeed.php