ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ คือ การศึกษาการวางแผนและออกแบบลักษณะการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์หรือผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ กับคอมพิวเตอร์
งานมอบหมาย (Assignment) หมายถึง การสั่งงานให้นิสิต/นักศึกษา/นักเรียน/ผู้เรียนรู้ ได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นวิธีหนึ่งในการพัฒนาทักษะของผู้เรียน งานมอบหมายที่ใช้เวลาค้นคว้า เรียนรู้ ปฏิบัติ ไม่นานนัก และทำที่บ้าน เรียกว่า การบ้าน ถ้าเป็นงานมอบหมายที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ใช้เวลาระยะหนึ่ง ลองผิดลองถูก ปรับปรุงแก้ไขพัฒนา เรียกว่า โครงงาน สำหรับงานมอบหมาย/การบ้าน/โครงงาน มักต้องใช้หลักการแนวทางที่ได้จากในห้องเรียน ต่อยอด หรือค้นคว้าเพิ่มเติม ที่มีท้าทายความสามารถมากพอ จนต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการฝึกฝน ค้นคว้า จนสำเร็จ เกิดทักษะตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
การบ้าน หรือโครงงาน (Project) หมายถึง งานที่ต้องกลับไปทำที่บ้าน หากเป็นโครงงานก็จะใช้เวลาทำอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง อาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นภาคการศึกษา หรือเป็นปีการศึกษา งานมอบหมายอาจมีทั้งงานกลุ่ม และงานเดี่ยว ซึ่งแตกต่างกันไปตามเนื้องาน และวัตถุประสงค์ของงาน งานกลุ่ม คือ งานที่ในทีมมีหน้าที่แตกต่างกัน เรียนรู้การทำงานร่วมกัน ปริมาณงานต้องมากพอ หรือมากเกินกว่าคนเดียวจะทำได้สำเร็จ งานเดี่ยว คือ งานที่ต้องเข้าใจกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบเพียงผู้เดียว ประมาณงานไม่มากเกินความสามารถที่คนเดียวจะทำได้สำเร็จ
# จงสืบค้นอุปกรณ์ไอที [1] - ค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับอุปกรณ์ไอทีที่ทันสมัย - เขียนสรุปด้วยมือครึ่งหน้าบน ส่วนครึ่งหน้าล่างให้วาดภาพประกอบด้วยมือ - ถ่ายภาพเอกสารที่จะส่ง แล้วแต่งภาพให้ดูดี - นำภาพ เพิ่มเข้า Homepage ที่ขอมาจาก Github.com - ส่งลิงค์ผลงาน Github.com เข้าสื่อสังคมในรายวิชา และนำเสนอหน้าชั้นเรียน เช่น https://www.facebook.com/groups/262195335046422/ เช่น https://thaiall.github.io/www/googlemcu/ # จงสืบค้นข่าวใน Breaking News English [2] - เลือกข่าวที่น่าสนใจ จากเว็บไซต์ข่าว เช่น https://breakingnewsenglish.com/ - เขียนข่าว และแปลข่าวด้วยมือบนกระดาษ แบบประโยคต่อประโยค - นำประสบการณ์ไปเขียนเล่าใน blog เช่น wordpress.com หรือ blogger.com - ใน blog ให้มีภาพประกอบที่ได้จากการเขียนด้วยมือ - ส่งลิงค์ผลงาน blog เข้าสื่อสังคมในรายวิชา และนำเสนอหน้าชั้นเรียน เช่น http://www.thaiall.com/blog/burin/7657/ เช่น http://www.thaiall.com/mit/breakingnewsenglish16/ # จงออกแบบโลโก้ประจำตัว [3] - ใช้เครื่องมือช่วยออกแบบภาพกราฟฟิก 2 มิติ (illustrator, photoshop, powerpoint, paint) - ออกแบบภาพประจำตัว ที่ใช้สื่อถึงตนเอง - อาจเป็นข้อความ ภาพ หรือทั้ง 2 อย่าง เช่น logo ทีมฟุตบอล - เพื่อจะใช้ประกอบในเอกสารผลงานต่าง ๆ ของตน - อัพโหลดผลงานออกแบบเป็น png และแฟ้มต้นฉบับเข้า github.com - ส่งลิงค์ผลงาน logo พร้อมแนบลิงค์ github.com เข้าสื่อสังคมในรายวิชา และนำเสนอหน้าชั้นเรียน เช่น http://www.thaiall.com/education/84tools.jpg เช่น https://www.google.com/search?q=logo+ทีมฟุตบอล # จงค้นผลงานวิชาการจาก thailis หรือในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเรื่องที่ตนสนใจ [4] - เลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ เสนอขอใช้หัวข้อ เพื่อป้องกันการซ้ำกับเพื่อน - ค้นมา 2 แบบ คือ 1. บทความวิชาการ 2. เล่มงานค้นคว้าอิสระหรือวิทยานิพนธ์ - อ่านเอกสารให้เข้าใจ แล้วเขียนสรุปด้วยมือ เพียง 1 หน้า - ถ่ายภาพเอกสาร มีโลโก้ประจำตัว นำไปวางใน word แล้วแปลงเป็น pdf - อัพโหลดผลงาน pdf เข้าสื่อสังคมในรายวิชา และนำเสนอหน้าชั้นเรียน เช่น http://dcms.thailis.or.th/dcms/basic.php # จงค้นผลงานวิชาการในเรื่องที่ตนสนใจ จาก thaijo [5] - เลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ เสนอขอใช้หัวข้อ เพื่อป้องกันการซ้ำกับเพื่อน - ค้นบทความที่เกี่ยวข้องมา 3 บทความ - อ่านเอกสารให้เข้าใจ แล้วเขียนสรุปด้วยมือ เพียง 1 หน้า หรือ 3 ย่อหน้า ๆ ละบทความ - ถ่ายภาพเอกสาร มีโลโก้ประจำตัว นำไปวางใน word แล้วแปลงเป็น pdf - อัพโหลดผลงานเข้า github.com - ส่งลิงค์ผลงาน Github.com เข้าสื่อสังคมในรายวิชา และนำเสนอหน้าชั้นเรียน เช่น https://www.tci-thaijo.org/ # จงเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยในเรื่องที่ตนสนใจ [6] - เลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ เสนอขอใช้หัวข้อ เพื่อป้องกันการซ้ำกับเพื่อน - หาเอกสารอ้างอิงที่ค้นคว้ามา และเกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 บทความ - ข้อเสนอประกอบด้วย 1) ชื่อเรื่อง 2) เอกสารอ้างอิง 3) วัตถุประสงค์ 4) กลุ่มตัวอย่าง 5) วิธีดำเนินการ - พิมพ์ด้วย word แปลงเป็น pdf - อัพโหลดผลงาน pdf เข้าสื่อสังคมในรายวิชา และนำเสนอหน้าชั้นเรียน # จงออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลในเรื่องที่ตนสนใจ [7] - เลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ เสนอขอใช้หัวข้อ เพื่อป้องกันการซ้ำกับเพื่อน - หาเอกสารอ้างอิงที่ค้นคว้ามา และเกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 บทความ - ข้อเสนอประกอบด้วย 1) ชื่อเรื่อง 2) เอกสารอ้างอิง 3) วัตถุประสงค์ 4) กลุ่มตัวอย่าง 5) วิธีดำเนินการ - ที่สำคัญ 6) สร้าง แบบสอบถาม เป็น word แบบแก้ไขได้ เพื่อให้เพื่อนร่วม comment ในเอกสาร - อัพโหลดผลงาน word เข้าสื่อสังคมในรายวิชา - ร่วมกันพิจารณาแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อน วิพากษ์ของกันและกันเชิงสร้างสรรค์ # จงออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลด้วย google form [8] - สร้างแบบสอบถามด้วย google form - เขียนสรุปแผนการปล่อยแบบสอบถามถึงกลุ่มเป้าหมาย การติดตาม การรวบรวม - การประมวลผล และสถิติที่เลือกใช้ในการประมวลผล - แชร์ลิงค์ของ google form แบบ shortener เข้าสื่อสังคมในรายวิชา และนำเสนอหน้าชั้นเรียน # จงนำข้อมูลดิบในรูป excel มานำเสนอ [9] - กรอกข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม มาในรูป excel - ออกแบบ chart ใน word มา 5 chart - เขียนเล่าถึงประสบการณ์ในการเก็บแบบสอบถามในเอกสาร chart อธิบายผล และสรุปผลในเบื้องต้น - อัพโหลดผลงาน word เข้าสื่อสังคมในรายวิชา และนำเสนอหน้าชั้นเรียน # จงจัดทำ poster จากข้อมูลที่เก็บด้วยแบบสอบถาม [10] - จัดทำเอกสารนำเสนอในแบบ poster แบบ 2 คอลัม - ห้วข้อประกอบด้วย 1) บทนำ/ความเป็นมา/ความสำคัญของปัญหา 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีดำเนินการ 4) ผลการศึกษา (มีภาพ chart อย่างน้อย 3 ภาพ) 5) สรุปผล/อภิปรายผล 6) เอกสารอ้างอิง - อัพโหลด poster เข้า Github.com - ส่งลิงค์ผลงาน Github.com เข้าสื่อสังคมในรายวิชา และนำเสนอหน้าชั้นเรียน # จงสร้างข้อสอบใน Kanoot [11] - สมัคร Kahoot.com ด้วยชื่อสกุลจริง - สร้างข้อสอบ 10 ข้อ แบบ Quiz - 4 ตัวเลือก - มีภาพประกอบทุกข้อ ที่เกี่ยวข้องกับข้อสอบ - เลือกเรื่องที่ตนสนใจ เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรายวิชา - สร้างคำถาม คำตอบ ตัวเลือกที่สอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชา - ตั้ง Title เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ เช่น อุปกรณ์ล้ำยุค หรือ อุปกรณ์โบราณ - กำหนด Visible to เป็น "everyone" - ส่งลิงค์ผลงาน Kahoot เข้าสื่อสังคมในรายวิชา และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
รวมข่าวภาษาอังกฤษ สรุปมาแบบสั้น ๆ เพียง 2 ย่อหน้า อ่านง่ายพร้อมแบบฝึกหัด เพื่อใช้สอนภาษาอังกฤษในหลักสูตร ESL แต่ละเรื่องนำมาเขียนข่าวให้ยากง่ายหลายระดับ ตั้งแต่ระดับ 0 ถึงระดับ 6 มีกว่า 2233 บทเรียน (27ก.ค.59) เริ่มมาตั้งแต่ปี พฤศจิกายน 2004 (2557) ซึ่งผมสนใจข่าวด้านไอที เพื่อนำไปเล่าให้นักศึกษาในวิชาเทคโนโลยีเบื้องต้น จึงเลือกข่าว และแปลเป็นไทยไปเล่าให้นักศึกษาฟัง
ให้นิสิตฝึกจัดการเอกสารใน Smart Phone ที่มีการแชร์ในชั้นเรียนทั้งจากผู้สอน หรือผลการค้นคว้า เพื่อเปิดอ่านในภายหลัง
ปัจจุบันมีเอกสารอ้างอิงมากมาย ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น สารตั้งต้น ที่อยู่บนหิ้งรอให้เราไปดึงมาทำ citation แล้วใช้ประโยชน์ในการทบทวน เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยของเรา ให้เป็นการพัฒนา ประยุกต์ หรือสร้างนวัตกรรมมีข้อมูลสนับสนุน อ้างอิง หรือต่อยอด สอดคล้องกับที่ พี่เอ้(ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ) พูดใน รายการตอบโจทย์ วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2562 เวลา 20.30 น. ทางไทยพีบีเอส ช่วงนาทีที่ 25 ว่างานวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) ยังมีความจำเป็น แต่ต้องเป็นงานที่ทำให้ลึก ทำให้ดีที่สุด เมื่อถึงเวลาก็จะมีคนไปถึงมาต่อยอดเอง
มีคำถามเกิดขึ้นระหว่างการเรียนรู้ บางเรื่องหาคำตอบได้ง่าย บางเรื่องใช้เวลาและทรัพยากรมาก บางเรื่องดำเนินการหาคำตอบอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่กำหนดประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ ค้นคว้าทฤษฎี วรรณกรรมอ้างอิง กำหนดวิธีการ ดำเนินการ รวบรวมผล และอภิปรายสรุปผล หากงานนั้นดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อหาคำตอบตามวัตถุประสงค์ ด้วยกระบวนการที่เป็นที่ยอมรับ เรียกว่า งานวิจัย
เช่น ศึกษาปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อการใช้อุปกรณ์ การออกแบบ หรือขั้นตอน ว่าแบบใดมีผลการศึกษาเป็นอย่างไร อาทิ สมาร์ทโฟนแบบมีปุ่มจำนวนมาก กับแบบไม่มีปุ่ม หรือการใช้เงินสด กับเงินดิจิตอล เป็นต้น
การอ่านหนังสือสักเล่ม เพื่อให้รู้เรื่องใดสักเรื่อง เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ สอดคล้องกับ นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศไทย (สพฐ, 2554) แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการอ่าน ข้อ 26 ที่เน้นการอ่านและการเขียน ซึ่งส่งเสริมให้ผู้อ่านมีทักษะในการอ่านจับใจความ สามารถเขียนถ่ายทอดประเด็นออกมาให้เข้าใจตามเรื่องราวในหนังสือ ดังนั้นการมอบหมายงานให้อ่านหนังสือ และกำหนดงานเขียนที่ได้จากการอ่านให้ดำเนินการระดับบุคคลอย่างเป็นขั้นตอน จึงช่วยเสริมสร้างทักษะการอ่าน และทักษะการเขียนของผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ
เขียนโดย ผศ.ดร.วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ ปรับปรุงครั้งที 5 เมื่อ 15 สิงหาคม 2557 พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2559 [Order - Aug 2559] ท่านเป็นอาจารย์สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย