มาร์กดาวน์ (Markdown) คือ รูปแบบภาษามาร์กอัปสำหรับแก้ไขหน้าเว็บ
คิดค้นขึ้นโดย จอห์น กรูเบอร์ และ อารอน สวาร์ตซ เป็นภาษาที่อนุญาตให้ผู้เขียนใช้รูปแบบการจัดเนื้อหาที่ง่ายต่อการอ่าน และง่ายต่อการเขียน
จากนั้นตัวภาษาจะแปลงคำสั่งเหล่านี้เป็นภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) ภาษามาร์คดาวน์ได้รับรูปแบบส่วนใหญ่มาจากรูปแบบการจัดการเนื้อหาที่ใช้ในอีเมลทั่วไป
[wiki]
การเตรียม Powerpoint ด้วย Markdown
วิธีการหนึ่งในการเตรียมเอกสาร Powerpoint จากข้อมูลแบบ Plain Text คือ การใช้ภาษา Markdown ซึ่งเป็นภาษาสำหรับเตรียมข้อมูลไปเป็นรูปแบบภาษามาร์กอัปหรือหน้าเว็บที่ง่ายต่อการเขียน และแก้ไข แล้วใช้โปรแกรมช่วยแปลง เช่น Pandoc หรือ Marp แปลงเป็น Powerpoint ก็จะได้แฟ้มสำหรับนำเสนอ ที่นำไปปรับแก้ หรือเปลี่ยน
Theme.thmx ได้โดยง่าย
ซึ่งการใช้งาน pandoc นั้น ก็เพียงแต่ unzip แล้วใช้แฟ้ม pandoc.exe ได้ทันที
#เล่าสู่กันฟัง 63-068 เล่าเรื่อง markdown ใน github.com
เนื่องจาก markdown ได้รับการสนับสนุนใน github.com จึงสร้าง repository ชื่อ markdown
ไว้เก็บผลงาน slide และแบ่งปัน ซึ่งมีเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ และหัวข้อ ที่จะนำไปแปลงผ่านโปรแกรม pandoc เพื่อจัดทำเป็น powerpoint
ซึ่งสร้าง repository เป็น public และ check box ให้ Initialize this repository with a README
ผลลัพธ์คือข้อมูลในช่อง Description ถูกนำไปใส่ในแฟ้ม README.md และกลายเป็นข้อมูลหน้าแรกของ Repository
จากนั้นเข้า Settings จาก MenuBar แล้ว Scroll down ลงมาหากคำว่า GitHub Pages
เลือก Source เป็น master branch แล้วเลือก Theme เป็น Architect จากนั้นระบบจะพาไปสร้างแฟ้ม README.md ซึ่งทับแฟ้มเดิมที่มี description
แล้วกด commit changes
ผล คือ พบ description ของ repository ปรากฎที่ด้านบน เมื่อเข้าสู่ repository และพบรายการ code ทั้งหมดด้านล่างลงมา
ส่วนแฟ้ม README.md นั้น ได้ถูกแทนที่ด้วยคำแนะนำในการเขียน Markdown บน Github Page ไปแล้ว
และมีแฟ้ม _config.yml ที่มีข้อความเพียงบรรทัดเดียว คือ theme: jekyll-theme-architect ซึ่งกำหนด theme สำหรับแสดงผลใน github.io
เมื่อเปิด thaiall.github.io/markdown พบว่ารูปแบบเป็นไปตาม theme ชื่อ architect
จากนั้นอัพโหลดแฟ้ม code ชื่อ hci_all.md และ tec_all.md
ซึ่งต้องเปิดใน github.com จะมีการแสดงผลที่ผ่านการ convert เป็น html แล้ว
แต่ถ้าเปิดผ่าน github.com จะยังเห็นเป็นข้อมูลแบบ markdown อยู่
เช่น github.com/../hci_all.md
#เล่าสู่กันฟัง 63-056 เขียน markdown เป็น pptx
จากการอ่านบล็อก อ.สมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน ใน somkiat.cc
เรื่อง “มาทำ slide และ live code ใน VS Code ดีกว่า” พบว่า อาจารย์ใช้ markdown ในมุมมองใหม่ได้อย่างน่าสนใจ
ผมจำได้ว่ารูปแบบ Markdown เป็นภาษาที่ใช้เล่าเรื่องผ่านแฟ้ม readme.md ใน github.com
สำหรับนักเขียนที่ไม่ต้องการใช้บริการ github.io ที่ใช้ html ก็เลือกเขียนด้วย markdown ใน README.md
เพื่อเล่าเรื่องผลงานของตนเกี่ยวกับ repository นั้นได้
ภาษา markdown เขียนง่ายกว่าภาษา html มาก เพื่อสร้างข้อความหลายมิติ (HyperText)
และใน Blog ของอ.สมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน เล่าเรื่องการเขียนใน vs code แล้วส่งออกเป็น slide บน powerpoint หรือ pdf
ประกอบกับช่วงนี้ (มี.ค.63) มีไวรัส covid-19 ระบาดหนัก เริ่มเปลี่ยนการศึกษาจาก
#ระบบใส่ใจ คือ สอนกันแบบถึงเนื้อถึงตัว
มาเป็น #ระบบใส่แมส คือ มี Social distancing ใส่เครื่องป้องกัน ทิ้งระยะห่างป้องกันติดเชื้อ
สอนออนไลน์ สอนออกไปแล้ว ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนในเวลาที่สะดวก เรียนได้หลายครั้ง และมีเรื่องให้เลือกเรียนจำนวนมาก
แบบ MOOC ถ้าคุณครูเปิดให้เรียนซ้ำ ไม่จำกัดการเข้าถึง ก็จะพัฒนาผู้เรียนได้กว้างไกล แบบ Mass Media
เมื่อวางแผนการสอน (Lesson Plan) แล้วเริ่มสอน การสอนแบบเห็นหน้าครูเป็นชั่วโมง นั่งพูด ยืนพูด แบบ TED คงใช้ไม่ได้กับทุกวิชา
ดังนั้น Powerpoint กับ Camtasia จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ในการจัดทำสื่อการสอน
การเปิดให้ส่งงาน ผ่านกลุ่มเฟสบุ๊ค และทำข้อสอบผ่าน Google Form ถูกพูดถึงกันมาก
กลับมาที่ภาษา Markdown พบว่าเป็นภาษาที่เขียนง่าย นำหัวข้อมาเรียงแยกบรรทัดใน Word หรือ Notepad แล้วใช้ marp แปลงเป็น pdf, png, pptx หรือ html ได้แฟ้ม slide
สำหรับเตรียมบรรยายเป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยมี Slide เสมือน Navigation ช่วยนำทาง
จากการทดสอบใช้ marp-cli บน command line พิมพ์คำสั่งบรรทัดเดียว จะช่วยแปลงแฟ้ม README.md เป็น myslide.pptx พร้อมสอนได้ทันที
แก้ไขก็ทำได้ ด้วยการกลับไปแก้ไขข้อความใน README.md แล้ว convert เป็น myslide.pptx อีกครั้ง
สามารถจัดการ tempate ผ่านแฟ้ม gaia.scss ได้ ผู้พัฒนา marp ระบุว่าโปรแกรมเป็น License ของ mit (Massachusetts Institute of Technology) ทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
|