thaiall logomy background

ระบบปฏิบัติการ (Operating system)

my town
สารบัญ :: #1 :: #2 :: #3 :: #4 :: #5 :: #6 :: #7 :: #8 :: #9 :: #10 :: #11 :: #12 :: Linux ::
ระบบปฏิบัติการ
สาระการเรียนรู้
1. หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
2. องค์ประกอบของระบบปฏิบัติการ
3. วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
4. โครงสร้างระบบปฏิบัติการ
จุดประสงค์การสอน
1. เข้าใจหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
2. สามารถยกตัวอย่างการทำงานจริงเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบปฎิบัติการได้
3. เข้าใจความเป็นมา หรือวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
4. สามารถบอกได้ว่าสิ่งใดคือเซอร์วิสของระบบปฏิบัติการ และสิ่งใดไม่ใช่
5. สามารถเขียนโครงสร้างของระบบปฏิบัติการออกมาได้
6. สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการได้อย่างน้อย 1 ระบบ
แนะนำบทเรียน
อุปกรณ์ทุกประเภทที่ใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หรือใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงาน จะต้องมีซอฟท์แวร์ที่เข้าควบคุมจัดการสั่งงานฮาร์ดแวร์เหล่านั้น หากเป็นซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่ไม่กี่อย่าง ก็จะฝังโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำที่มีมาพร้อมกัน แต่ถ้าฮาร์ดแวร์ต้องทำหน้าที่หลากหลาย ซอฟท์แวร์ก็จะมีความซับซ้อน ดังที่ Bill gates ประสบความสำเร็จจากการเขียนซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการจำหน่าย ตามมาด้วยซอฟท์แวร์อีกมากมายภายใต้ชื่อ Microsoft Corporation ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ต้องใช้ แต่ก็มีระบบปฏิบัติการคู่แข่งคือ Apple กับ Linux ที่ Microsoft จะวางใจไม่ได้
บทนำ

นะนำให้รู้จักคำว่าระบบปฏิบัติการ และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นเนื้อหาโดยรวม สำหรับความหมายของระบบปฏิบัติการในเบื้องต้น คือ โปรแกรม ที่จัดการคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ โดยทำหน้าที่ให้การสนับสนุนการประมวลผลในเบื้องต้น และทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ และคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ทำงานด้วยกัน อย่างราบรื่น จากความหมายข้างต้น ทำให้ทราบว่าคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมีระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่ง โดยปกติคอมพิวเตอร์จะมีส่วนประกอบสำคัญแยกกันได้ 4 ส่วนคือ hardware, operating system, application program และ users

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ประกอบด้วยทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีในระบบ ได้แก่ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึง โปรแกรมภาษาเครื่อง และไมโครโปรแกรม ซึ่งเป็นส่วนที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นซอฟร์แวร์ในระดับพื้นฐาน (primitive level) โดยสามารถทำงานได้โดยตรงกับทรัพยากรระบบด้วยคำสั่งง่าย ๆ เช่น ADD MOVE หรือ JUMP คำสั่งเหล่านี้จะถูกกำหนดเป็นขั้นตอน การทำงานของวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่งที่ไมโครโปรแกรมต้องแปลหรือตีความหมายจะอยู่ใน รูปแบบภาษาเครื่องและมักเป็นคำสั่งในการคำนวณ เปรียบเทียบ และการควบคุมอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก

2. ระบบปฏิบัติการ (Operating system) เป็นโปรแกรมที่ทำงานเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้เครื่องและฮาร์ดแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่าง ๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. โปรแกรมประยุกต์ (Application program) คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ เช่น งานส่วนตัว งานทางด้านธุรกิจ งานทางด้านวิทยาศาสตร์ โปรแกรมทางธุรกิจ เกมส์ต่าง ๆ ระบบฐานข้อมูล ตลอดจนตัวแปลภาษา เราอาจเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่า User's Program โปรแกรมประเภทนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงในการพัฒนา เช่นภาษา C, C++, COBOL, PASCAL, BASIC ฯลฯ ตัวอย่างของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใช้ในทางธุรกิจ เช่น โปรแกรมระบบบัญชีจ่ายเงินเดือน (Payroll Program) โปรแกรมระบบเช่าซื้อ (Hire Purchase) โปรแกรมระบบสินค้าคงหลัง (Stock Program) ฯลฯ ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็จะมีเงื่อนไขหรือแบบฟอร์มที่แตกต่างกัน ตามความต้องการหรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้เราสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมเองได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานโปรแกรม โปรแกรมเหล่านี้เป็นตัวกำหนดแนวทางในการใช้ทรัพยากรระบบ เพื่อทำงานต่าง ๆ ให้แก่ผู้ใช้หลากหลายประเภท ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคล โปรแกรม หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นตัวแปรภาษาต้องใช้ทรัพยากรระบบในการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องแก่โปรแกรมเมอร์ ดังนั้น ระบบปฏิบัติการต้องควบคุมและประสานงานในการใช้ทรัพยากรระบบของผู้ใช้ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง

4. ผู้ใช้ (User) ถึงแม้ระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่ระบบคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าขาดอีกองค์ประกอบหนึ่ง ซึ่งได้แก่ องค์ประกอบทางด้านบุคลากรที่จะเป็นผู้จัดการและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น คอยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกพัฒนาขึ้น

ความหมายของระบบปฏิบัติการ Milan Milenkovic
An operating system is an organized collection of software extensions of hardware, consisting of control routines for operating a computer and for providing an environment for execution of programs.
H. M. Deitel
Operating systems are primarily resource managers; the main resource they manage is computer hardware in the form of processors, storage, input/output devices, communication devices and data. Operating systems perform many functions such as implementing the user interface, sharing hardware among users, allowing users to share data among themselves, preventing users from interfering with one another, scheduling resources among users, facilitating input/output, recovering from errors, accounting for resource usage, facilitating parallel operations, organizing data for secure and rapid access, and handling network communications.
A. Silberschatz , J. Peterson and P. Galvin
An operating system is a program that acts as an intermediary between a user of a computer and the computer hardware.
An operating system is similar to a government. The components of a computer system are its hardware, software, and data. The operating system provides the means for the proper use of these resources in the operation of the computer system. Like a government, the operating system performs no useful function by itself. It simply provides an environment within which other programs can do useful work.
William S. Davis
The operating system is a set of software routines that sits between the application program and hardware. Because the operating system serves as a hardware/software interface (Fig. 1.2 ), application programmers and users rarely communicate directly with the hardware.
ดร. ยรรยง เต็งอำนวย
กลุ่มโปรแกรมซึ่งได้รับการจัดระเบียบให้เป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่างเครื่อง และผู้ใช้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่าง ๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ให้มีประสิทธิผลที่ดี
มงคล อัศวโกวิทกรณ์
กลุ่มโปรแกรมงานที่มีความสามารถสูง เช่น ช่วยในการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบ และควบคุมจังหวะการทำงานของโปรแกรมที่กำลังรันอยู่เพื่อมิให้เกิดข้อผิดพลาดและรวมถึงควบคุม System Software
2.1 หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ 2.1.1 การติดต่อกับผู้ใช้ หรือยูเซอร์อินเทอร์เฟซ (User interface)
ผู้ใช้สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน จึงเป็นหน้าที่ของระบบปฏิบัติการในเป็นตัวกลาง และเตรียมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นจะใช้คำสั่งผ่านทาง System call เพื่อปฏิบัติสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ
ใช้สามารถติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการได้ โดยระบบปฏิบัติการจะเครื่องหมายพร้อมต์ (prompt) ออกทางจอภาพเพื่อรอรับคำสั่งจากผู้ใช้โดยตรง ตัวระบบปฏิบัติการจึงเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับฮาร์ดแวร์ของเครื่อง นอกจากนี้ผู้ใช้อาจเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานกรณีนี้ผู้ใช้ก็สามารถติดต่อกับระบบปฏิบัติการได้โดยผ่านทาง System Call
2.1.2 ควบุคมดูแลอุปกรณ์ (Control devices)
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทำงานสอดคล้องกับความต้องการ โดยไม่เกิดข้อผิดพลาด เช่นการควบคุมดิสก์ จอภาพ หรือซีดีรอม เป็นต้น ระบบปฏิบัติการจะรับคำสั่งจากผู้ใช้ และเรียกใช้ System call ขึ้นมาทำงาน ให้ได้ผลตามต้องการ
ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น การเข้าถึงข้อมูลในแฟ้มหรือติดต่อกับอุปกรณ์รับ/แสดงผลข้อมูล จึงทำให้ผู้พัฒนาโปรแกรมไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมตัวขับดิสก์เพราะระบบปฏิบัติการจัดบริการให้มีคำสั่งสำหรับติดต่อกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างง่าย ๆ เนื่องจากผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการ อาจไม่มีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในของเครื่อง
ดังนั้น ระบบปฏิบัติการจึงมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของโปรแกรม การทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปอย่างถูกต้องและสอดคล้องกัน ระบบปฏิบัติการจึงมีส่วนประกอบของหน้าที่ต่าง ๆ ที่ควบคุมอุปกรณ์แต่ละชนิดที่มีหน้าที่แตกต่างกันไป โดยผู้ใช้อาจเรียกใช้ผ่านทาง System Call หรือเขียนโปรแกรมขึ้นมาควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้น
2.1.3 จัดสรรทรัพยากร หรือรีซอร์สระบบ (Resources management)
เพราะทรัพยากรของระบบมีจำกัด และมีหลายประเภท ระบบปฏิบัติการต้องบริการให้ผู้ใช้ ได้ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างทรัพยากร ที่ระบบปฏิบัติการต้องจัดการ เช่น ซีพียู หน่วยความจำ ซีดีรอม เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
ทรัพยากรหลักที่ต้องมีการจัดสรร ได้แก่ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก อุปกรณ์รับ/แสดงผลข้อมูล และแฟ้มข้อมูล เช่น การจัดลำดับให้บริการใช้เครื่องพิมพ์การสับหลีกงานหลายงานในหน่วยความจำหลักและการจัดสรรหน่วยความจำหลักให้กับโปรแกรมทั้งหลาย ทรัพยากร คือสิ่งที่ซึ่งถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินไป
2.2 องค์ประกอบของระบบปฏิบัติการ 2.2.1 การจัดการโปรเซส (Process management)
- schtasks / services.msc
- systeminfo
2.2.2 การจัดการหน่วยความจำ (Memory management)
- taskmgr
- tasklist / taskkill
2.2.3 การจัดการไฟล์ (File management)
- dir / tree
- cd / md / rd / copy / delete / rename / move
2.2.4 การจัดการอินพุต / เอาต์พุต (I/O system management)
- devmgmt.msc
- wmic printer list brief / wmic diskdrive list brief
2.2.5 การจัดการสื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage managment)
- format / chkdsk / defrag d: (PowerShell admin)
- diskpart (list disk / list volume / select volume 1 / filesystems)
2.2.6 เน็ตเวิร์ค (Networking)
- ping / tracert / net user
- ipconfig
2.2.7 ระบบป้องกัน (Protection system)
- attrib
- netstat -na
2.2.8 ระบบตัวแปลคำสั่ง (Command-interpreter system)
- echo dir *.txt > x.bat แล้วสั่ง x.bat
- echo msgbox 5 > x.vbs แล้วสั่ง x.vbs
2.3 วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ 2.3.1 ยุคแรก (ค.ศ.1945 - 1954)
ใช้หลอดสูญญากาศ ยังไม่มี OS และใช้ CARD I/O รับ-ส่งข้อมูล
2.3.2 ยุคที่ 2 (ค.ศ.1955 - 1964)
ใช้ทรานซิสเตอร์ เป็น Mainframe เริ่มใช้ Fortran, Cobol โดยใช้ Batch processing ควบคุม
2.3.3 ยุคที่ 3 (ค.ศ.1965 - 1979)
ใช้ IC(Integrated circuit) เริ่มใช้ Basic, Pascal เริ่มใช้ Multiprogramming และ time sharing
2.3.4 ยุคที่ 4 (ค.ศ.1980 - ปัจจุบัน)
ใช้ Multi-mode และ Virtual machine เริ่มสื่อสารระหว่างเครือข่าย (Internet)
2.4 โครงสร้างระบบปฏิบัติการ 2.4.1 องค์ประกอบของระบบ หรือคอมโพแนนต์ของระบบ (System component)
ระบบแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อยต่าง ๆ เรียกว่า component เช่น input, output หรือ function ซึ่งหน้าที่ของระบบ คือ จัดการส่วนย่อยต่าง ๆ ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีงานหลาย ๆ อย่างที่ต้องจัดการ ดังนี้
2.4.1.1 การจัดการโปรเซส (Process management)
2.4.1.2 การจัดการหน่วยความจำ (Memory management)
2.4.1.3 การจัดการไฟล์ (File management)
2.4.1.4 การจัดการอินพุต / เอาต์พุต (Input/Output management)
2.4.1.5 การจัดการสื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage management)
2.4.1.6 เน็ตเวิร์ค (Networking)
2.4.1.7 ระบบป้องกัน (Protection system)
2.4.1.8 ระบบตัวแปลคำสั่ง (Interpreter system)
2.4.2 เซอร์วิสของระบบปฏิบัติการ (Operating system services)
บริการพื้นฐานที่ระบบปฏิบัติการต้องมีให้กับผู้ใช้ ที่น่าสนใจมีดังนี้
2.4.2.1 การเอ็กซิคิวต์โปรแกรม (Program execution)
2.4.2.2 การปฏิบัติกับอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output process)
2.4.2.3 การจัดการกับระบบไฟล์ (File system and management)
2.4.2.4 การติดต่อสื่อสาร (Communication)
2.4.2.5 การตรวจจับข้อผิดพลาด (Error detection)
2.4.2.6 การแชร์รีซอร์ส (Resource sharing)
2.4.2.7 การป้องกัน (Protection)
2.4.3 System calls
ทำหน้าที่ กำหนดอินเทอร์เฟสระหว่าง process กับ operating system เพื่อการควบคุม และจัดการระบบ โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม
2.4.3.1 การควบคุมโปรเซส (Process control)
2.4.3.2 การจัดการกับไฟล์ (File manager)
2.4.3.3 การจัดการดีไวซ์ (Device manager)
2.4.3.4 การบำรุงรักษาข้อมูล (Maintenance)
2.4.3.5 การติดต่อสื่อสาร (Communication)
2.5 ปฏิบัติการตรวจสอบประสิทธิภาพ - ให้นักศึกษาฝึกติดตั้ง และใช้งานระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น DOS, Windows และ Linux
- ชี้การทำงานแต่ละองค์ประกอบของระบบปฏิบัติการ
- ฝึกใช้โปรแกรมตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบปฏิบัติการ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ
- ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบปฏิบัติการ จากอินเทอร์เน็ต แล้วทำรายงาน และนำเสนอหน้าชั้น
OS ของ Smartphone

smartphone_q42015.xlsx

thaiall.com/blog/burin/7466/
ถาม - ตอบ ส่วนหนึ่งเรียบเรียงจากหนังสือของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
ถามระบบแบตซ์ (Batch system) มีการทำงานอย่างไรระหว่างกลุ่มงาน
ตอบมีการถ่ายข้อมูล จากกลุ่มงานหนึ่งไปอีกกลุ่มงานหนึ่ง โดยโปรแกรมเมอร์ต้องฝากงานไว้กับโอเปอเรเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่ส่งงานเข้าระบบ แบบ ซึ่งมีลำดับงานเป็นกลุ่มที่สัมพันธ์กัน
ถามระบบมัลติโปรแกรมมิง (Multiprogramming) มีลักษณะอย่างไร
ตอบโหลดข้อมูลเข้าหน่วยความจำ และพร้อมทำงาน หากซีพียูว่างจากงานเดิมที่ต้องไปทำงานอื่น ก็จะเข้าทำงานแทน
ถามระบบการแบ่งเวลา (Time Sharing) หรือมัลติทาร์กกิ้ง (Multitasking) มีลักษณะอย่างไร
ตอบสามารถประมวลผลหลายงาน ด้วยการสับเปลี่ยนงานไปมาอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถสังเกตุเห็น
ถามระบบทำงานทันที (Realtime System) คืออะไร
ตอบตอบสนอง (Response) จากระบบทันที ที่มีการป้อนข้อมูลเข้าไป
ถามระบบเครื่องจักรเสมือน (Virtual Machine) มีลักษณะอย่างไร
ตอบผู้ใช้รู้สึกว่ามีคอมพิวเตอร์หลายเครื่องช่วยกันทำงาน แต่ทั้งหมดอยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว
ถามระบบมัลติโปรเซสเซอร์ (Multiprocessor) มีลักษณะอย่างไร
ตอบมีคอมพิวเตอร์หลายเครื่องช่วยกันประมวลผลงานเดียว
ถามระบบประมวลผลแบบกระจาย (Distributed System) มีลักษณะอย่างไร
ตอบมีคอมพิวเตอร์หลายเครื่องช่วยกันประมวลผลหลายงานในเวลาเดียวกัน
ถามหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ มีอะไรบ้าง
ตอบ1. ติดต่อกับผู้ใช้
2. จัดสรรทรัพยากร
3. ควบคุมอุปกรณ์
ถามส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการ ถ้าแบ่งเป็น 4 ส่วน มีอะไรบ้าง
ตอบ1. การจัดการโปรเซสเซอร์
2. การจัดการหน่วยความจำ
3. การจัดการอุปกรณ์
4. การจัดการไฟล์
ถามองค์ประกอบของระบบ หรือคอมโพแนนต์ของระบบ (System component) ถ้าแบ่งเป็น 8 ส่วน มีอะไรบ้าง
ตอบ1. การจัดการโปรเซส (Process management)
2. การจัดการหน่วยความจำ (Memory management)
3. การจัดการไฟล์ (File management)
4. การจัดการอินพุต / เอาต์พุต (Input/Output management)
5. การจัดการสื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage management)
6. เน็ตเวิร์ค (Networking)
7. ระบบป้องกัน (Protection system)
8. ระบบตัวแปลคำสั่ง (Interpreter system)
แนะนำเว็บไซต์ (Website guide) http://www.microsoft.com
http://www.redhat.com
เอกสารอ้างอิง (Reference) [1] Abraham silverschatz, Peter baer galvin, "Operating system concept", John wiley & Sons, New York, 2003.
[2] Milan Milenkovic, "Operating systems: concepts and design", McGraw-Hill inc., New York, 1992.
[3] William stallings, "Operating system", Prentice hall, New York, 1999.
[4] ไพศาล โมลิสกุลมงคล และคณะ, "ระบบปฏิบัติการ", สำนักพิมพ์ดวงกมลสมัย, กรุงเทพฯ, 2545.
[5] พิเชษฐ์ ศิริรัตนไพศาลกุล, "ระบบปฏิบัติการ (Operating system)", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2546.
[6] ดร.ยรรยง เต็งอำนวย, "ระบบปฏิบัติการ (Operating system)", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2541.
[7] ประชา พฤกษ์ประเสริฐ, "ระบบปฏิบัติการ", บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด., กรุงเทพฯ, 2549.
[8] วศิน เพิ่มทรัพย์, "คู่มือ MS-DOS", พี.เอ็น.การพิมพ์, กรุงเทพฯ, 2545.
[9] ชนินทร์ เชาวมิตร, "คู่มือยูนิกซ์เดสก์ทอป", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2538.
[10] รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม, "ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems)", อาง้วนการพิมพ์, นครสวรรค์, 2555.
[11] ผศ.ดร.สุชาติ คุ้มมะณี, "พื้นฐานระบบปฏิบัติการยูนิกซ์", [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก : http://goo.gl/14xVey (วันที่ค้นข้อมูล 15 ตุลาคม 2558)
Thaiall.com