รูปแบบเว็บเพจต้นแบบ หรือ ร่างโฮมเพจ
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2565-02-07 (ปรับใช้จุฬาภรณ์ลิขิต)
การศึกษา
|
นักศึกษา
|
A-Level
|
Admission
|
GAT/PAT
|
ONET
|
9 วิชาสามัญ
|
ครูคืนถิ่น
|
มหาวิทยาลัย
|
พ.ร.บ.
|
O-NET คือ อะไร
โ
อเน็ต (O-NET : Ordinary National Education Test)
คือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่จัดสอบโดย สทศ. คือ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยคะแนนที่ได้นำไปใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมการวัดคุณภาพของโรงเรียนเปรียบเทียบกันทั้งประเทศ ด้วยมาตรฐานเดียวกัน โดยปี 2558 กำหนดสอบทั้งหมด 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ 1) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2) ภาษาไทย 3) คณิตศาสตร์ 4) อังกฤษ 5) วิทยาศาตร์
O-net มีความสำคัญ อย่างน้อย 3 ส่วน 1) ต่อนักเรียน ที่จะไปเรียนต่อ 2) ต่อโรงเรียน ที่ต้องการพัฒนานักเรียนให้มีความพร้อมที่จะไปเรียนต่อ 3) ต่อเขตพื้นที่การศึกษา ที่ใช้เป็นข้อมูลเพื่อกำกับติดตามการพัฒนาโรงเรียนแต่ละแห่งให้มีคุณภาพ
องค์ประกอบของคะแนน
ในระบบแอดมิดชั่นมี 4 ส่วน คือ 1) เกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) 2) คะแนน O-NET 3) คะแนน GAT และ 4) คะแนน PAT สัดส่วนหรือน้ำหนักในการนำคะแนนมาร่วมกัน มีเกณฑ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละหลักสูตร อาจมีสัดส่วน ดังนี้
1. GPAX 20% (6 ภาคการศึกษา)
2. O-NET 30%
3. GAT 20%
4. PAT 30%
เข้าระบบโอเน็ต ที่
niets.or.th/th/catalog/view/241
เกณฑ์ของแต่ละหลักสูตร
ว่าสอบอะไรบ้าง สัดส่วนเท่าใด มีตัวอย่าง 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1
คณะสัตวแพทยฯ , คณะสหเวชศาสตร์ , คณะพยาบาลศาสตร์
คณะสาธารณสุขฯ, คณะเทคนิคการแพทย์ , คณะวิทยาศาสตร์กีฬา
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT 2 30%
กลุ่มที่ 2
คณะทันตแพทยศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20%, PAT 1 10% และ PAT 2 20%
กลุ่มที่ 3
คณะเภสัชศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% และ PAT 2 40%
(
อ้างอิง
)
สำหรับการสอบเพื่อเข้าศึกษาใน
ปีการศึกษา 2561
ซึ่งเปลี่ยนระบบ Admission ใหม่ปีแรก
ถ้านับ GAT/PAT เป็นสัปดาห์แรกของการสอบ
สัปดาห์แรก 24 – 27 กุมภาพันธ์ 2561 สอบ GAT/PAT
สัปดาห์ที่สอง 3 – 4 มีนาคม 2561 สอบ O-NET ม.6 ปีการศึกษา 2560
สัปดาห์ที่สี่ 17 – 18 มีนาคม 2561 สอบ 9 วิชาสามัญ ปีการศึกษา 2561
O-NET มีจุดดี จุดด้อย ที่จะใช้ในแต่ละโรงเรียน
อ่
านบทความเรื่อง
"
ผุด อ่างขางโมเดล นำร่อง ร.ร.กำกับรัฐ
" ตามที่ ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กอปศ.
มีข้อความน่าสนใจ ส่วนหนึ่งว่า
ในที่ประชุมสนับสนุนให้ดำเนินการโรงเรียนในกำกับของรัฐที่มีอิสระในการบริหาร .. ซึ่งมองว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไม่ควรจะทำในรูปแบบเดียวแต่มีความหลากหลาย .. โดยนำร่องในโรงเรียนที่
ไม่มีความพร้อม มีปัญหาในเรื่องคุณภาพการศึกษาและอยู่ในพื้นที่ห่างไกล
ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มโรงเรียน 5 แห่ง ที่ตั้งอยู่บนดอยอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
.. ด้าน
นางเรียม สิงห์ทร
ครูโรงเรียนบ้านขอบด้ง (ดอยอ่างขาง) จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ได้เสนอกรอบการพัฒนา
อ่างขางโมเดล
มีอยู่ข้อหนึ่งคือ ยกเลิกการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต)
TCAS 61 ระบบรับนิสิตนักศึกษาใหม่ 2561
ภาพ Timeline จาก seniorswu.in.th
มีทั้งหมด 5 รอบให้เลือก
รอบ 1
: ยื่นพอร์ต ประกาศผลให้เสร็จในกุมภาพันธ์ 2561
รอบ 2
: โควตา ประกาศผล 8 พฤษภาคม 2561 เลือกได้ 2 สาขา
รอบ 3
: รับตรง ประกาศผล 8 มิถุนายน 2561 เลือกได้ 4 สาขา
รอบ 4
: แอดมิชชั่นกลาง ประกาศผล 13 กรกฎาคม 2561 เลือกได้ 4 สาขา
รอบ 5
: รับตรงอิสระ หรือรอบเก็บตก
#
จดหมายจากลูกถึงพ่อแม่ เล่าเรื่อง "จบ ม.ปลาย ล่ะ"
O-NET สำคัญอย่างไร? ทำไมห้ามขาดสอบ
ส
พฐ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกาศเรื่อง
นโยบายการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ถึง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต ให้ผู้เรียนชั้น ป.6 และ ม.3 ของสถานศึกษาในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ สามารถเข้ารับการทดสอบโอเน็ต (O-NET) ได้ตามความสมัครใจ โดยให้ถือเป็นสิทธิส่วนตัวโดยเฉพาะของนักเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป
สทศ.พร้อมสอบ ‘โอเน็ต-วีเน็ต’ ไม่บังคับสมัครได้ตามใจ
“ตรีนุช” เบรกเขตพื้นที่ใช้ผลสอบ O-NET จัดอันดับโรงเรียน
เด็กอยากสอบโอเน็ต แต่ครูไม่ให้สอบ
ใ
นอนาคต
เมื่อเด็ก ๆ ได้เรียนหนังสือไปถึงระดับชั้นหนึ่ง ก็จะได้รับการวัดผลจากหน่วยงานที่เข้าใจการสอบมาตรฐาน และน่าเชื่อถือระดับชาติ ว่าประสิทธิผลการเรียนของแต่ละบุคคลอยู่ในระดับใด สะท้อนถึงประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนในระดับห้องเรียน ชั้นเรียน โรงเรียน และเขตพื้นที่ได้ ดังนั้นเด็กทุกคนจะได้รับสิทธิ์การสอบ เพื่อรู้ผลสอบ เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะไม่มีคุณครูใช้สิทธิ์ห้ามเด็ก หรือสิ่งใดที่จะทำให้เด็กไม่ได้สอบอีกต่อไป แล้วการสอบประเมินสมรรถนะทางวิชาการของเด็ก ๆ จะต้องถูกจัดให้กับเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม มิใช่คนใดคนหนึ่ง ส่วนเด็กที่เรียนแล้วไม่ต้องการรู้ผลสอบ ไม่ต้องการเข้าสอบ ก็เป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่พึงมีของแต่ละคน
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ
หน้าหลัก
Thaiabc.com
Thainame.net
Lampang.net
มหาวิทยาลัยเนชั่น
HTML
PHP
MySQL
JAVA
Teach Pro.
Online quiz
Research
Flowchart
SPSS
Datastructure
Markdown
KM = Sharing
Linux
ปฏิทินวันหยุด
วิทยาการคำนวณ
เกี่ยวกับเรา
FB : Thaiall
Blog : เทคโนโลยี
สนับสนุนเรา
รับความคิดเห็น
Thaiall.com
Truehits.net