thaiall logomy background ปัจจัยที่ 5 คือ การศึกษา
my town
education

การศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญ

การศึกษาเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เพราะ การศึกษา (Education) คือ กระบวนการที่สนับสนุนการเรียนรู้ หรือการได้มาซึ่งความรู้ ทักษะ คุณค่า ความเชื่อ และนิสัย ชวนเรียนต่อมหาวิทยาลัยหลังผ่านระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน หรือการศึกษาตามอัธยาศัยมาแล้ว
การเรียนรู้เชิงรุก | การศึกษา | นักศึกษา | Admission | GAT/PAT | ONET | 9 วิชาสามัญ | ครูคืนถิ่น | สพป | สพม | มหาวิทยาลัย | ห้องเรียนในอนาคต | Utopia | หลักสูตรฐานสมรรถนะ | สมรรถนะดิจิทัล | วิทยาการคำนวณ | ศีล 5 | กยศ | มีเหตุมีผล | พ.ร.บ. | อาชีพในฝัน | wordwall | genially |
เรื่อง "หน้าที่ในการรับการศึกษาอบรม" ดังนั้น ปัจจัยที่ 5 คือ การศึกษา ของชีวิต หน้าที่พลเมือง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นบทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ เรื่อง หน้าที่ในการรับการศึกษาอบรม โดย ธนู พุ่มพวง นิติกร 3 กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย สำนักกฎหมาย จากหนังสือ หนังสือ หน้าที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หัวข้อที่ 8 จากทั้งหมด 9 ข้อ ได้พบการให้นิยามไว้ว่า
การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น มีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษา จึงเป็น ปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็น ปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิต และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน การศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็นมากขึ้น ด้วยการศึกษาที่จะช่วยให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี มีความสุข จะต้องมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เช่น ความรู้และทักษะทางด้านภาษา การคิดคำนวณ ความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพปัจจุบันมีความจำเป็นต้องสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี จึงจะเพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
2. การศึกษาทำให้คนเป็นคนฉลาด เป็นคนมีเหตุผล คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และรู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และเพื่อการงานอาชีพ
3. การศึกษาต้องสร้างนิสัยที่ดีงาม ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยเฉพาะนิสัยรักการเรียนรู้ และนิสัยอื่น ๆ เช่น ความเป็นคนซื่อสัตย์ ขยัน อดทน รับผิดชอบ เป็นต้น
4. การศึกษาต้องสร้างความงอกงามทางร่างกาย มีสุขภาพพลามัยที่ดี รู้จักรักษาตนให้แข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ และสารพิษ
5. การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวม ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นในสังคม อยู่รวมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยสร้างสังคมที่สงบเป็นสุข รักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน
6. การศึกษาต้องทำให้คนมีทักษะการงานอาชีพที่เพียงพอกับการเข้าสู่การงานอาชีพ รู้จักการประกอบอาชีพและรู้จักพัฒนาการงานอาชีพ
ลักษณะการศึกษา.....ที่จะช่วยให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี... มีความสุข
บทความการศึกษา คืออะไร
บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ เรื่อง หน้าที่ในการรับการศึกษาอบรม
หนังสือ หน้าที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1. หน้าที่รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2. หน้าที่จะใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยสุจริต
3. หน้าที่ในการป้องกันประเทศ
4. หน้าที่ในการรับราชการทหาร
5. หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
6. หน้าที่เสียภาษีอากร
7. หน้าที่ช่วยเหลือราชการ
8. หน้าที่ในการรับการศึกษาอบรม
9. หน้าที่รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
การตั้งประเทศไทย
ความหมายของการศึกษา
ารศึกษา (Education) คือ กระบวนการที่สนับสนุนการเรียนรู้ หรือการได้มาซึ่งความรู้ ทักษะ คุณค่า ความเชื่อ และนิสัย วิธีการศึกษามีทั้ง การเล่าเรื่อง การทำกลุ่มอภิปราย การสอน การอบรม และการวิจัยทางตรง การศึกษามักเป็นการชี้แนะของผู้ให้การศึกษา แล้วผู้เรียนก็ต้องศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวของเขาควบคู่พร้อมกันไป การศึกษาสามารถจัดแบ่งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่จะทำให้เกิดประสบการณ์ เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อการคิด การรู้สึก หรือพฤติกรรม จึงถือว่าเป็นการศึกษา [wiki.org]
คำถาม : เรียน เพื่อ อะไร
คำตอบ : เรียน เพื่อ รู้
คำถาม : เรียนหนังสือ เพื่อ อะไร
คำตอบ : เรียนหนังสือ เพื่อ รู้หนังสือ
คำถาม : ไปเรียนหนังสือทำไม
คำตอบ : เรื่องที่เรียนนั้นสำคัญมาก
คำถาม : เรียนเพื่ออะไร #
คำตอบ : เพื่อได้ทำงานที่ต้องการ
แผนอุดมศึกษา 2561 - 2580 #


ระบบการศึกษาไทย ะบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545 มีการจัดระบบการศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น) และ การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (3 ระดับชั้น) หรือระบบ 6-3-3
อกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดได้ 3 แบบ คือ 1) ระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน 2) การศึกษานอกระบบโรงเรียน และ 3) การศึกษาตามอัธยาศัย และ การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ 1) การศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) การศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ระบบการศึกษาไทย
ต้นทุนในรูปของค่าใช้จ่ายทางการศึกษามีหลายแบบ Thaimooc 1. มีค่าลงทะเบียนเรียน (Fee)
2. ไม่มีค่าลงทะเบียนเรียน (No fee)
3. มีทุนฟรี (Free - Scholarship)
4. มีทุนที่ต้องใช้คืน (Loan - Scholarship)
5. มีทุนเรียนรวมที่พักและอาหาร (Free plus living expenses)
(ThaiMOOC เตือน - แบบที่ 6. ห้าม! จ้างวานคนอื่นมาเรียนแทน)
แนวทางฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย (Learning Recovery) แนวทางฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย เรียบเรียงโดย นฤมล ทับปาน ใน thepotential.org
บทความนี้ถอดความจากการปาฐกถาหัวข้อ ‘2 ปี ผลกระทบโควิด-19 : จากวิกฤตการเรียนรู้ถดถอยสู่โอกาสปฏิรูปการศึกษาเพื่อเด็กทุกคน’ โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ในเวทีการประชุมวิชาการ ‘นวัตกรรมและแนวทางฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย เพื่อรับมือเปิดเทอมใหม่ กับภารกิจ Learning Recovery’ จัดโดย กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา, องค์การ ยูนิเซฟ ประเทศไทย และเครือข่ายโรงเรียนเปลี่ยนใหม่ โดยโครงการโรงเรียนพัฒนาคุณภาพตนเอง (TSQP)
วงจรระหว่าง Working Memory กับ Long-Term Memory - ต้องเป็นวงจรที่กลับไปกลับมาหลายครั้งซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือที่เรียกว่า VASK : V คือ Value หรือค่านิยม , A คือ Attitude หรือเจตคติในทางที่ดี, S คือ Skills ทักษะในด้านต่าง ๆ เช่น ทักษะทางด้านร่างกาย ทักษะทางด้านการคิด ทักษะทางด้านวิชาชีพ หรือทักษะในศตวรรษที่ 21 , K คือ Knowledge หรือความรู้
Learning Loss หรือการเรียนรู้ถดถอย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามปกติในห้องเรียนคุณภาพต่ำ ซึ่งเป็นห้องเรียนที่ครูไม่ได้คำนึงว่านักเรียนแตกต่างกันและไม่ได้หาทางช่วยนักเรียนที่มี Working Memory ต่ำ
สาเหตุสำคัญของการเรียนรู้ถดถอย เป็นเพราะวิธีการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน หลงอยู่กับ การให้เด็กเรียนรู้แบบผิวเผิน ‘Superficial Learning’ ไปไม่ถึง ‘Transfer Learning’ การเรียนรู้ที่สามารถเอาไปใช้ได้ในทุก ๆ สถานการณ์
วิธีการจัดการเรียนรู้ที่ดี ครูจะต้องให้เด็กเรียนรู้จากผิวเผิน Superficial ไปสู่ลึก Deep Learning แล้วก็ไปสู่การเรียนรู้ที่สามารถเอาไปใช้ได้ในทุก ๆ สถานการณ์ ที่เรียกว่า Transfer Learning
หมายความว่าการมาเรียนต้องไม่หยุดอยู่แค่ Sensory Memory ก็คือเด็กได้เห็น ได้ฟัง ได้อ่าน แล้วนำมาสู่ Working Memory แล้วก็เข้าสู่ Long-Term Memory ถ้าเป็นแบบผิว ๆ อย่างนั้นเด็กก็จะเรียนได้แค่ผิว ก็จำได้ สอบผ่านได้ แต่ว่าไม่เกิดประโยชน์ต่อชีวิตเขาอย่างแท้จริง
คู่มือข้อมูลระบบการศึกษาการพัฒนาครูและการพัฒนาโรงเรียน คู่มือข้อมูลระบบการศึกษาการพัฒนาครูและการพัฒนาโรงเรียน คู่มือข้อมูลระบบการศึกษาการพัฒนาครูและการพัฒนาโรงเรียน จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2565 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 มี คำนำ ดังนี้ เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลดังต่อไปนี้ 1) ข้อมูลระบบการศึกษา ประกอบด้วย ข้อมูลที่เป็นนโยบายและการบริหาร การพัฒนาหลักสูตร และการจัดการศึกษา 2) ข้อมูลการพัฒนาครู ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนา ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงแนวทางการ Up skill - Re skill ตลอดจนการสร้าง New skill และ 3) ข้อมูลการพัฒนาโรงเรียน ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐาน ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา และแนวทางการพัฒนาโรงเรียน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรและหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่าย ทั้งนี้ ขอขอบคุณสำนักทุกสำนัก และหน่วยงานเทียบเท่าสำนัก ที่ร่วมให้ข้อมูลอย่างละเอียดครบถ้วน ทำให้มีข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
มื่ออ่านเนื้อหาแล้ว พบหัวข้อน่าสนใจ เช่น หน้า 9 "กิจกรรมลูกเสือ มีแนวทางการดำเนินงานพัฒนา ปรับปรุง อย่างไร" พบ แนวทางการพัฒนาปรับปรุง มี 3 ข้อ
1. ร่วมกับสำนักงานลูกเสือแห่งชาติปรับปรุงหลักสูตรลูกเสือให้ทันสมัย เหมาะกับบริบทของสังคมปัจจุบัน นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในอนาคต
2. พัฒนาโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ เพื่อขับเคลื่อนผู้เรียนสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21
3. การขับเคลื่อนงานลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในสถานศึกษา
อ่านเพิ่มเติม
หลักสูตรฐานสมรรถนะ หลักสูตรฐานสมรรถนะ ลักสูตรฐานสมรรถนะ คือ หลักสูตรที่ถูกปรับและเสนอใหม่ เคยเป็นหลักสูตรที่ถูกเสนอและจะเริ่มทดลองใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 นั้น เป็นหลักสูตรที่ต้องการพัฒนาสมรรถนะ หรือความสามารถของผู้เรียน หรือกล่าวได้ว่า เพื่อให้ผู้เรียนมี 6 ความสามารถหลัก ที่จำเป็น ดังนี้ 1. สามารถ จัดการตนเองอย่างมีสุขภาวะ 2. สามารถ คิดขั้นสูงและการเรียนรู้ 3. สามารถ สื่อสารด้วยภาษา 4. สามารถ จัดการและทำงานเป็นทีม 5. สามารถ เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง 6. สามารถ อยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน ส่วน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่เป็นหลักสูตรประถมศึกษานั้น ไม่ได้กำหนดความสามารถหลัก 6 ด้าน แบบนี้ แต่กำหนดเป็นตัวชี้วัดจำแนกตามสาระการเรียนรู้ไว้ 8 กลุ่ม ดังนี้ 1. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 6. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 7. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 8. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และโรงเรียนสามารถปรับให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
2565-05-07 : “นายกฯ” เบรกใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ “วิษณุ” ชี้หวั่นกระทบครู-นร.-ผู้ปกครอง
ฐานพัฒนาสมรรถนะ กรณี โรงเรียนผู้สูงอายุทุ่งกว๋าว 6กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะนักเรียนผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2565 ที่ #โรงเรียนผู้สูงอายุทุ่งกว๋าว
1. การตรวจหาเชื้อไวรัสด้วยชุด ATK (เทคนิคการแพทย์)
2. การล้างมืออย่างไรให้ปลอดภัย (พยาบาลศาสตร์)
3. การเดินทางโดยเครื่องบิน (สาขาธุรกิจการบินฯ)
4. ตรวจสุขภาพฟันและแนะนำการดูแลช่องปาก (ทันตแพทยศาสตร์)
5. การยืดเหยียดสำหรับผู้สูงอายุ (สาธารณสุขศาสตร์)
6. เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อส่งเสริมการขายสินค้า (นิเทศศาสตร์ + MBA)
เพิ่มเติม ฐานกิจกรรมวาดภาพระบายสี (ศิลปศาสตร์ฯ)
ดูแลพิธีการโดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ (บริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์)
และเป็น โครงการ ดูแล ส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ โดยหมอมือใหม่ จิตอาสา มหาวิทยาลัยเนชั่นบูรณาการวิชาการเพื่อบริการแก่สังคมในสถานการณ์โควิด (Covid 19) โดย สโมสรนิสิตมหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับ คณะกรรมการนิสิต 5 คณะวิชา ซึ่งพบการเล่าเรื่องแบบ Story telling ในสื่อสังคมของมหาวิทยาลัยเนชั่น
ก้าวของมหาวิทยาลัยไทย ฝ่าวิกฤตโควิด-19 โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
ายการคิดยกกำลังสอง นำเสนอทัศนะของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เรื่องการปรับตัวของมหาวิทยาลัย จากผลกระทบจากโควิด-19 พบว่า หลายแห่งเริ่มปรับตัว หลายแห่งปรับตัวได้ดี สิ่งท้าทายของอาจารย์ ไม่ใช่พูดกับกล้องเท่านั้น แต่ต้องรักษาปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษา
1. ปฏิสัมพันธ์ .. สำคัญสุด
2. เตรียมตัวก่อน .. เตรียมสอนผ่านสื่อ
3. ติดตามเช็คความเข้าใจ .. ให้คำปรึกษา
4. สร้างชุมชนการเรียนรู้ .. สู่การเรียนใหม่
ต่อไปจะก้าวสู่ห้องเรียนกลับทาง คือ การเรียนรู้แบบใหม่ ที่เรียนรู้ได้มากกว่าการเรียนรู้แบบเดิม ไม่ต้องยึดโยงกับปฏิสัมพันธ์ในระบบที่ฉุดรั้งคนไว้ แต่มีอิสระอย่างมากที่จะมุ่งมั่นเรียนรู้ให้สำเร็จตามเป้าหมาย
ผลิตบัณฑิตมีคุณภาพน้อย ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ สะท้อนปัญหาคุณภาพเด็ก ใน Blog ของท่านที่ใช้ระบบ Wordpress อ่านแล้วมีปัญหาหลายข้อที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็ก ในความคิดของผม ผมคิดว่าปัญหามีข้อแรกข้อเดียวนี่หละที่ชัดเจน "1) นักศึกษารุ่นใหม่จำนวนมากมีทัศนคติต่อการศึกษาที่ไม่ดี" ถ้าเด็กมุ่งมั่นจริง เอาจริงเอาจังที่จะเรียนรู้ (Learning) ไป MOOC (Massive Open Online Courses) เค้ารองรับได้หมด ไป Stackoverflow (Developer Community) ก็จะพบคุณครูมากมายรอให้ความช่วยเหลือ บางคนไม่เข้าระบบการศึกษา แต่มีมุ่งมั่นก็ประสบความสำเร็จ มีมากมาย อาทิ Edward Snowden , Mark Zuckerberg , Bill Gate , Jack Ma ส่วนประเด็นอื่นที่ ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ฝากไว้ว่าเป็นสาเหตุที่กระทบคุณภาพเด็ก ได้แก่ 2) กฎเกณฑ์ของ อว. 3) เน้นแต่รายได้ให้เลี้ยงตนเอง 4) เน้นจำนวนให้ตนรอดมากกว่าคุณภาพ 5) อาจารย์ขาดไฟเรียนรู้ 6) ไม่ร่วมมือกับเอกชน 7) ชนชั้นกลางฐานะดีขึ้นจึงสู้น้อยลง 8) ลงทุนวิจัยมีงบน้อย

การศึกษาไทยในปัจจุบัน มีแนวโน้มทั้งด้านบวก และด้านลบ
สรุปแนวโน้มด้านบวก 5 ข้อ
1. หลักสูตรใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก
2. หลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มมากขึ้น
3. การจัดการศึกษามีความเป็นสากลมากขึ้น
4. ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาลดลง
5. โอกาสรับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
สรุปแนวโน้มด้านลบ 5 ข้อ
1. การเพิ่มช่องว่างด้านคุณภาพในการจัดการศึกษา
2. การผลิตบัณฑิตเกินความต้องการของตลาด
3. การสอนทักษะการคิดและทักษะทางอารมณ์ยังไม่มีคุณภาพ
4. การสอนคุณธรรมจริยธรรมยังไม่มีคุณภาพ
5. การสอนภาษาต่างประเทศยังไม่มีคุณภาพ

ประหยัด พิมพา. (2561).  การศึกษาไทยในปัจจุบัน.  วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 7(1), 242-249.

มี FIT แล้วจะเรียน MOOC สำเร็จ
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี
mooc.chula.ac.th
ยอด เรียนจบ ถึง 26%
ผมเป็น 1 ในคนกลุ่มน้อย
ปัจจัยที่ทำให้เรียน MOOC สำเร็จ
ต้องมี FIT ถึงจะเรียน MOOC สำเร็จ
1. มีความชอบ (Favor)
2. มีอินเทอร์เน็ต (Internet)
3. มีเวลาเรียน (Time)
แนะนำวิชา มหากาพย์ อังกฤษ อัพเกรด ไวยากรณ์พร้อมรบ
โดย อ.มณฑิรา ดำรงมณี (ครูปุยฝ้าย) (ตัวอย่าง 16 นาที มี 10 ตอน)
link เมื่อเข้าชั้นเรียนนี้
กลุ่มใน facebook.com เพื่อพูดคุยกัน
แนะนำวิชา การสร้าง Infographics : What & How ? โดย นิเทศฯ จุฬา
อว. จับมือ สอศ. ร่วมกันพัฒนา MOOC
อว.จับมือ สอศ. พัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษาและพัฒนากำลังคนด้านอาชีพผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thai MOOC เมื่อ 6 มกราคม 2565 ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (สอศ.) เพื่อใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการเรียนการสอนออนไลน์ ในการพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษาผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thai MOOC โดย อว. และ สอศ. จะร่วมมือกันในการนำสื่อการเรียนรู้อาชีวศึกษาที่มีอยู่จำนวนมากมาพัฒนาต่อยอดเป็นรายวิชาออนไลน์ให้บริการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต Thai MOOC และร่วมกันพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาและวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศในการออกแบบและจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาฐานวิถีใหม่ (New normal) งานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว. (ถนนโยธี)
#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม #MHESI
เส้นทางการศึกษาของเด็กไทย เลิกเรียนโดยฉับพลัน ไม่ใช่เด็กไทยทุกคน ที่เลือกเรียนเพื่อให้สำเร็จ แต่เลิกเรียนเพื่อสำเร็จ โดยฉับพลัน เกินครึ่งหนึ่ง [1]
พบเส้นทางการศึกษาของเด็กไทย ปัจจุบันมีเด็กเกิดเฉลี่ยปีละ 8 แสนคน หากมองว่าเด็กทั้งหมดมี 10 คน เพื่อให้ง่ายในการเปรียบเทียบ พบว่า เด็ก 6 คน เข้าสู่ตลาดแรงงานเพียงชั้น ม.6 หรือ ปวช. เด็ก 4 คน เข้าสู่รั้วอุดมศึกษา แต่มี 1 คนเท่านั้น ที่จบแล้วมีงานทำในปีแรก แต่กลุ่มเด็ก 6 คน ที่เลิกเรียนแล้วเข้าสู่ตลาดแรงงาน มี 25% ที่ทำงานก่อนจบ ม.6 หรือ ปวช. มีอาชีพ อาทิ 1) การเกษตร ป่าไม้ ประมง (41%) 2) งานพื้นฐานเช่น แผงลอย ทำความสะอาด ซักรีด ส่งของ เป็นต้น (17%) 3) พนักงานบริการ/ขาย/เสมียน (15%) 4) วิชาชีพ ข้าราชการ ช่างฝีมือ/เทคนิค (14%) 5) ควบคุมเครื่องจักร (7%)
พบคำถามสำคัญ ในบทความนี้ว่า "ระบบการศึกษาพื้นฐานได้จับเด็กเยาวชนเข้ามาอยู่ในโรงเรียนยาวนาน 12-15 ปี แต่เด็กทุกรุ่นเมื่ออายุ 18 ปี กลับพบว่ามีจำนวนมากถึง 6 ใน 10 คน ออกจากระบบการศึกษา และเมื่อออกจากรั้วโรงเรียนก็จะต้องกลายเป็น ผู้ใหญ่ โดยฉับพลัน ทำให้พวกเขาต้องผจญชีวิตจริง ต้องพึ่งตนเอง ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว และที่สำคัญคือ ต้องมีงานทำ คำถามตัวโตคือในช่วงเวลา 12-15 ปีนั้น โรงเรียนได้เตรียมให้เด็กพร้อมกับการผจญชีวิตจริงเพียงไร ?"
[1] odos.moe.go.th

มอง Start up และมอง Richest

ข้อมูลอันดับปี 2011
Start up Links
Startupthailand.org
AIS Startup
7 ข้อเสนอ ถึงรัฐบาล
แหล่งเงินทุนธุรกิจ Start up
ผลสำรวจ Start up ปี 60
กองทุน 500 tuktuks
10 อันดับเศรษฐีโลก ปี 2561
1. เจฟฟ์ เบซอส - Amazon
2. บิลล์เกตส์ - Microsoft
3. วอร์เรน บัฟเฟตต์ - นักลงทุนอเมริกา
4. เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ - LVMS แฟชั่น
5. มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก - Facebook
6. อามันซีโอ ออร์เตกา - เสื้อผ้ายี่ห้อ ซาร่า
7. คาร์ลอส สลิม - โทรคมนาคม เม็กซิโก
8. ชาร์ลส์ คอช - Koch Industries
9. เดวิด คอช - Koch Industries
10. แลรี เอลลิสัน - Oracle
ถ้ามีเงินก้อน แล้วไงต่อ
1. บ้างก็ว่า ถ้ารวย ๆ จะลาออกงาน เกษียณตนเอง ไปหาซื้อกระท่อมปลายนา อยู่คนเดียว สงบ อิสระ สบายใจ
2. บ้างก็ว่า ถ้ารวย ๆ จะเปลี่ยนงาน หางานที่ชอบที่ชอบ งานไหนไม่ชอบก็ไม่ทำ ทำแต่ที่ชอบที่ชอบ ขายเตี๋ยว ขายเบอเกอรี่ ขายกาแฟ ไรเงี้ย
3. บ้างก็ว่า ถ้ารวย ๆ จะทำงาน อยู่กับงานไปจนตาย ตายไปกับงาน เพราะงานคือชีวิต
4. บ้างก็สวิง .. ตอบแต่ละวันไม่ซ้ำกันก็มี
Startup # สคูล ไบร์ท - ระบบบริหาร รร. ลดภาระ-คืนครูให้นักเรียน สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย (FIT) เปิดเวทีให้คนรุ่นใหม่และสตาร์ทอัพภายใต้โครงการ "GovTech Mission-One Nation, One Mission ยกระดับประเทศไทย" เฟส 2 เพื่อค้นหา 8 ทีมสุดยอดสตาร์ทอัพจาก 100 ทีม ทั้งด้านการศึกษา (EdTech) และสาธารณสุข (HealthTech) เพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เชื่อโยงภาครัฐสู่การพัฒนายกระดับประเทศไทย
Chula MOOC : a day

+ mooc.chula.ac.th
Chula เปิดบริการ MOOC
ให้คนไทยเข้ามาเรียนได้ฟรี ตามความสนใจ
มีประเด็นมากมายในคลิ๊ป
อาทิ "Personalized Education"
"Massive Online Open Courseware"
"ก็เป็นเรื่องที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาคน"
"เราไม่ได้ปลูกฝังให้เขาคิดและรู้จักตัวเองมา"
"เขาถูกเฟรมให้เป็นไปตามอย่างที่ระบบของเรากำหนดไว้"
"เด็กไทยเป็นเด็กที่ค่อนข้างอิ่ม ไม่หิวในวิชาความรู้"
"รู้เท่าทันในสิ่งที่มันเกิดขึ้น หรือกำลังจะเกิดขึ้นข้างนอก"
"เทคโนโลยี ถ้าเรารู้จักใช้ประโยชน์ มันก่อเกิดพลังอย่างอื่นอีกเยอะ ที่เราจะไปต่อ"
โรงเรียนไทย .. เลือกได้
"ชื่นชมครับ" ว่า โรงเรียนทั้งประเทศ ไม่ต้องเป็นแบบเดียวกัน ถนัดแบบไหนก็เลือกเด่นด้านนั้นไป เมืองไทยมีโรงเรียนอะไรบ้าง
1. ร.ร.ต้นแบบ
2. ร.ร.แกนนำ
3. ร.ร.นำร่อง
4. ร.ร.ตัวอย่าง
5. ร.ร.สาธิต
6. ร.ร.สีขาว
7. ร.ร.น่าอยู่น่ามอง
8. ร.ร.สวนพฤกษศาสตร์
9. ร.ร.มาตรฐาน
10. ร.ร.มาตรฐานสากล
11. ร.ร.สองภาษา
12. ร.ร.ในฝัน
13. ร.ร.ดีประจำตำบล
14. ร.ร.ดีศรีตำบล
15. ร.ร.ดีใกล้บ้าน
16. ร.ร.ส้วมสุขสันต์
17. ร.ร.ส่งเสริมสุขภาพ
18. ร.ร.ส่งเสริมประชาธิปไตย
19. ร.ร.วิธีพุทธ
20. ร.ร.วิธีพุทธชั้นนำ
21. ร.ร.เศรษฐกิจพอเพียง
22. ร.ร.พระราชทาน
23. ร.ร.กินนอน
24. ร.ร.ศึกษาสงเคราะห์
25. ร.ร.ราชประชานุเคราะห์
26. ร.ร.การศึกษาพิเศษ
27. ร.ร.ห้องสมุดมีชีวิต
28. ร.ร.เครือข่าย
29. ร.ร.ชายขอบ
30. ร.ร.ชายแดน
31. ร.ร.กันดาร
32. ร.ร.ดีบนดอย
33. ร.ร.หลังเขา
34. ร.ร.บนเกาะ
35. ร.ร.โรงพักจำลอง
36. ร.ร.รวมศูนย์
37. ร.ร.เรียนร่วม
38. ร.ร.สุจริต
39. ร.ร. BBL
40. ร.ร. DL TV
41. ร.ร. DL IT
42. ร.ร. STEM
43. ร.ร.ประชารัฐ
44. ร.ร.สุขบัญญัติ
45. ร ร.สีเขียว
46. ร.ร.ปลอดขยะ
47. ร.ร.รีสอร์ท
48. ร.ร.DARE
49. ร.ร.กลางน้ำ
50. ร.ร.TO BE NUMBER ONE
51. ร.ร.ส่งเสริมสหกรณ์
52. ร.ร. อย.น้อย
53. ร.ร.บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
54. ร.ร.ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
55. ร.ร.กองทุนการศึกษา
56. ร.ร.ไทยรัฐวิทยา
57. ร.ร. ต.ช.ด.
58. ร.ร.มิตรภาพ
59. ร.ร. Stand Alone
60. ร.ร.แม่เหล็ก
61. ร.ร.ภูเขาสูง
62. ร.ร.คู่ขนาน
63. ร.ร.สาขา
64. ร.ร.ประชารัฐ ดีใกล้บ้าน
65. ร.ร.คุณธรรม
66. ร.ร. ICU
67. ร.ร.ธรรมชาติ
68. ร.ร.ชาวนา
69. ร.ร.ผู้สูงอายุ
ฯลฯ
ประเด็นให้ชวนคิด
[1] การเดินทางที่สั้นที่สุด
คือ การเดินทางเป็นเส้นตรง หากเดินทางเป็นเส้นโค้ง ก็จะใช้เวลา ใช้ทรัพยากร และอาจหลุดเป้าหมายที่วางไว้ แต่ต้น
[2] เมื่อผมชวนคิดว่า
เป็นสิทธิ์ที่โรงเรียนเลือกได้ ผมบอกว่าเป็น การชื่นชม แต่อาจมองเป็นปัญหาได้ เพราะเลือกแตกต่างกันเมื่อไร ปัญหามาทันที
[3] หัวหน้าบอกว่า
"หรือ เรียนแต่ละแบบ แล้วมุ่งเป้าสู่ ป.ตรี ในหลักสูตรที่มีเกณฑ์มาตรฐานเดียว ขอโทษ [ก็จะเหมือน .. ส่งเสริมการแยกขยะ แต่ตอนเก็บ .. กลับเอามารวมกัน] ! มิได้ว่าเด็กเป็นขยะ หรือ รร.เป็นถังขยะนะครับ .. ขออภัย และเพื่อทำความเข้าใจให้ต่อเนื่อง น่ะครับ"
ความสำเร็จที่แท้จริง
คลิ๊ปเล่าเรื่องให้นักเรียนฟัง เรื่อง การเดินทางสู่ความสำเร็จ ที่แท้จริง
Written & Performed
by Jay Shetty
ในนาทีที่ 3:20 จนจบ พบข้อความสำคัญ
"This is the most important thing,
I want you to be able to create meaningful,
purposeful fullfilling lives for yourselves
and learn how to use that to make
an impact and a difference in the lives of others.
That will be true success.
"ความสำเร็จที่แท้จริง คือ
"สามารถสร้างชีวิต ให้มีความหมาย
และมุ่งสู่เป้าหมายของตนเอง อย่างมุ่งมั่น
และเรียนรู้ที่จะใช้สิ่งที่มีในตัวเรา
ช่วยเหลือผู้อื่นให้มีชีวิตที่ต่างไปจากเดิม"
เรียน เพื่อ อะไร
คำถาม : เรียนเพื่ออะไร
คำตอบ : เพื่อพัฒนาคนให้มีความรู้ ความสามารถ
หรือจะถามว่า การจัดการศึกษาที่ดี ให้ผู้รับการศึกษาได้รับอะไร
การปฏิรูปการศึกษาเป็นเพียงวิธีการ เป้าหมาย คือ การจัดการศึกษาที่ดี ให้ผู้รับการศึกษาได้พัฒนาทักษะทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นคนมีทั้งมีความรู้ที่ใช้งานได้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง มีความสามารถในการนำความรู้ที่ได้เรียนมาแก้ไขปัญหาและพัฒนาทั้งชีวิตตนเอง ชุมชน และสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเสมอภาค สร้างสรรค์ เป็นพลเมืองที่มีความฉลาดรอบด้านและมีวินัยความรับผิดชอบ รู้จักการใช้ชีวิตและทำงานร่วมกันกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในสังคม มีความสุข มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ระดับสูง สามารถพัฒนาอุปนิสัยใจคอ ความคิดความอ่าน พฤติกรรมไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เพิ่มขึ้น
การจัดการศึกษาที่ดี ให้ผู้รับการศึกษาได้รับอะไร
การปฏิรูปการศึกษาเป็นเพียงวิธีการ เป้าหมาย
คือ การจัดการศึกษาที่ดี ให้ผู้รับการศึกษาได้พัฒนาทักษะทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นคนมีทั้งมีความรู้ที่ใช้งานได้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง มีความสามารถในการนำความรู้ที่ได้เรียนมาแก้ไขปัญหาและพัฒนาทั้งชีวิตตนเอง ชุมชน และสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเสมอภาค สร้างสรรค์ เป็นพลเมืองที่มีความฉลาดรอบด้านและมีวินัยความรับผิดชอบ รู้จักการใช้ชีวิตและทำงานร่วมกันกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในสังคม มีความสุข มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ระดับสูง สามารถพัฒนาอุปนิสัยใจคอ ความคิดความอ่าน พฤติกรรมไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เพิ่มขึ้น
+ บทที่ 6 เป้าหมายและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล:รายงานสภาวะการศึกษาฯปี 52-53
เป้าหมาย (goal) เรียน (study) เพื่อ (for) อะไร (what)
เป้าหมาย (Goal) เป็น สิ่งที่มีค่าที่เราต้องการ จึงทำให้เรามีความพยายามที่จะทำเพื่อได้รับสิ่งนั้น การได้รับก็ถือว่าบรรลุผลสำเร็จ นักศึกษาที่มีระบบการศึกษาดีจะเป็นผู้ที่มีเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายในการเรียน รู้เหตุผลว่าทำไมต้องศึกษา ทำไมจึงสมัครเรียนเป็นนักศึกษา อะไรคือสิ่งที่นักศึกษาต้องการ ศึกษาเล่าเรียนเพื่ออะไร
เช่น #
- เพื่อให้ได้ปริญญาเป็นที่ยอมรับของครอบครัวและสังคม
- เพื่อจะได้ทำงานที่ต้องการ
- เพื่อต้องมีวุฒิเพิ่มขึ้น
- เพื่อพัฒนาความรู้ใหม่
- เพื่อต้องการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
ประเภทของการวางเป้าหมาย
ในแต่ละช่วงชีวิตของคนเราควรจะต้องมีการตั้งเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน การวาง เป้าหมายอาจแบ่งออกได้ตามระยะเวลาที่กำหนดเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. เป้าหมายระยะสั้นที่สุด (Micro goals)
เป็นการกำหนดเป้าหมายในช่วงเวลา 15 นาทีจนถึง 60 นาที เป้าหมายนี้เราสามารถทำได้ตามที่กำหนดและควบคุมให้เป็นไปได้มากที่สุด หากทำไม่ได้ก็เป็นความล้มเหลวที่จะมีผลต่อเป้าหมายในระยะอื่น ๆ ด้วย เช่น ท่อง ค่านิยม 12 ประการ ให้ได้ใน 1 ชั่วโมง
2. เป้าหมายระยะสั้นมาก (Mini goals)
เป็นการวางเป้าหมายในช่วง 1 วันจนถึง 1 เดือน ว่าจะทำอะไรให้เสร็จ เช่น อ่านเอกสารการสอนชุดวิชาไทยศึกษา และทำบันทึกย่อได้ครบ 5 หน่วยในเดือนนี้
3. เป้าหมายระยะสั้น (Short range goals)
เป็นการวางเป้าหมายตั้งแต่ 1 เดือน 1 ภาคการศึกษา จนถึง 1 ปี ว่าในเวลาที่กำหนด เราจะต้องทำสิ่งใดให้สำเร็จ เช่น สอบผ่านทั้ง 3 ชุดวิชาในภาคเรียนนี้ หรือ นำเสนอหัวข้อโครงงานให้ผ่านก่อนสิ้นปีการศึกษา
4. เป้าหมายระยะกลาง (Medium range goals)
เป็นการวางเป้าหมายในช่วงระยะเวลา 4 - 6 ปีข้างหน้า ว่าในอนาคตของเราจะต้องการอะไรมีสิ่งใดที่จะต้องทำให้ได้ในช่วงเวลา 4 ปี เช่น ตัวอย่างนักศึกษาอาจจะกำหนดเป็นเป้าหมายไว้ว่า สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร พร้อมเพื่อนรุ่นเดียวกัน
5. เป้าหมายระยะยาว (Long-range goals)
เป็นการกำหนดวางเป้าหมายของชีวิต อาจใช้เวลาตั้งแต่ 10 ปี หรือมากกว่า ให้นักศึกษาคิดว่าอะไร คือ จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต เป็นสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดในชีวิต มีอะไรเป็นอุดมคติของชีวิต หาคำตอบของชีวิตให้ได้ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร
เช่น
- แสวงหาความสุขสบายในชีวิต
- การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
- การทำหน้าที่ งานเพื่องาน
- การมีปัญญาความรู้
- แสวงหาความสงบ หลุดพ้นจากทุกข์
- การอุทิศตนให้เป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติ
- ฯลฯ
บทความแนะแนวการศึกษา ใน สำนักบริการการศึกษา ฝ่ายแนะแนวการศึกษา มสธ.
ประชุมคณะทำงานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง 9 ส.ค.62 มีการประชุมคณะทำงานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง ที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง โดยคณะทำงานวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ได้รับการประกาศแต่งตั้งโดยนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และประธานกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง เมื่อ 18 กรกฎาคม 2562
ซึ่งกรรมการชุดที่แต่งตั้งนี้มีทั้งสิ้น 36 คน มีหน้าที่ 5 ข้อ ดังนี้ 1) รวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดฐานข้อมูล การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ การวางแผนจัดทำงบประมาณ และการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ 2) กำหนดกรอบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง 3) ประสานงานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน นำเสนอความสัมพันธ์ของชุดข้อมูล และปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา ในประเด็นยุทศศาสตร์ที่น่าสนใจ ปัจจัยความสำเร็จ ตัวชี้วัด เพื่อกำหนดข้อมูลสารสนเทศ และ สร้างความเข้าใจแนวทางการกำหนดฐานข้อมูล การออกแบบระบบ และการใช้งานระบบร่วมกัน 4) ดำเนินการเผยแพร่ โดยใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจถึงทิศทาง และแนวโน้มในการพัฒนาการศึกษาจังหวัดลำปาง 5) ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ส่วนคณะทำงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ประกาศแต่งตั้งพร้อมชุดข้างต้น ซึ่งกรรมการชุดที่แต่งตั้งนี้มีทั้งสิ้น 27 คน มีหน้าที่ 5 ข้อ ดังนี้ 1) จัดเก็บ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา ให้ครบทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับพื้นที่ 2) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของจังหวัดที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และสามารถให้บริการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ทดลองและทดสอบระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งการให้คำแนะนำ การแก้ไขปัญหา การใช้งานระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ 4) รายงานผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาประจำปี ให้คณะกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปางทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ซึ่งประธานคณะทำงานทั้งสองชุด ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม คือ นายบรรพ์ ใสแจ่ม ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง ได้แจ้งเรื่อง ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา พ.ศ.2560 และมีเรื่องเสนอพิจารณา 3 เรื่อง คือ 1) กำหนดกรอบฐานข้อมูลสารสนเทศ 2) การประสานงานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และ 3) แนวทางการกำหนดฐานข้อมูล นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง คณะทำงาน/เลขานุการ และผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน ได้บรรยายตามสไลด์เรื่อง Big Data ของกระทรวงศึกษาธิการ
และนำเสนอ "สารสนเทศทางการศึกษา"
และบรรยายเรื่อง "10 อาชีพในอนาคต ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จอย่างสูงในไทย"
ระหว่างประชุมนั้น นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง ทำหน้าที่เลขาฯ
- ได้เชิญกรรมการทุกท่านเข้ากลุ่มไลน์ เพื่อใช้สื่อสารกัน
- ได้สอบถามข้อมูลจากแต่ละสถานศึกษา
ว่าที่มีให้ และที่ต้องการ เพื่อเป็นข้อมูลไปประกอบการพัฒนาระบบ ซึ่งสถาบันในระดับอุดมศึกษา ตัวแทนได้เสนอใช้ข้อมูลไปในทางเดียวกัน ว่าเตรียมข้อมูลให้ได้ ตามที่เคยส่งให้กับสกอ. เป็นประจำทุกปี ที่ http://www.data3.mhesi.go.th/dataS/
ส่วนผมเสนอแนะในเบื้องต้น ตามประเด็น ".. ปัจจัยความสำเร็จ ตัวชี้วัด เพื่อกำหนดข้อมูลสารสนเทศ .."
1. ให้สามารถสืบค้นข้อมูลตาม keyword จากระบบได้ เช่น เกาะคา ทุนการศึกษา ผลสอบ หรือ รางวัลพระราชทาน
2. ให้มี Top 10 หรือ Ranking จากข้อมูลที่มีอยู่ ก็จะเป็นข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้
3. ให้มีความเด่นเชิงสรุป เช่น โรงเรียนใดเด่นด้านใด หรือได้รางวัลอะไร หรืออยู่ระดับใด ซึ่ง นายบรรพ์ ใสแจ่ม ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง ได้เล่าความเด่นของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารี หากมีข้อมูลแบบนี้ในเว็บไซต์ก็จะมีผู้ปกครองเข้ามาใช้ข้อมูลกันมาก
4. ให้สามารถค้นโรงเรียนใกล้เคียงเพื่อตัดสินใจศึกษาต่อ ซึ่ง นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง นำเสนอระบบ ว่าปัจจุบันสามารถแสดงผ่านระบบ GIS/Google Map ได้ดี
ข้อมูลจากโฮมเพจ "สารสนเทศทางการศึกษา" ที่พัฒนาไปแล้วระดับหนึ่ง นำเสนอข้อมูลลึกลงไปถึงข้อมูลส่วนบุคคล หากผู้ใช้มีรหัสเข้าระบบตามสิทธิ ก็จะทราบได้ว่านักเรียนแต่ละคนมีข้อมูลอย่างไร ซึ่งเก็บไว้ถึง 40 กว่าเขตข้อมูลสำหรับนักเรียนแต่ละคน
เมนูประกอบด้วย
- สารสนเทศทางการศึกษา 2561
- สภาพทั่วไปของจังหวัดลำปาง
- ข้อมูลและสถิติพื้นฐานด้านการศึกษา
- สารสนเทศภูมิศาสตร์
- ระบบข้อมูลประชากรวัยเรียน
- แบบประเมินความพึงพอใจ
/blog/burin/9736/
ข้อมูลด้านการศึกษา
    สารบัญ (Contents)
  1. ข้อมูลโรงเรียน ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท) p.2 p.3 p.4 p.5 (175 เขต)
  2. ข้อมูลครู ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท) p.2 p.3 p.4 p.5
  3. ข้อมูลนักเรียน ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท) p.2 p.3 p.4 p.5
แนะนำเว็บ (Web Guides)
! ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การเรียนรูปแบบปกติจึงสำคัญและจำเป็นที่สุด ารเรียนออนไลน์ กลายเป็นภาระหน้าที่ใหม่ของผู้ปกครองไปแล้ว เนื่องจากต้องมีส่วนร่วมกับครูผู้สอนเพื่อช่วยให้เด็กตั้งใจและจดจ่อกับบทเรียนได้ หรือบางครั้งก็ต้องช่วยสอนการบ้านเมื่อลูกไม่เข้าใจ เพราะช่องว่างทางการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับเด็กนักเรียนไม่ได้ใกล้ชิดกันเหมือนก่อน ส่งผลให้เด็กนักเรียนหลายคนเกิดปัญหาตามเนื้อหาบทเรียนไม่ทันหรือตามเพื่อนไม่ทัน อีกทั้งประสบกับอุปสรรคทางการเรียนเมื่อนักเรียนต้องเรียนที่บ้าน
ากผลการสำรวจ พบว่า หลายครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยลดลงจากผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะบางครอบครัวก็ไม่สามารถให้ความร่วมมือกับการเรียนได้มากนักด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่เกิดความเครียดเพราะต้องทำงานหนักขึ้น จากการแบกรับรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงค่าอินเทอร์เน็ต ค่าอุปกรณ์การเรียน หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้เอื้ออำนวยต่อการเรียนมากนัก
ระธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ได้เสนอแนะว่า ความไม่พร้อมของกลุ่มเด็กในครอบครัวที่มีปัญหาด้านรายได้ ครูในโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่มีประสบการณ์การสอนออนไลน์ รวมถึงพ่อแม่ที่ไม่สามารถมีส่วนร่วมกับลูก เหล่านี้ถือเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สำคัญที่จะต้องให้ความสำคัญ เพราะไม่ว่าสถานศึกษาหรือครูผู้สอนจะปรับตัวต่อรูปแบบการสอนออนไลน์ได้ดีแค่ไหน แต่ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กจำเป็นต้องได้รับโอกาสของการพัฒนาทักษะการเข้าสังคม การเรียนรูปแบบปกติจึงสำคัญและจำเป็นที่สุด นอกจากนี้ ยังต้องเร่งหาแนวทางการเติมเต็มการเรียนรู้ที่ขาดช่วงไปตลอดระยะเวลาเกือบสองปีของเด็ก รวมถึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะการสอนของครูทั้งรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ เพื่อรองรับรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายในอนาคต
#คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
#สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
#กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
#NESDC #thaiedreform #EEF
Teaching During Covid-19
84 tools online for teaching and learning
รวมภาพ icon จาก flaticon.com
Icons made by Freepik from www.flaticon.com
คุณครู หรือนักวิชาการ มักมีผลงานบอกเล่าในสังคม
บสไลด์เล่าเรื่อง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการทั่วไป ตาม ประกาศ ก.พ.อ. พ.ศ.2564 โดย ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สุมิตร สุวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า ผลงานวิชาการของนักวิชาการ ที่มักเป็นที่ยอมรับได้นั้น ต้อง ถูกเผยแพร่ และถูกอ้างอิง ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ชื่อผลงานที่ถูกยอมรับ เช่น งานวิจัย ตำรา หนังสือ ผลงานวิชาการในลักษณะอื่น และรวมถึงการถูกอ้างอิงจาก Scopus ซึ่งท่านก็เป็นตัวอย่างของการมี profile ไว้เล่าสู่กันฟังแบบ story telling ที่เป็นเครื่องมือการจัดการความรู้ที่น่าสนใจในระดับบุคคล
อ่านเพิ่มเติมได้จาก ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.2554 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 4ง หน้า 22 วันที่ 7 มกราคม 2565
การประเมินตนเองของสถานศึกษา
ปี 2561 รายงาน 3 มาตรฐาน
ายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ของ โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง ปีการศึกษา 2560 พบว่า มีผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาใน 4 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มาตรฐานที่ 4 ระบบประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ ที่ดำเนินการตาม คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และ แนวทางการเขียนรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
รายงานของโรงเรียนในแต่ละปี และเอกสารที่น่าสนใจ
โรงเรียนสารวิทยา ปีการศึกษา 2563
โรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค ปีการศึกษา 2562
โรงเรียนบ้านศรีไพศาล ปีการศึกษา 2562
โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ ปีการศึกษา 2561
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองตราด ปีการศึกษา 2560
คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย (ฉบับปรับปรุงสำหรับปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป)
คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา (พิมพ์ปี 2559)
แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ (พิมพ์ปี 2561)
เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม มีตัวบ่งชี้ 3 กลุ่ม
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวบ่งชี้ที่ 3 ผู้เรียนมีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ที่ 4 ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น
ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 6 ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและต้นสังกัด
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
ตัวบ่งชี้ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งแสริม
ตัวบ่งชี้ที่ 11 ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา การประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และศูนย์การศึกษาพิเศษ
เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ทางการบริหารการศึกษา [EDUA 533 ]
เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ทางการบริหารการศึกษา (Technology for Knowledge Management in Educational Administration)
ศึกษาทฤษฎีการจัดการความรู้ การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแบบในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ประยุกต์หลักการจัดการความรู้สู่เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา หมายถึง เทคโนโลยีดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล รวมถึงระบบและเครื่องมือดิจิทัลอื่นใดที่สามารถนํามาสนับสนุน ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ สร้างสื่อความรู้ เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
Study of knowledge management with application of educational technology for formal, non-formal and informal education in order to set up learning development networks, an application of a suitable knowledge managment by monitoring, checking and assessing an efficiency of technology in education.
ทฤษฎีการจัดการความรู้
การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
ประยุกต์หลักการจัดการความรู้สู่เทคโนโลยีที่เหมาะสม
ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
/km/education.htm
เทคโนโลยีการศึกษา www.ais.rtaf.mi.th/images/News/muti.pdf
elearning.psru.ac.th/courses/25/lesson.pdf
เทคโนโลยี (Technology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Tech = Art ในภาษาอังกฤษ และ Logos = A study of ดังนั้นคำว่า เทคโนโลยี หมายถึง A study of art ซึ่งสรุปว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ นักการศึกษาได้ให้นิยามความหมายของเทคโนโลยี ไว้ดังนี้
บราวน์ (Brown. 1973) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
เดล (Dale. 1969 : 610) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ว่า เทคโนโลยีเป็นผลรวมของการทดลอง เครื่องมือและกระบวนการ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ทดลองและได้รับการแก้ไขปรับปรุงมาแล้ว
กัลเบรท (Galbraith. 1967 : 12) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นกระบวนการของการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่น ๆ มาใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ผลการปฏิบัติ
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539 : 68) ได้ให้รายละเอียดของคำว่าเทคโนโลยี หมายถึง
1. องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
2. การประยุกต์วิทยาศาสตร์
3. วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ
4. กรรมวิธีและวิธีดำเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์
5. ศิลปะและทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ
สรุปได้ว่า เทคโนโลยีเป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ ความรู้ เทคนิควิธีการ กระบวนการ ระเบียบวิธีตลอดจนผลผลิตทางด้านวิทยาศาสตร์ทั้งด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีการมาประยุกต์ใช้กับระบบงาน เพื่อช่วยแก้ปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานนั้นให้สูงขึ้น

การที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานในสาขาใดสาขาหนึ่ง เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยใน 3 ประการ คือ (ก่อ สวัสดิพาณิชย์. 2517 : 84)
1. ประสิทธิภาพของงาน (efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การท างานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2. ผลผลิต (productivity) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3. ประหยัด (economy) เป็นการประหยัดทั้งเวลา และแรงงานในการท างานเพื่อการลงทุนน้อย แต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป

เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์เทคโน (วิธีการ) + โลยี (วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการมาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น เทคโนโลยีทางการศึกษา ครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ AECT (1977) ได้ให้คำนิยามไว้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ซับซ้อน เป็นกระบวนการบูรณาการที่เกี่ยวกับมนุษย์วิธีดำเนินการ แนวคิด เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดวิธีการนำไปใช้ การประเมินและการจัดแนวทางการแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งมวลของมนุษย์
คาร์เตอร์ วีกูด (Carter V.Good : 1973) ได้กล่าวว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” หมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่าที่จะยึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่าง ๆ ในลักษณะของสื่อประสมและการศึกษาด้วยตนเอง
แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุอุปกรณ์และศาสตร์ทางการศึกษามาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาทางการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน โดยแต่ละส่วนของกระบวนการมีความเป็นบูรณาการไม่ได้แยกเป็นอิสระจากกัน ทำให้นิยามของเทคโนโลยีทางการศึกษามีจุดเริ่มต้นจาก สองแนวความคิด ดังนี้ (ชัยยงค์. 2545 : 12-13)
แนวคิดที่ 1 เน้นสื่อ (สื่อ + อุปกรณ์)
เป็นแนวคิดที่นำผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ที่มีทั้งวัสดุสิ้นเปลือง (Software) และอุปกรณ์ ที่คงทนถาวร (Hardware) แนวคิดนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการฟังด้วยหูและชมด้วยตา สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเน้นสื่อถูกน ามาใช้เพื่อประโยชน์ของครู นักเรียนซึ่งถือได้ว่าเป็นตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science Concept) ตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้น อาทิเช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องรับโทรทัศน์ ภาพยนตร์คอมพิวเตอร์และรายการอื่น ๆ ที่อยู่ในรูปของอุปกรณ์ (Hardware) และวัสดุ (Software)
แนวคิดที่ 2 เน้นวิธีการ (สื่อ + อุปกรณ์+ วิธีการ)
เป็นแนวคิดที่ประยุกต์หลักการทางจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษย์วิทยาและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ เน้นวิธีการจัดระบบ (System Approach) ที่ใช้ในการออกแบบ การวางแผน ดำเนินการตามแผนและประเมินกระบวนการทั้งหมดของการเรียนการสอนภายใต้วัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ด้วยการใช้ผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์การสื่อสาร เป็นพื้นฐานการดำเนินงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นตามแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science)
เทคโนโลยีการศึกษา แบ่งได้เป็น 4 รูปแบบคือ
1. เทคโนโลยีด้านสื่อ
2. เทคโนโลยีการสื่อสาร
3. เทคโนโลยีด้านระบบ
4. เทคโนโลยีการสอน
ปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย
1. ปัญหาผู้สอน
2. ปัญหาผู้เรียน
3. ปัญหาด้านเนื้อหา
4. ปัญหาด้านเวลา
5. ปัญหาเรื่องระยะทาง
ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษา สามารถแบ่งออกได้เป็นด้าน ๆ ดังนี้
1) ประโยชน์สำหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ดังนี้
1. ท าให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
2. ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความ สามารถของตนเอง
3. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น
4. ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก
5. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา ทุกสถานที่
6. ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
7. ลดเวลาในการเรียนรู้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน
8. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
9. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้
10. ฝึกให้ผู้เรียน คิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
2) ประโยชน์สำหรับผู้สอน ผู้สอนจะได้ประโยชน์ดังนี้
1. ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น
2. ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
3. ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่
4. ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น
5. ลดเวลาในการสอนน้อยลง
6. สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น
7. ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลาสอนทั้งหมดอยู่ในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทำเอง
8. ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้
9. ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม
10. ง่ายในการประเมินเพราะการใช้เทคโนโลยีมุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย
3) ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ในแง่ของการจัดการศึกษาจะได้รับประโยชน์
1. สามารถเปิดโอกาสของการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
2. ทำให้ลดช่องว่างทางการศึกษาให้น้อยลง
3. สามารถสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
4. ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น
5. ทำให้ลดการใช้งบประมาณและสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
6. สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ
หลักเกณฑ์ในการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่ในเนื้อหา
3. ความเข้าใจ สื่อที่ใช้นั้นช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียนหรือไม่
4. ประสบการณ์ที่ได้รับสื่อที่จะใช้นั้น ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์แก่นักเรียนหรือไม่
5. เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น จำนวนผู้เรียน ความสามารถ ความสนใจ รวมทั้งทักษะและรูปแบบการเรียนของนักเรียนหรือไม่
6. เหมาะสมกับทัศนคติและทักษะของครูผู้สอนหรือไม่
7. ใช้การได้ดีในแง่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดีหรือไม่
8. คุ้มกับราคาและการลงทุนในการผลิต และการนํามาใช้
9. สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10. ระยะเวลาในการเสนอสื่อการเรียนการสอนนั้นเหมาะสมหรือไม่
11. สื่อนั้นช่วยเสนอแนะกิจกรรมอื่น ๆ ที่นักเรียนอาจปฏิบัติเพิ่มเติมได้หรือไม่
12. มีสิ่งอํานวยความสะดวกในการใช้สื่อนั้นแค่ไหน อาทิเช่น สถานที่ แสงสว่าง สิ่งอํานวยความสะดวกอื่น ๆ เป็นต้น
การจําแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน (p. 12)
ปัจจุบันสามารถจําแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอนได้อย่างน้อย 3 ประเภท ตามลักษณะของสื่อ ในด้านวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ การใช้งาน และระบบการทํางานของอุปกรณ์ ได้แก่ 1) สื่อพื้นฐาน 2) สื่อระบบอนาล็อก และ 3) สื่อระบบดิจิทัล (กิดานันท์ มลิทอง. 2548 : 137 – 139)
1. สื่อพื้นฐาน (Fundamental Media)
เป็นสื่อการเรียนการสอนรูปแบบเก่าที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม
1.1 กระดานชอล์ค (Chalk Boards)
1.2 แผ่นป้ายผ้าสําลี (Flannel Boards)
1.3 แผ่นป้ายนิเทศ (Bulletin Boards)
1.4 แผ่นป้ายไฟฟ้า (Electric Boards)
1.5 แผ่นป้ายแม่เหล็ก (Magnetic Boards)
1.6 ภาพต่าง ๆ (Pictures)
1.7 สมุดภาพ (Pictorial Books)
1.8 ภาพสามมิติ (Three-Dimensional Pictures)
1.9 ภาพเขียนและภาพสเก็ต (Drawings and Sketches)
1.10 ภาพถ่าย (Photographs)
1.11 แผนภูมิ (Charts)
1.12 แผนภาพ (Diagrams)
1.13 แผนสถิติ (Graphs)
1.14 ภาพโฆษณา (Posters)
1.15 การ์ตูน (Cartoons)
1.16 แผนที่ (Maps)
1.17 ของจริง (Real Things)
1.18 ของจําลอง (Models)
1.19 ของล้อแบบ (Mock-ups)
1.20 ของตัวอย่าง (Speciments)
1.21 ตู้อันตรทัศน์ (Dioramas)
1.22 พิพิธภัณฑ์โรงเรียน (School Museums)
1.23 การสาธิต (Demonstrations)
1.24 การแสดงนิทรรศการ (Exhibitions)
1.25 การศึกษานอกสถานที่ (Field-Trips)
1.26 การแสดงนาฏการ (Dramatizations)
1.27 การเชิดหุ่น (Puppets)
1.28 เกม (Games)
1.29 กะบะทราย (Sand Tray)
1.30 การทดลอง (Experiments)
2. สื่อระบบอนาล็อก (Analog Meida)
เป็นสื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุให้เห็นเป็นภาพขนาดใหญ่ หรือถ่ายทอดเสียงจากวัสดุบันทึก
2.1 เครื่องฉาย (Projector)
2.1.1 เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Over Head Projector)
2.1.2 เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projector)
2.1.3 เครื่องฉายสไลด์ (Slide Projector)
2.1.4 เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion-Picture Projector)
2.2 เครื่องเสียง (Audio equipment)
2.2.1 เครื่องรับวิทยุ (Radio)
2.2.2 ลําโพง (Speaker)
2.2.3 เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder)
2.2.4 เทปบันทึกเสียง (Magnetic Tape)
2.3 เครื่องแปลง/ถ่ายทอดสัญญาณ (Translation)
2.3.1 กล้องโทรทัศน์ (Video Camera)
2.3.2 เครื่องเล่นวีดิทัศน์ (Video Player)
2.3.3 เครื่องรับโทรทัศน์ (Television)
2.3.4 เครื่องถ่ายทอดสัญญาณภาพ (Visualizer)
3. สื่อระบบดิจิทัล (Digital Meida)
3.1 เครื่องแปลง/ถ่ายทอดสัญญาณ เป็นอุปกรณ์ในการแปลงและ/หรือถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียง
3.1.1 กล้องดิจิทัล (Digital Camera)
3.1.2 เครื่องเล่นวีซีดี (VCD Player)
3.1.3 เครื่องเล่นดีวีดี (DVD Player)
3.1.4 เครื่องมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ (Multi-Media Projector)
3.2 สื่อมัลติมีเดีย (Multimedia)
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีสมรรถนะทั้งการบันทึกและส่งข้อมูลมัลติมีเดียในรูปแบบของข้อมูลตัวอักษร ภาพกราฟิกทั้งภาพนิ่ง และภาพแอนิเมชั่น ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์และเสียง โดยสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันที
โครงการห้องเรียนที่ดี (Good Classroom) : 50 คลิปวิดีโอ

เปิดให้เข้าไปพูดคุยได้
Good classroom คือ โครงการที่จะนำเสนอ ครู อาจารย์ ที่เปลี่ยนการสอน จาก Passive สู่ Active ที่ตอนนี้มีกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อเป็นกำลังใจให้ ครู อาจารย์ และเป็นแนวทางเลือกที่เรียนให้กับนักเรียน
กี่ยวกับโครงการ Good Classroom .. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 – 21st Century Skills กลายเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาทั่วโลก เพราะเป็นวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และเหมาะสมกับสังคมใหม่ในยุคนี้และอนาคต เพราะการสอนแบบเดิมผู้เรียนอาจได้ความรู้ แต่ขาดทักษะ แต่โลกของงานและสังคม ยุคศตวรรษที 21 ต้องการคนที่มีทักษะมากกว่าแค่มีความรู้แบบเดิม
จุดมุ่งหมายหลักประการหนึ่ง ของ “การเรียนการสอนแห่งศตวรรษที่ 21 ” คือ สอนให้นักเรียนรู้จักวิธีหาความรู้ learn how to learn โดยการฝึกอบรมให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่ม สร้างความรู้จากประสบการณ์ด้วยตนเอง ดังนั้นห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21 จึงต้องมีลักษณะ “โดดเด่นเห็นชัด” คือ ห้องเรียนแบบ Active นั้น จะเปลี่ยนจากที่ครูบรรยาย หรือ Lecture บรรยากาศการเรียนรู้เป็นกลุ่มการเรียนที่มีการโต้ตอบแสดงความรู้แบบไดนามิค ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์มีชีวิตชีวาแคล่วคล่อง และมีพลัง มุ่งเน้นไปที่การให้ความสำคัญกับสังคม และการสื่อสารไม่น้อยไปกว่าการแลกเปลี่ยนความคิด และการเรียนรู้ร่วมกัน
ครงการ Good Classroom จึงจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ห้องเรียนแบบ Active ไม่ว่าจะใช้กระบวนการสอนแบบ PBL STEM CBL ถึงแรงบันดาลใจวิธีการเครื่องมือในการสอน สื่อการสอน และผลสัมฤทธิ์ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้สอนที่ยังไม่มีแนวทางปฎิบัติในการสอนแบบ Active เป็นแรงกระตุ้นให้กับผู้สอนที่ยังสอนแบบเดิมให้เปลี่ยนการสอน และอีกทั้งยังเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่เปลี่ยนการสอน แล้วให้พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (Thai Media Fund)
เครือข่ายองค์กรพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 รอบแนวคิด “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” มีจุดเริ่มต้นมาจาก ภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (P21) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นกลุ่มสมาชิกที่ประกอบด้วย องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสํานักงานด้านการศึกษาของรัฐ หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลเพราะเล็งเห็นความจําเป็นที่ประชาชนจะต้องมีทักษะที่ใช้ประโยชน์ได้จริงมากกว่าทักษะที่เน้นในโรงเรียน จึงมีการประชุมร่วมกันของนักวิชาการหลากหลายสาขา โดยรัฐบาลต้องการพัฒนาคุณภาพประชากรของประเทศ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของประเทศกับนานาชาติ และต้องการให้ประชากรนั้นมีคุณภาพ และศักยภาพในสังคม สามารถดํารงชีวิตอยู่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่มาของความรู้และทักษะที่จําเป็นในการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นความรู้ในวิชาแกน เนื้อหาประเด็นที่สําคัญสําหรับศตวรรษที่ 21 และทักษะที่จําเป็นสําหรับศตวรรษที่ 21
หนังสือ - วรพจน์วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ Open Worlds.  https://so04.tci-thaijo.org/index.php/svittj/article/download/241234/165867/
P21: Learning and Innovation skills - 4Cs
1. การคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ (Critical thinking)
2. การสื่อสาร (Communication)
3. การทำงานร่วมกัน (Collaboration)
4. การสร้างสรรค์ (Creativity)
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1. สาระวิชาหลัก ได้แก่ ภาษาแม่และภาษาสำคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐ และความเป็นพลเมืองที่ดี
2. แนวคิดสำคัญที่ควรรู้
– ความรู้เกี่ยวกับโลก
– ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
– ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี
– ความรู้ด้านสุขภาพ
– ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
3. ทักษะสำคัญ 3 เรื่อง
3.1 ทักษะชีวิต และการทำงาน
– ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
– การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
– ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม
– การเป็นผู้สร้างหรือผลิตและความรับผิดชอบเชื่อถือได้
– ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
3.2 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
– ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
– การสื่อสารและความร่วมมือ
3.3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
– ใช้และประเมินสารสนเทศได้อย่างเท่าทัน
– วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม
– ใช้เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. โครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้านเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
– มาตรฐานและการประเมินในศตวรรษที่ 21
– หลักสูตรและการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
– การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
– สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้
P21: Learning and Innovation skills - 4Cs (pdf)
1. การคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ (Critical thinking)
2. การสื่อสาร (Communication)
3. การทำงานร่วมกัน (Collaboration)
4. การสร้างสรรค์ (Creativity)
เครือข่ายองค์กรความร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 [1]p.40
(Partnership for 21st Century Skills)
1. ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) ซึ่ง Steve Jobs บอกว่า "จงอยู่อย่างหิวโหย และรู้สึกโง่อยู่เสมอ Stay Hungry. Stay Foolish."
2. ทักษะการคิด (Thinking Skills) มี 2 แบบที่จำเป็นมาก คือ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และคิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรม
3. ทักษะการทำงาน (Working Skills) ประกอบด้วย ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการใช้เทคโนโลยี
4. ทักษะชีวิต (Life Skills) - มีแรงบันดาลใจ ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ เข้าใจผู้อื่น และอยู่ร่วมกับสังคม
การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creative-Based Learning) ารเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน หมายถึง การจัดการเรียนการสอน ที่มีการกระตุ้นหรือสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนเกิดการค้นหาคำตอบ ค้นหาความรู้ เหมือนการท้าทายตนเอง ผู้สอนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า และแสดงออกทางความคิดอย่างเต็มที่ โดยไม่มีกรอบมาปิดกั้น ให้ผู้เรียนทดลองแก้ปัญหา รู้จักความผิดพลาด ตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองได้ เพื่อให้เกิดการคิดที่แปลกใหม่ และผู้สอนจะมีการให้ผู้เรียนนำเสนอสิ่งที่ผู้เรียนทำการค้นคว้ามาในรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ พร้อมกับมีการวัดประเมินผลผู้เรียนตามความเป็นจริง ประกอบด้วยกระบวนการทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กระตุ้นความสนใจ (Interested) 2) ตั้งปัญหารายบุคคลและกลุ่มตามความสนใจ (Problem) 3) ค้นคว้าและทดลอง (Search and Test) 4) นำเสนอผลงาน (Result) 5) สรุปและประเมินผล (Conclusion)
ารจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่างการเรียนรู้แบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนที่มีผู้สอนเป็นผู้นำ กับการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่มีผู้เรียนเป็นผู้นำ ผ่านบทเรียนออนไลน์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้ ทุกสถานที่และทุกเวลา ที่สำคัญยังช่วยลดความแตกต่างทางด้านผู้เรียน สามารถเรียนซ้ำในบทเรียนต่าง ๆ ได้ ความคิดสร้างสรรค์หมายถึง ความสามารถทางสมองของนักเรียน ในความคิดสร้างสรรค์สิ่งที่แปลกใหม่ และสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ได้ อาจเกิดจากประสบการณ์หรือการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ ด้วยตนเอง แล้วจึงนำมาบูรณาการ และสร้างเป็นสิ่งที่สามารถทำความเข้าใจได้ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความคิดริเริ่ม (Originality) คือ การคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำผู้อื่น 2) ความคิดคล่อง (Fluency) คือ การคิดหลากหลายภายในระยะเวลาที่กำหนด 3) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) คือ การคิดอิสระ โดยเป็นการคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ หรือการตั้งคำถามกับสิ่งหนึ่งได้หลากหลาย และ 4) ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) คือ การคิดเป็นขั้นเป็นตอนสามารถอธิบายให้เข้าใจและเห็นภาพได้ชัดเจน
การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน โดย กนิษฐา พูลลาภ (Kanitta Pullarp) ทรงศักดิ์ สองสนิท (Songsak Songsanit) ดร.ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว (Dr.Khajonpong Ruamkaew)
การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน : เริ่มจากสร้างแรงบันดาลใจ
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning : เริ่มจากกระตุ้นความสนใจ
มีรุ่นพี่ศิษย์เก่าดีเด่นผู้เป็นแรงบันดาลใจ : กรณีตัวอย่างโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
3Rs และ 4Cs
พ.ศ. 2338 หรือ ค.ศ. 1795 Sir William Curtis ได้เสนอทักษะที่จำเป็นไว้ในหลักสูตรการศึกษา 3 ด้าน คือ 3Rs ได้แก่

1) Reading ที่หลายคนแปลว่า “อ่านออก”
2) Writing ที่หลายคนแปลว่า “เขียนได้”
3) Arithmetic ที่บางคนให้คำจำกัดความว่า “คิดเลขเป็น”
แต่นั่น คือ เมื่อ 200 ปีที่แล้ว!

ปัจจุบัน ทักษะ 3Rs ของ Sir William Curtis ได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นทักษะ 3ร.

1) รู้อ่านรู้เขียน (Literacy)
คือ ไม่ใช่แค่อ่านออกเขียนได้ (reading & writing) แต่ต้อง “อ่านเข้าใจเขียนรู้เรื่อง” คือ เข้าใจความหมายของคำต่าง ๆ และสามารถสื่อสารคำต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม หรือ “รู้ศัพท์ รู้ภาษา”
2) รู้คณิต (Numeracy)
คือ ไม่ใช่แค่คิดเลขเป็น (Arithmetic)
แต่ต้องตีความ และเข้าใจความคิดที่สื่อสารออกมาในรูปของคณิตศาสตร์ (mathematics) เช่น เลขคณิต, พีชคณิต, เรขาคณิต, ตรีโกณมิติ และสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตได้
3) รู้ ICT (Information and communications technology literacy)
คือ เข้าใจและสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อันเป็นทักษะที่จำเป็นในโลกปัจจุบัน

โลกในศตวรรษที่ 21 เยาวชนจำเป็นต้องมี ทักษะเข้าใจใช้เป็น 3ร. และจะต้องมี ทักษะ 4ก. หรือ 4Cs ด้วย ได้แก่ :-

1) การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical thinking)
คือ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผล และต้องสามารถตัดสินคุณค่าของเรื่องต่าง ๆ ที่คิดนั้นด้วย
2) การสื่อสาร (Communication)
คือ ต้องมีความสามารถใช้ศัพท์ใช้ภาษา, ใช้ ICT และใช้จิตวิทยาเพื่อสื่อสารกับผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จได้
3) การทำงานร่วมกัน (Collaboration)
คือ มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้, การร่วมมือกับคนหลายคนที่อาจมีพื้นฐานต่างกัน ทั้งแนวคิด, ความเชื่อ, หรือความรู้ เพื่อทำงานหรือทำกิจกรรมใด ๆ ให้ประสบความสำเร็จได้
4) การสร้างสรรค์ (Creativity)
คือ มีความสามารถในการจินตนาการเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อันจะนำไปสู่สิ่งใหม่หรือความคิดใหม่ ๆ, วิธีการใหม่ ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)

เว็บไซต์ให้บริการสร้างสื่อการศึกษา ทความเรื่อง "การสอนแบบทันสมัยและเทคนิควิธีสอนแนวใหม่" โดย ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ และธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว มีเนื้อหา 27 หน้า พบหน้าที่ 6 ได้แนะนำ "เว็บไซต์ให้บริการสร้างสื่อการศึกษา" พบทั้งหมด 11 เว็บไซต์
Prezi - https://prezi.com - สร้าง presentation
Barry Fun English - http://www.barryfunenglish.com - สร้างใบกิจกรรม
Twinkl - http://www.twinkl.co.uk - สร้างใบกิจกรรม
Have Fun Teaching - http://www.havefunteaching.com - สร้างใบกิจกรรม
Puzzle Maker - http://www.discoveryeducation.com/free-puzzlemaker
Popplet - http://popplet.com - สร้าง mind map
Spider scribe - http://www.spiderscribe.net - สร้าง mind map
Time Toast - http://www.timetoast.com - สร้าง timeline
Timeline - http://www.readwritethink.org/files/resources/interactives/timeline_2
Rubistar - http://rubistar.4teachers.org - สร้างตาราง Rubrics
Face your manga - http://www.faceyourmanga.com - สร้างตัวการ์ตูน

สามารถ สว่างแจ้ง, ชัยวิชิต เชียรชนะ, และ พรปภัสสร ปริญชาญกุล. (2564). การพัฒนาและประเมินรูปแบบในการพัฒนาสมารรถนะการส่งเสริมการอำนวยความสะดวก ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน แผนกวิชาช่างอุตสาหกรรม สังกัดวิทยาลัยเทคนิค. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 12(1), 39-47.

อาชีพตามสมรรถนะ - เรื่องที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ จาก 10 เรื่อง นังสือ หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ การจัดการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรื่องที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 116 หน้า ถูกเรียบเรียงขึ้นโดยยึดประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562 และประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2562 ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และมาตรฐานการศึกษาของชาติ
โดยทั้ง 10 เรื่องนั้น ประกอบด้วย
เรื่องที่ 1 การจัดการอาชีวศึกษา
เรื่องที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ
เรื่องที่ 3 การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมและการขออนุมัติเปิดสอน
เรื่องที่ 4 การนำหลักสูตรไปใช้
เรื่องที่ 5 การฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพและการจัดโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ
เรื่องที่ 6 การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
เรื่องที่ 7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา
เรื่องที่ 8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
เรื่องที่ 9 การเทียบโอนผลการเรียนรู้
เรื่องที่ 10 การประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
ในหน้าที่ 10 พบหัวข้อ ภาพที่ 3 กรอบคุณวุฒิวิชาชีพ (NQF : National Qualification Framework) 8 ระดับ
ระดับที่ 1 ผู้มีสมรรถนะปฏิบัติงานประจำขั้นพื้นฐาน
ระดับที่ 2 ผู้มีสมรรถนะฝีมือในงานอาชีพ
ระดับที่ 3 ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคในการประยุกต์หลักการ
ระดับที่ 4 ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคครอบคลุมงานอาชีพ
ระดับที่ 5 ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคและการจัดการ
ระดับที่ 6 ผู้มีสมรรถนะในการจัดการและวางแผน
ระดับที่ 7 ผู้มีสมรรถนะในการบริหารนโยบาย
ระดับที่ 8 ผู้มีสมรรถนะในการสร้างสรรค์องค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่
หน้า 4
สมรรถนะ (Competency) หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติงานที่เกิดจากการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซึ่งแบ่งเป็นสมรรถนะแกนกลางและสมรรถนะอาชีพ
สมรรถนะแกนกลาง (Core Competency) หมายถึง ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะทั่วไปที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น การสื่อสาร การคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น
สมรรถนะอาชีพ (Occupational Competency) หมายถึง ความรู้ ความสามารถและทักษะเฉพาะในการปฏิบัติงานในแต่ละสาขางานหรือสาขาวิชาชีพ (Functional Ccompetency)
SchoolNet บว่า SchoolNet มีขึ้นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และ โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย หรือ “SchoolNet@1509” นี้ได้รับการยกย่องว่า เป็นโครงการตัวอย่าง (Best practice) ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่าง และความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการศึกษาหาความรู้ (Digital divide) ในรายงาน “Human Development Report 2001” ขององค์การสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งได้มีการรายงานต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ที่ประเทศเม็กซิโก และในรายงาน “APEC New Economy Report 2001” ซึ่งได้รายงานต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
SchoolNet - โครงการนี้เค้าดีจริง เพราะมีเพื่อ #ลดความเหลื่อมล้ำ นักเรียนไทย ดังนั้น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้ริเริ่มโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 - 2545 ในชื่อ โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย หรือสคูลเน็ต ไทยแลนด์ แล้วส่งมอบให้กับ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดูแลด้านการศึกษาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เพื่อให้ขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกโรงเรียนทั่วประเทศประมาณ 38,000 โรงเรียนต่อไป
หนึ่งสมอง สองมือกับหนึ่งใจ ในแต่ละบุคคล หนึ่งสองสองมือกับหนึ่งใจ นึ่งสมอง สองมือกับหนึ่งใจ อยู่ในบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป สอดคล้องกับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ที่ Learning Outcome ต้องสะท้อนมาเป็นผลลัพธ์ 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านทักษะ 3) ด้านจริยธรรม 4) ด้านลักษณะบุคคล
าตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ได้กำหนด ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา เมื่ออ่านแล้ว พบว่า สิ่งแรกที่ได้จากการศึกษา คือ การพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีปัญญาแก้ปัญหาได้
มื่อมีความรู้ ความเข้าใจ ได้นำไปใช้ประโยชน์ และลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้ทักษะ ความชำนาญ นั่นคือเมื่อใดที่ลงมือปฏิบัติก็จะได้ผลลัพธ์เช่นเดิม เป็นมาตรฐานที่เชื่อถือได้ เช่น ทำอาหารก็จะได้รสชาติเดิม ฉีดยาก็จะเข้าถูกเส้นเลือด ถอนฟันก็จะเอาออกถูกซี่ ผสมปูนก็จะได้สัดส่วนที่พอดี ก่ออิฐกำแพงบ้านก็จะเป็นเส้นตรง
มื่อปฏิบัติการงานใดก็ต้องยึดมั่นในความสุจริต เคารพในสิทธิ มีศักดิ์ศรี รู้หน้าที่ของตนเอง ตั้งอยู่บนคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของสังคม
ารเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับตัวตนของผู้เรียน ที่เรียกว่า ลักษณะบุคคล ซึ่งบุคคลย่อมมีความเชื่อ ความสนใจ ฐานคิด และสมรรถนะที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การใช้ความรู้ และการประกอบอาชีพ นั่นคือ การศึกษาเรียนรู้ต้องมีความยืดหยุ่นตามลักษณะบุคคล
เปลี่ยนจาก mua.go.th เป็น mhesi.go.th พบประกาศ เรื่อง แจ้งเปลี่ยนชื่อเว็บไซต์ระบบสารสนเทศของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
1. ระบบคลังข้อมูลอุดมศึกษา จากเดิม data3.mua.go.th หรือ data.mua.go.th เปลี่ยนเป็น data3.mhesi.go.th
2. ระบบภาวะการมีงานทำของบัณฑิต จากเดิม employ.mua.go.th เปลี่ยนเป็น employ.mhesi.go.th
3. ระบบนำส่งข้อมูลโรงเรียนสาธิต จากเดิม satit.mua.go.th เปลี่ยนเป็น satit.mhesi.go.th
4. ระบบเผยแพร่สารสนเทศอุดมศึกษา จากเดิม info.mua.go.th เปลี่ยนเป็น info.mhesi.go.th
โดยชื่อเดิมจะไม่สามารถเรียกใช้งานได้ตั้งแต่ วันที่ 20 ธันวาคม 2564
เปลี่ยนโดเมนเนมจาก mua.go.th เป็น mhesi.go.th
นิยาม หลักสูตรฐานสมรรถนะ นิยาม หลักสูตรฐานสมรรถนะ หมายถึง หลักสูตรที่ใช้ผลลัพธ์นำสู่จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ โดยผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะ ที่ผสมผสานเข้าด้วยกัน เป็นความสามารถ รวมทั้ง คุณธรรม จริยธรรม มาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ การทำงาน การใช้ชีวิต และการแก้ปัญหาสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน
คำถาม และ คิดตาม
หลายปีแล้ว ยังไม่เสร็จ - ใช้เวลาพิจารณาให้รอบด้าน
เงียบไป - มีมติแล้ว หรือดำเนินการที่ไม่เป็นข่าว
ถามหาข่าวการหลักสูตร - ชวนตามข่าว
ใครรับผิดชอบ - ข่าว 20 เม.ย.65 มีข้อมูล
กรรมการหลายชุด - บูรณาการหลายศาสตร์
คณะทำงานมีมาก - มีระบบกลั่นกรอง
ประชุมมากมาย - ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ
ประชาพิจารณ์หลายรอบ - เห็นต่างเพื่อผลที่ดีที่สุด
คุณลักษณะ = attribute
ลักษณะบุคคล = personality
พบว่า หลักสูตรนี้เป็นโอกาส ของ โรงเรียนนำร่องนวัตกรรมการศึกษา ถ้าผลสัมฤทธิ์ของการใช้หลักสูตรต่างจากโรงเรียนที่ไม่ใช้ ย่อมพิสูจน์ว่าหลักสูตรนี้ดี แล้วเชื่อว่าจะปรับใช้ทั่วประเทศต่อไป .. งานวิจัย
หลักสูตรผู้นำแห่งอนาคต รุ่นที่ 1

หนังสือ : ผู้นำแห่งอนาคต: คุณธรรม การนำร่วม และการเปลี่ยนแปลงจากภายใน จัดพิมพ์โดย โครงการผู้นำแห่งอนาคต ราคาปก 240 ราคาพิเศษ 220 สนใจสอบถามเพิ่มเติมที่ คุณทุเรียน 096-241-6239, 02-4415222
สมัครเรียน : หลักสูตรผู้นำแห่งอนาคต Education Leader 2023
#ผู้บริหารสถานศึกษา #eduleader #educationleader
หลักสูตรนี้ราคา ต่อ หัว 7,900 บาท เรียนรู้ผ่าน Online ซึ่งจะมี Learning Object ไว้ให้หลังสมัคร ให้ผู้เรียนเข้าเรียนรู้ได้ตลอดเวลา เจอสดอาจารย์ ดร.วิริยะ ผ่าน Zoom meeting สัปดาห์ละครั้ง ตามกำหนดการหลักสูตร ระยะเวลาหลักสูตรเรียน 3 เดือน ได้ Certificate พร้อมลายเซ็น อาจารย์ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
ช่องทางการชำระเงิน
โอนเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ หมายเลขบัญชี 206-4112-493
ชื่อบัญชี นางสาวมาธุสร แข็งขัน (ผู้จัดการโครงการ)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณน้ำหนึ่ง โทร 085-710-5483 (ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ)
ดร.ส้มโอ โทร 093-532-6155 (ผู้จัดการโครงการ)
ข้อมูลเพิ่มเติม
EDUCATION LEADER 2023 - 15 พฤศจิกายน 2565
EDUCATION LEADER 2023 - ครั้งที่ 1 รับ 99 คน ฟรี
ฝันที่เป็นจริง ที่ได้จากการลงมือทำ ปัจจุบัน มีสื่อสังคม องค์กร ผู้คน หรือ influencer ให้เราได้ติดตามได้ง่ายกว่าในอดีต เหตุผลที่เราติดตามใคร หรือองค์กรใดก็อาจเกิดจากความสนใจ ความชอบ ความประทับใจในเรื่องราวที่ได้พบ หรือสัมพันธ์กับหน้าที่การงาน ยกตัวอย่างภาพที่ถูกบันทึกไว้ในขณะหนึ่ง ที่ถูกเลือกมาอย่างพิถีพิถัน และ Quote ที่สอดคล้องกับภาพอย่างเป็นปี่เป็นขลุ่ย ในภาพนี้คือ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์กับคุณครู ในพิธีมอบหมวก เข็มชั้นปี และทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัย
Quote ที่ทำให้ต้องหยุดอ่าน คือ การลงมือทำเท่านั้น ที่จะสามารถเปลี่ยน "ความฝัน" ให้เป็น "ความจริง" ซึ่งนึกถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษา คนทำงาน ว่าคิดฝันสิ่งใดก็ตาม สิ่งที่ต้องตามมา หลังจากมีความฝัน คือ การลงมือทำ จากภาพ และข้อความ ชวนสรุปได้ว่า ถ้าต้องการประกอบอาชีพพยาบาล หรืออาชีพอื่นใด ก็เพียงแต่อ่านหนังสือ เตรียมตัวสอบ เลือกสถานที่เรียน เมื่อสำเร็จการศึกษาก็จะได้ประกอบอาชีพพยาบาล ตามที่ฝันไว้ สำหรับผมแล้ว ภาพนี้เป็นภาพที่ทรงพลังในการสร้างแรงบันดาลใจได้ดีมากอีกภาพหนึ่ง
ห็นภาพนี้แล้ว ก็อยากมอบหมายงาน เรื่อง แรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือ การอ่านบทความวิชาการ การค้าขาย การออกกำลังกาย หรือการเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ เพราะทุกการกระทำ ย่อมมีจุดเริ่มต้นเหมือนคำว่า ไม้ขีดก้านแรก ที่ทำให้เกิดเรื่องราวต่อเนื่อง ต่อมา และดำเนินต่อไป จนได้เห็นถึง ผลผลิต หรือผลลัพธ์ที่ตามมา
"แรงบันดาลใจ" คือ การเติมไฟให้ความฝัน
ชวนเขียน Blog: Story telling
การศึกษายุคใหม่สอนเรื่องการเป็นผู้ประกอบการให้นักเรียน สำหรับ #ห้องเรียนแห่งอนาคต พบว่า ปัจจุบัน #นักเรียน คือ เด็กของเราจะได้อ่าน เรียนรู้ จดบันทึก และปรับใช้ความรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่คุณครูพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป้าหมายสำคัญที่ส่งผลต่อผู้เรียน คือ #ทำให้มีความสุขในอนาคต เช่น การเรียนรู้เรื่อง Business Model Canvas #BMC (กรณีศึกษา Lazada) หรือเรียนรู้จาก Podcast: successor
ล้วนำไปปรับใช้ ตาม ความฝันของตน เช่น ขายของออนไลน์ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่ง #คุณครู ในห้องเรียนแบบ #ActiveLearning ก็จะนำหลักการไปเป็นหัวข้อเพื่อการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดกิจกรรมในชั้นเรียน #ชวนกันเรียนรู้ เพราะนักเรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะนำไปปรับใช้ เพื่อยกระดับธุรกิจของที่บ้าน หรือสร้างธุรกิจใหม่ของตนเอง
บันทึกรายงานผ่านคลิปวิดีโอใน Avatar นภาพยนตร์ #Avatar #ปี2009 เจค ซัลลี แสดงโดย แซม เวิร์ธธิงตัน เข้าปฏิบัติงานในร่างอวตาร เมื่อกลับสู่ร่างมนุษย์ก็จะทำการจดบันทึกผ่านการบันทึกวิดีโอ แทนการเขียน ซึ่งเป็นเทคนิคที่เด็กรุ่นใหม่เขียนรายงาน ในแบบ #storytelling เช่น รายงานการนำเสนอบทความวิจัยแบบปากเปล่า รายงานการสรุปจากการอ่านข่าวสารด้านไอที การอ่านหนังสือแทนการเขียนหนังสือ การทำงานกลุ่มที่ใช้การแสดงบทบาทสมมติ เป็นต้น ปัจจุบันบุคลากรในองค์กร สามารถบันทึกคลิป เพื่อรายงานความก้าวหน้า เป็นการสรุปงานประจำวันก่อนกลับบ้าน ในชีวิตจริง เราพบว่า คนรุ่นใหม่นิยมรายงานการท่องเที่ยว การทานอาหาร การคบเพื่ีอน หรือทำกิจกรรม ด้วยการบันทึกภาพแล้วอัพโหลดขึ้นสื่อสังคม ในอนาคตเราอาจเห็นการบันทึกคลิปวิดีโอแทนการถ่ายภาพเพิ่มขึ้น
คืน และ เลิก #คืนครูสู่เด็ก
มีหลายโรงเรียน มีคุณครูไม่ครบชั้น บางโรงเรียนมีครูคนเดียว ทำทุกชั้น ทุกภาระ น่าจะมีคำที่คล้ายกัน เช่น
#คืนครูสู่โรงเรียน
#คืนครูสู่ห้องเรียน
#คืนครูให้ตรงเอก
#คืนโรงเรียนสู่ชุมชน
#คืนผู้อำนวยการสู่โรงเรียน
#คืนอุปกรณ์การสอนสู่โรงเรียน
#คืนหนังสือสู่ห้องเรียน

#เลิกประเมินด้วยเอกสารที่ไร้ความจริง
(อาจ) เกิดจากผู้ประเมินมีเวลาไม่เพียงพอ จึงตรวจสอบความจริงในเอกสารได้ไม่ครบทุกรายการ แล้วต้องรายงานออกไปว่าครบ และเป็นเอกสารจริง ส่งผลให้ผู้ถูกประเมินที่ (อาจ)ทำเอกสารที่(ไร้ความ)จริง แล้วได้รับผลตรวจประเมินว่าจริง เมื่อทำแล้วไม่ถูกทักท้วง ก็คิดว่าทำได้ และทำอีก
.
#เลิกประเมินด้วยเอกสารที่ไร้ความจริง
เป็นข้อความที่อาจมุ่งเป้าไปที่คุณครู มากกว่าผู้ประเมิน ในทำนองสงสัยว่าเอกสารของคุณครูที่ทำขึ้นมานั้น จริงหรือไม่
ห้องเรียนอารมณ์ดี ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
นักเรียนได้ฝึกทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ นปัจจุบันห้องเรียนจะสอนการใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่เน้นทักษะการใช้งาน จนสามารถนำไปแข่งขันกับเพื่อนต่างโรงเรียนได้ ซึ่ง ประเทศไทยจัดให้มี งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ในปีการศึกษา 2565 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 70 ที่ ( sillapa . net ) พบว่า มีเกณฑ์การแข่ง ขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สรุปกิจกรรมการแข่งขันกลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) พบว่า มี 13 กิจกรรม แบ่งได้ 26 รายการ ในหน้า 49 - 51 พบว่า แต่ละกิจกรรมแนะนำโปรแกรม ให้เลือกใช้มากมาย
1. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก ได้บังคับให้ใช้เฉพาะโปรแกรม Paint
2. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนเรื่องสั้น (Comic Strip) แนะนำโปรแกรม Paint, Adobe Illustrator, Adobe Flash, Adobe Photoshop, Cool Edit Pro., PhotoScape, Microsoft Office, Adobe InDesign, Paint SAI หรือโปรแกรมอื่น ๆ
3. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น (3D Animation) แนะนำโปรแกรม Adobe Audition, Adobe After Effect, Adobe Flash, Adobe Illustrator, Adobe Premiere Pro, Adobe Photoshop, Audacity, Crazy Talk Animation, Cool Edit Pro., Wondershare, Format Factory, Free RIP, Gold Wave, GSP, QuickTime, WavePad Sound Editor, MD Sound, MP Converter, Namo Free Motion, Nero Wave Editor, RPG, Soundboot, Sound Page, Sound Recorder, Swishmax, Toon Boom, Ulead Video, Vegas Pro, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
4. การแข่งขันการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แนะนำโปรแกรม 3D Max / 3D Max Studio, Autodesk 3D Max, Blender, Cinema 4D, Google SketchUp/ SketchUp Pro, MAYA, Sweethome 3D, Pro Desktop, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
5. การแข่งขันการสร้างเกมสร้างสรรค์จากคอมพิวเตอร์ แนะนำโปรแกรม Adobe AI, Adobe Captivate, Adobe Master, Adobe Photoshop, Adobe Flash / Flash CS, Authorware, Adobe illustrator, Game Maker, Construct, Kodu Game Lab, Jumla, Swish / Swish max, Microsoft Excel, Microsoft PowerPoint, Photot Scape, Pux Paint, Paint, RPG Maker XP, RPG VX, Scratch, Sketchup Pro., Stencyl, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
6. การแข่งขัน Motion Infographic แนะนำโปรแกรม Adobe After Effect, Adobe Illustrator, Adobe Flash, Adobe Premier, Sony Vegas Pro, Microsoft Office, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
7. การแข่งขันการใช้โปรแกรมนำเสนอ (Presentation) แนะนำโปรแกรม Adobe Photoshop, Flash, Microsoft PowerPoint, Photoscape, ProShowGold, Ulead, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
8. การแข่งขันการสร้าง Webpage ประเภท Text Editor ได้บังคับให้ใช้เฉพาะโปรแกรม Notepad
9. การแข่งขันการสร้าง Webpage ประเภท Web Editor แนะนำโปรแกรม Adobe Flash / Flash Player, Flash Effect Maker, Adobe Dreamweaver, Webpage Maker, Adobe Photoshop, Corel VideoStudio Pro, FileZilla, Intro Banner, Swishmax, Magic Video Converter, Master collection, Microsoft FrontPage, Namo, Namo Web Editor, Picture College Maker Pro., Photo to Movie, หรือโปรแกรมอื่น ๆ,
10. การแข่งขันการสร้าง Web Applications แนะนำโปรแกรม Notepad, Notepad++, Sublime Text, VIM, Atom, Emacs, Editplus, Adobe Dreamweaver, Front page, Kompozer, nanoWebEditor, Visual Studio.NET, Eclipse, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
11. การแข่งขันการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ แนะนำโปรแกรม C Free, Code Blocks, Dev C++, Dev Tools, PHP, Vicual Basic, Turbo C++, Visual C#, Visual C++ 2010 Express, Visual Studio Express, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
12. การประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทซอฟต์แวร์ เป็นการบูรณาการทุกแอปพลิเคชัน ไม่ได้แนะนำตัวใดไว้เป็นพิเศษ
13. การแข่งขันการตัดต่อภาพยนตร์ แนะนำโปรแกรม Adobe Audition, Adobe Flash, Adobe Photoshop, Adobe Premiere / Premiere Pro, After Effects, Converteter Pro, Corel VideoStudio, Cyberlink Powerdirector, Format Factory, Nero Wave, Power Director, Sony VegasPro, Sound Recorder, Sound Forge, Ulead/ Ulead Video Studio, Windows Movie Maker, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
สารสนเทศสำหรับนักเรียน และผู้ปกครอง
เอกสารอ้างอิง : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

ประยงค์ ชูรักษ์. (2562).  ข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.  วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1095-1108.

พงศ์ศักดิ์ สังขภิญโญ. (2562).  วาทกรรมการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในสังคมไทย.  วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(2), 189-206.

เอกสารอ้างอิง

กมล โพธิเย็น. (2564).  Active Learning : การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21.  วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 11-28.

ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ. (2562).  ผลของการออกแบบแผนการสอนและการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่อผลลัพธ์การเรียนรู้.  วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 38(2), 93-103.

ธีรัช รำแพนเพชร. (2564).  การพัฒนาความสามารถในการใช้สำนวนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ผ่านชุดบทเรียนออนไลน์.  วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 41(2), 13-25.

นิติบดี ศุขเจริญ, บุษรา อวนศรี, และ เรวดี อันนันนับ. (2561).  ปัจจัยการขยายตัวของความต้องการเรียนกวดวิชา.  Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 1883-1897.

สิริมาส จันทน์แดง. (2564).  Edtech เทรนด์การศึกษายุคใหม่: การนำมาใช้ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ท่ามกลางปัญหาช่องว่างทางดิจิทัล.  วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 12(3), 44-56.

Thaiall.com