กยศ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
การศึกษา | นักศึกษา | A-Level | Admission | GAT/PAT | ONET | 9 วิชาสามัญ | ครูคืนถิ่น | มหาวิทยาลัย | ห้องเรียนแห่งอนาคต | ทำนายเกรด | กยศ | พ.ร.บ. |
กยศ. คืออะไร
องทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 ให้เริ่มดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ต่อมารัฐบาลได้พิจารณาเห็นความสำคัญของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา
ปัจจุบัน พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรี และมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น เนื่องจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2549 ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 มีการบริหารจัดการและการดำเนินการที่มีข้อจำกัด และไม่สอดคล้องกับนโยบายการผลิตกำลังคนและการพัฒนาประเทศสมควรบูรณาการการบริหารจัดการและการดำเนินการของกองทุน กยศ. และกองทุน กรอ. ให้เป็นเอกภาพอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน และเพิ่มมาตรการในการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อ่านเพิ่ม /aboutus
กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา กับสิ่งที่ต้องรู้หลังเรียนจบ
มี การอบรมระหว่าง 27 - 29 มีนาคม 2565 เรื่อง "การให้กู้ยืม ในปีการศึกษา 2562" โดย นางสาวดวงแข ตันติตยาพงษ์ รองผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และ นายวีรศักดิ์ ดวงดารา ผู้อำนวยการฝ่ายกู้ยืม พบสไลด์หน้า 10 "กำหนดลักษณะและขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ปีการศึกษา 2562 สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป้นต่อการพัฒนาประเทศ" พบว่า นักเรียน นักศึกษา สามารถยื่นเรื่องขอกู้ยืมได้ทั้ง ค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ซึ่งวงเงินกู้แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มสาขา เช่น กลุ่มสังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สามารถกู้ยืมค่าเล่เรียนได้ปีละ 60,000 บาท (ถ้าสถาบันการศึกษามีค่าเล่าเรียนสูงกว่านี้ ผู้เรียนต้องจ่ายเพิ่ม)
ถ้าเรียนในหลักสูตรกลุ่ม สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สามารถกู้ยืมค่าเล่าเรียนได้ปีละ 90,000 บาท เมื่อเรียน 4 ปีรวมเป็น 360,000 บาท (1) แล้วถ้ารับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาเต็มวงเงินก็จะได้ปีละ 28,000 บาท เมื่อรวม 4 ปีเท่ากับ 112,000 บาท (2) รวมค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง (1) + (2) เป็น 472,000 บาท ดังนั้นเมื่อนักเรียน นักศึกษา หลังเรียนจบ มีตัวเลขให้มองย้อนขึ้นไป
(แบบฝึกหัด - ค่าครองชีพ 2400 * 12 = 28800 บาท แต่ในตัวอย่างที่ปรับเป็น 28000 บาท เพราะจะตั้งเป็นโจทย์ให้นิสิตลองเปลี่ยนตัวเลขครับ)
อ่านเพิ่ม slide
เอกสาร การให้กู้ยืม ปีการศึกษา 2562
นักเรียนต้องชำระหนี้เดือนละเท่าไร (กยศ/บ้าน/รถ)
รณีที่นักเรียน นักศึกษา กู้ยืมค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา รวมประมาณ 472,000 บาท (ซึ่งอาจมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นกับหลักสูตร และที่กำหนดในสัญญา) เมื่อสำเร็จการศึกษา ไปรับปริญญา และมีงานทำระยะหนึ่งก็จะถึงเวลาที่ต้องชำระหนี้ ซึ่งมีดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปี แล้วต้องชำระเป็นเงินเท่าไรเป็นระยะเวลากี่เดือน เมื่อสืบค้นแล้วพบตัวอย่างใน refinn.com มีตาราง MS Excel ให้นำมาใช้ได้โดยง่าย เป็นเรื่องกู้เงินซื้อบ้าน แต่นำมาปรับเทียบเคียงกับกู้ยืมของ กยศ. ได้ จากการใช้ตารางคำนวนใน MS Excel เทียบกับการใช้ function pmt() พบว่าทั้ง 2 วิธีให้ผลตรงกัน
ถ้า นักเรียนมีเป้าหมายชำระหนี้เป็นระยะเวลาเพียง 36 เดือนหรือ 3 ปี เพื่อจ่ายชำระเงินต้น 472,000 บาท สามารถใช้สูตร =PMT(0.01/12,36,472000) บน MS Excel จะได้ยอดเงินที่ต้องจ่ายแต่ละเดือน คือ 13,314.22 บาท โดย 0.01/12 คือ อัตราดอกเบี้ยต่อเดือน ส่วน 36 คือ จำนวนงวด/เดือนที่ต้องการชำระ และ 472000 คือ เงินต้นที่ไปกู้ยืมมา เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่านักเรียนต้องทำงานให้ได้เงินเดือนไม่ต่ำกว่า 13,314.22 บาท
ฟังก์ชัน PMT บน MS Excel คือ หนึ่งในฟังก์ชันทางการเงิน ที่ช่วยคำนวณเงินผ่อนชำระคืนเงินกู้ในแต่ละงวด โดยคำนวณจากการผ่อนชำระคงที่ และอัตราดอกเบี้ยคงที่
PMT(rate, nper, pv, [fv], [type])
เช่น =PMT(ดอกเบี้ยต่อเดือน,จำนวนงวดหรือเดือน,วงเงินกู้)
หรือ =PMT(0.08/12,10,10000) = 1037.03 ต่อเดือน
หรือ =PMT(0.01/12,10,10000) = 1037.03 ต่อเดือน
หรือ =PMT(0.01/12,36,475200) = 13,404.49 ต่อเดือน
กยศ. มอบของขวัญปีใหม่ 2565
ยายเวลามาตรการช่วยเหลือสู้ภัยโควิด เพื่อเป็นการช่วยเหลือและให้โอกาสผู้กู้ยืมเงิน ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ดังนี้
1. ลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากเดิม 1% ต่อปี เป็น 0.01% ต่อปี
สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนกองทุน และไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้
2. ลดเงินต้น 5%
สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ และต้องการปิดบัญชีในคราวเดียว
3. ลดเบี้ยปรับ 100%
สำหรับผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ชำระหนี้ปิดบัญชี ดังนี้
- ผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี สามารถชำระได้ที่ธนาคารกรุงไทยและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา
- ผู้กู้ยืมเงินที่ถูกดำเนินคดีแล้ว ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิและนัดหมายวันที่ประสงค์จะชำระหนี้ปิดบัญชีได้ที่ studentloan.or.th โดยผู้กู้ยืมเงินต้องชำระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนปิดบัญชี
4. ลดเบี้ยปรับ 80%
สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชำระ)
5. ลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี
สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวเป็นของขวัญปีใหม่ 2565 ที่กองทุนมอบให้แก่ผู้กู้ยืมเงิน โดยกองทุนขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน ร่วมกันสู้เพื่อให้ผ่านสถานการณ์โควิดไปด้วยกัน
อ่านเพิ่ม ข่าวประชาสัมพันธ์ในแฟนเพจ กยศ.
rspsocial
Thaiall.com